คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญอินทร์ ส่งเสริมสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดกและการถอนตัวโจทก์, การอุทธรณ์คดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาล แม้โจทก์ที่ 1แต่ผู้เดียวโดยลำพังฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์มรดกโดยโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1726 ก็ตาม คดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยชอบตั้งแต่ต้น แต่ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ถอนตัวได้ตามคำขอแต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ที่ 2 แถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปว่า เพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจึงยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1เท่ากับโจทก์ที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยาย โจทก์ที่ 1ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน 3,648,000 บาท และวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่นไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิด ถึงวันฟ้อง เป็นเงินประมาณ 25,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสและการซื้อขายที่ดิน: สิทธิของคู่สมรสและผลของการซื้อขาย
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทแทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง
โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือสินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา โจทก์ที่ 1จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิมนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้
คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็นคู่ความด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน สินสมรส และการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโดยผู้จัดการสินสมรส
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท แทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือ สินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หาโจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิม นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้ จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้ คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวน ไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็น คู่ความด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยทายาทและทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกไม่ต้องระบุทรัพย์สินทั้งหมดในคำร้อง
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่าส.น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คน บุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นเมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: การพิสูจน์ทายาทและการเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่า ส. น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คนบุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดและตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงิน จากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัด มิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้อง จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบ การพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินโดยคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของทรัพย์สินทั้งหมด
จำเลยมีภริยาชื่อ อ. โดยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาจำเลยกับโจทก์ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้รับจ้างทำทองรูปพรรณและดูแลกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2536 แล้วได้เลิกร้างกันในระหว่างที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินมาคือ ที่ดินมีโฉนดและอาคารพาณิชย์และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 2 คัน สิทธิตามสัญญาเช่า อาคารศูนย์การค้า เครื่องทองรูปพรรณในร้านทองเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ วิทยุ นาฬิกาข้อมือวิทยุโทรศัพท์และเข็มขัดเงิน การที่โจทก์กับจำเลยได้ประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณร่วมกัน แม้โจทก์จะไม่ได้ร่วมลงทุนเป็นทรัพย์สิน แต่โจทก์ก็ได้ลงทุนด้วยแรงงาน ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ระหว่างที่อยู่กินร่วมกันดังกล่าวย่อมเป็นของโจทก์และจำเลยคนละเท่า ๆ กันโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้แต่การประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณของโจทก์ที่ทำร่วม กับจำเลยได้แยกต่างหากจากการที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้าง ทำทองรูปพรรณร่วมกับ อ. ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยได้นำเงินส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์ กับเงินส่วนที่ เป็นสินสมรสของจำเลยกับ อ. ไปซื้อทรัพย์ที่พิพาทระคนปนกัน ไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นเงินส่วนใดมากกว่ากัน จึงต้องแบ่งทรัพย์ที่พิพาทดังกล่าวเป็นสี่ส่วน เป็นของจำเลย สองส่วน คือส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์หนึ่งส่วน และส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นสินสมรสระหว่าง จำเลยกับ อ. อีกหนึ่งส่วน โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงหนึ่งในสี่ส่วน สำหรับทรัพย์ที่พิพาท ส่วนที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำเลยได้มาหลังจาก โจทก์อยู่กินเป็นภริยาจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิ หนึ่งในสี่ส่วน ส่วนดินและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยกู้เงิน จากธนาคารมาซื้อ และจำเลยได้จำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร โจทก์ต้องรับผิดชอบในหนี้จำนองดังกล่าวร่วมกับจำเลย ตามส่วนของโจทก์ที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าว คือจำนวน หนึ่งในสี่ส่วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อการสืบพยานเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับผู้คีดค้านตกลงท้ากันให้ส่งพินัยกรรมและเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 ค.16 ถึง ค.19 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องลงชื่อ "ผู้ทำพินัยกรรม" (ส.ผู้ตาย)ตามเอกสารหมาย ร.11 และ ร.12 กับตัวอย่างลายมือชื่อของ ส.ผู้ตายในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยให้กองพิสูจน์หลักฐานตั้งคณะกรรมการผู้ตรวจพิสูจน์หรือผู้เชี่ยวชาญขึ้น5 คน และถือความเห็นของเสียงส่วนใหญ่เกินกึ่งหนึ่งเป็นความเห็นของคณะกรรมการถ้าคณะกรรมการมีความเห็นว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันให้ถือว่าผู้คัดค้านยอมรับข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้คัดค้านยอมแพ้คดี แต่หากคณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันให้ถือว่าผู้ร้องยอมรับข้อเท็จจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องยอมแพ้คดีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินการตามคำท้าแล้วตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.11 และ ร.12 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อ ของ ส.ผู้ตาย ในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ได้ทุกลายมือชื่อว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่ปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อส.ในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 บางส่วนสามารถตรวจพิสูจน์ได้ โดยมีความเห็นว่า มีคุณสมบัติของการเขียน รูปร่างลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกันแต่เนื่องจากตัวอย่างลายมือชื่อมีลักษณะการเขียนไม่คงที่ ในกรณีนี้จึงลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน กับลายมือชื่ออีกบางส่วนในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ไม่สามารถตรวจพิสูจน์โดยมีความเห็นว่า มีลักษณะการเขียนรูปร่างลักษณะของตัวอักษรคล้ายกัน แต่เนื่องจากมีตัวอักษรบางตัวเขียนเป็นคนละแบบ ประกอบกับตัวอย่างลายมือชื่อในกลุ่มนี้มีลักษณะการเขียนเป็นหลายแบบและไม่คงที่ ในกรณีนี้จึงไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานได้ ดังนี้ ผลการตรวจพิสูจน์จึงไม่เป็นไปตามคำท้า เพราะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทุกลายมือชื่อ จึงชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไป
คดีนี้ได้สืบพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผู้คัดค้านสืบพยานได้2 ปาก ต่อมาได้แถลงงดสืบพยานที่เหลือภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้วตามที่คู่ความตกลงท้ากัน อันเป็นการแถลงเนื่องจากเข้าใจว่าผลการตรวจพิสูจน์ตรงตามคำท้า เมื่อปรากฏว่าผลการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นไปตามคำท้า จะถือว่าผู้คัดค้านไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือหาได้ไม่ จึงเห็นสมควรให้สืบพยานผู้คัดค้านที่เหลือต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อไม่เป็นไปตามคำท้า ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงท้ากันให้ส่งพินัยกรรมและเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5ค.16ถึงค.19 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจเพื่อตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องลงชื่อ "ผู้ทำพินัยกรรม"(ส.ผู้ตาย)ตามเอกสารหมาย ร.11และร.12 กับตัวอย่างลายมือชื่อของส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19ว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.11และร.12เปรียบเทียบกับลายมือชื่อ ของ ส.ผู้ตายในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ได้ทุกลายมือชื่อว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เมื่อปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อ ส.ในเอกสารหมายค.2ค.3ค.5และค.19บางส่วนสามารถตรวจพิสูจน์ได้ กับลายมือชื่ออีกบางส่วนในเอกสารหมาย ค.2ค.3ค.5และค.16ถึงค.19 ไม่สามารถตรวจพิสูจน์ ในกรณีนี้จึงไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานได้ ดังนี้ ผลการตรวจพิสูจน์จึงไม่เป็นไปตามคำท้าเพราะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทุกลายมือชื่อ จึงชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไป คดีนี้ได้สืบพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผู้คัดค้านสืบพยานได้ 2 ปาก ต่อมาผู้คัดค้านแถลงงดสืบพยานที่เหลือภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อตามที่คู่ความตกลงท้ากัน อันเป็นการแถลงเนื่องจากเข้าใจว่าผลการตรวจพิสูจน์ตรงตามคำท้า เมื่อปรากฏว่าผลการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นไปตามคำท้า จะถือว่าผู้คัดค้านไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือหาได้ไม่ จึงเห็นสมควรให้สืบพยานผู้คัดค้านที่เหลือต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การฟ้องแทนบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นเหตุให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โดยบิดามารดายกให้ โจทก์มาประมาณ 10 ปีแล้ว ประเด็นในคดีมีว่าที่พิพาทเป็นของ โจทก์หรือไม่ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทมิใช่ของโจทก์ แต่เป็นของบุตรโจทก์ และบุตรโจทก์มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีหรือโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรดังนี้โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่
of 8