พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดนายจ้างต่ออุบัติเหตุหลังเลิกจ้าง: การจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่อื่นด้วยความยินยอมของลูกจ้าง
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างมานั้นก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ถือเป็นช่วงเวลาทำงาน กรณีประสบอันตรายถึงแก่ความตาย
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่ง ถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758-759/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงานถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน หากเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งนายจ้าง
แม้ธนาคารโจทก์ที่ 2 มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบกิจการการเงินการธนาคาร แต่กิจการใดที่กระทำให้กิจการหลักของโจทก์ที่ 2 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โจทก์ที่ 2ย่อมจะกระทำได้ การเล่นกีฬาของพนักงานของโจทก์ที่ 2ตามระเบียบของธนาคารโจทก์ที่ 2 เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของพนักงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ แสดงว่าการเล่นกีฬาเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กิจการหลักมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 สั่งให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานลงแข่งขันกีฬา จึงเป็นการสั่งให้ปฏิบัติงานตามทางการที่จ้างของโจทก์ที่ 2 เมื่อโจทก์ที่ 1 ประสบอันตรายจากการเล่นกีฬา จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง
เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างเท่ากันทุกเดือน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างเท่ากันทุกเดือน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การดูแลรักษารถยนต์ของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ แม้เป็นการกระทำนอกเวลางานปกติ
ลูกจ้างเป็นพนักงานขับรถยนต์ มิได้ปฏิบัติงานตามวันเวลาปกติเช่นพนักงานในตำแหน่งอื่น เพราะต้องคอยดูแลรักษารถยนต์ในความรับผิดชอบของตนให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลา ดังนั้นการที่ผู้บังคับบัญชาอนุมัติให้ลูกจ้างนำรถยนต์ที่ตนขับไปล้างทำความสะอาดและอัดฉีดจาระบีจึงเป็นงานในหน้าที่แต่ในตอนกลางวันผู้รับจ้างยังทำให้ไม่เสร็จ จนเวลา 21 นาฬิกาลูกจ้างจึงได้ไปที่ร้านของผู้รับจ้างเพื่อนำรถยนต์กลับมา แล้วขณะเดินข้ามถนนถูกรถยนต์ชนตายนั้นเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเพราะความประมาทของตนจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31.(กองผู้ช่วย)
ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเพราะความประมาทของตนจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31.(กองผู้ช่วย)