พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือด
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงาน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาอีกด้วย เป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 1 เมษายน 2515ข้อ 54(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงานหนัก-เครียดจนหัวใจขาดเลือด ถือเป็นเจ็บป่วยจากการทำงาน
ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงานโดยเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมาตลอดทั้งสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาอีกด้วยเป็นสาเหตุแห่งความเครียดทำให้หัวใจขาดเลือด ถือได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือดถึงแก่ชีวิต ถือเป็นโรคจากการทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ผู้ตายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรแหล่งน้ำ 1 รับผิดชอบเป็นผู้จัดการโครงการวางท่อส่งน้ำ โดยทำงานร่วมกับบริษัทช.ผู้ตายต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน เช่น การบริหารงานบุคคลดูแลงบประมาณและติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งยังต้องเร่งรัดให้งานแล้วเสร็จในกำหนด ต้องทำงานหนักตลอดสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาด้วย เมื่อความเครียด จะเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นและทำให้หัวใจหยุดเต้นทันทีได้การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงานเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาด้วยเป็นสาเหตุแห่งความเครียด ทำให้ หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจาก การทำงานให้แก่นายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่อง กับการทำงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนนายจ้างต้องจ่ายเมื่อลูกจ้างเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการทำงานโดยตรงเท่านั้น
โรคหรือการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามความในข้อ 22 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานฯ นั้น จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ งานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยขึ้นและเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยดังกล่าว อ. ทำงานเกี่ยวกับด้านบัญชี แม้ภายหลังนายจ้างจะมอบหมายงานให้ทำมากขึ้นโดยให้อ.เฝ้าเหมือง ดูแลคนงาน เบิกจ่ายเงินเดือนดูแลพัสดุ ติดต่อกับหน่วยงานอื่นและคุมแร่ไปขายด้วย งานที่ อ.ทำก็มิใช่งานที่ต้องใช้กำลังมากไม่อาจทำให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายได้ ทั้ง อ.มิได้ทำงานตรากตรำวันเกิดเหตุอ.ไปทำงานตอนเช้า ตอนสายได้กลับมาบ้านและให้โจทก์ซึ่งเป็นภริยาพาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะ แต่ อ. เป็นลมล้มฟุบลงและถึงแก่ความตายเพราะหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน จึงถือไม่ได้ว่าอ.ถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ลูกจ้าง: การใช้วิธีการใดในการทำงานเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
การที่ ส. ลูกจ้างโจทก์ไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำ เพื่อสูบน้ำขึ้นมาทำความสะอาดที่พัก และขณะเดียวกันพระภิกษุได้ขอให้ ส. สูบน้ำไปไว้บนกุฎิพระด้วย ส. ได้ถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ สูบน้ำขึ้นจากสระน้ำ นั้น พึงเห็นได้ว่า ส.จะต้องทำความสะอาดที่พักตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของโจทก์ ส.จำเป็นต้องใช้น้ำเอามาทำความสะอาดที่พักดังกล่าว การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของ ส.ฉะนั้นส. จะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของ ส. เพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อส. เลือกวิธีไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบ น้ำ เพื่อทำความสะอาดที่พัก ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของ ผู้ควบคุมงานของโจทก์และถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้กับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะจากการทำงาน: การคำนวณระยะเวลาจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สูญเสียอวัยวะหนังศีรษะใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังสูญเสียอวัยวะบริเวณดั้ง จมูกและโหนกแก้มทั้งสองข้างด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยสูญเสียอวัยวะหนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง อันเป็นการสูญเสียอวัยวะตามประเภทที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)ซึ่งให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน 4 ปี 6 เดือน ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติ การจ่ายค่าทดแทนจึงต้องจ่ายให้เป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน มิใช่จ่ายค่าทดแทนจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายจากการทำงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายขณะพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดย ผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่ เวลา 23 นาฬิกา จนถึง เวลา4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้ มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้ เริ่มปฏิบัติงานต่อ จนถึง เวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้อง อยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อ ไป ดัง นั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตก จากขบวนรถไฟจนถึง แก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงานถือเป็นอันตรายจากการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
การที่ธนาคารโจทก์ที่ 1 จัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในระหว่างหน่วยงาน ถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1และเมื่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 กำหนดว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร ที่โจทก์ที่ 2 ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลเพื่อคัดเลือกหาทีมตัวแทนสำนักงานใหญ่ตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 และได้รับบาดเจ็บขณะทำการแข่งขัน จึงเป็นกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายเงินทดแทนเป็นรายเดือนที่ถึงกำหนดแล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 2 ในคราวเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาตามคำสั่งนายจ้าง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อการแข่งขันกีฬาอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนายจ้างการที่ลูกจ้างไปแข่งขันกีฬาฟุตบอลตาม คำสั่งนายจ้างแล้วประสบอันตรายในขณะแข่งขัน ดังนี้เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ รับค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนพร้อมด้วย ดอกเบี้ย.