พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนเพื่อเตรียมทำงานไม่ใช่เวลาปฏิบัติงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ก. ทำหน้าที่ช่างทาสีบริษัท ก. มีคำสั่งให้โจทก์กับคนงานอื่นไปทำงานที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ให้ทำงานระหว่างเวลา 16-20 นาฬิกา และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2530 เวลาประมาณ 3 นาฬิกา โจทก์ได้พลัดลื่นตกลงมาจากรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์นอนอยู่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายแขนและขาขวาใช้งานไม่ได้ ระยะเวลาที่โจทก์ประสบอันตรายดังกล่าวไม่ใช่ระยะเวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อน เพื่อเตรียมปฏิบัติงานตามกำหนดเวลา โจทก์จึงเรียกร้องเอาค่าทดแทนไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต้องสัมพันธ์กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้รวมถึงเวลานอกเหนือการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ก. ทำหน้าที่เป็นช่างทาสีบริษัท ก. มีคำสั่งให้โจทก์กับคนงานอื่นไปทำงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างเวลา 16-20 นาฬิกา เมื่อเวลาประมาณ3 นาฬิกา ของวันที่ 26 มิถุนายน 2530 โจทก์พลัดตกจากรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์นอนอยู่เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแขนและขาขวาใช้งานไม่ได้เวลาที่โจทก์ประสบอันตรายดังกล่าวไม่ใช่ระยะเวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เพราะเป็นเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อนเพื่อเตรียมปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาโจทก์จึงเรียกร้องเอาค่าทดแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิเงินทดแทนกรณีนักกีฬาของรัฐวิสาหกิจเสียชีวิตขณะฝึกซ้อม
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจ ที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่ง รัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจ หาได้ จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะ เท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนังพ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่ เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อ สัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้ง ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดย ให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึง แก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกาย เกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่ง เป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515แก้ไขโดย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน(ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตาม ข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึง แก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้อง จ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาท และไม่เกินเดือนละหกพันบาท มีกำหนดห้าปี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้ บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้อง รู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้อง รับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างเสียชีวิตขณะฝึกซ้อมกีฬาที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง ถือเป็นการเสียชีวิตจากการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์ การกีฬาย่อมเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังได้แต่งตั้งให้ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อมวันเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนการแข่งขัน จึงเป็นกรณีที่ผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานให้แก่องค์การฟอกหนัง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะฝึกซ้อมตามที่ได้รับอนุญาต และสาเหตุแห่งการตายเนื่องจากออกกำลังกาย เกินควร ต้องถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ทายาทของผู้ตายย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทน.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสาม กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพัน บาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพัน บาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสาม กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพัน บาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพัน บาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากการทำงาน: รัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนแม้กิจการไม่เกี่ยวกับกีฬาโดยตรง
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจซึ่งระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งนั้นเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินกิจการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจมิได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะขอบเขตที่ระบุเป็นวัตถุประสงค์ไว้ในกฎหมายจัดตั้ง แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 มิได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาไว้ก็ตาม แต่กรณีที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์การกีฬาย่อมเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังได้แต่งตั้งให้ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฟอกหนัง โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อมวันเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนการแข่งขัน จึงเป็นกรณีที่ผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานให้แก่องค์การฟอกหนัง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะฝึกซ้อมตามที่ได้รับอนุญาต และสาเหตุแห่งการตายเนื่องจากออกกำลังกายเกินควรต้องถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างทายาทของผู้ตายย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสามที่กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพันบาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมายซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและศาลต้องพิพากษาตามรูปแบบที่โจทก์ขอ
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้วยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวนจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมแรงงาน
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น"เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างหลังเลิกสัญญาจ้างและการประสบอันตราย: นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบหากอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปรับค่าจ้างด้วยความยินยอม
แม้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานก็ตามแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมนายจ้างจะจ่าย ณ สถานที่อื่นก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมไปรับค่าจ้าง ณ สำนักงานของนายจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว และเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่นายจ้างได้จัดรถยนต์ไปรับลูกจ้างก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเท่านั้น หาทำให้นายจ้างต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานนอกสถานที่: พิจารณาช่วงเวลาปฏิบัติงานและเหตุสุดวิสัย
อ.เป็นลูกจ้างการสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ อ.นำหลักฐานการอนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนไปให้ผู้สมัครรับจัดตั้งไปรษณีย์รับอนุญาตเอกชนลงชื่อ อ.จึงเดินทางไปตามคำสั่งถือได้ว่าอ.เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานในทางการที่จ้างของโจทก์ ดังนั้นในระหว่างที่ อ.เดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน อ.ประสบอุบัติเหตุถูกรถคันอื่นชนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของธนาคาร: ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ผู้จัดการสาขาของธนาคารนายจ้างกำหนดให้โจทก์ลูกจ้างเป็นนักกีฬาประเภทกีฬาฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลของธนาคารตามระเบียบว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคาร แม้งานประจำของโจทก์ได้แก่การทำงานเป็นกิจการของธนาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปก็ตามเมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้ธนาคารที่จัดขึ้นในวันหยุดซึ่งอยู่นอกเวลาทำงานปกติแล้วได้รับบาดเจ็บกระดูกหน้าแข้งขวาอันเล็กหักย่อมเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54(1).