คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญอินทร์ ส่งเสริมสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ผิดเลขที่ แต่เป็นทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์จะตั้งเรื่องว่าขอนำยึดบ้านเลขที่ 59/4 แต่บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดจริงคือบ้านพิพาทเลขที่ 66/5 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์จึงยึดเพื่อขายชำระหนี้ได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องตัวทรัพย์ที่ยึดไม่ผิดตัว เพียงแต่เลขที่ประจำตัวทรัพย์ผิดไปจากที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ย่อมไม่ทำให้การยึดบ้านพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชำระหนี้: แม้เลขที่บ้านผิด แต่ตัวทรัพย์ถูกต้อง ยึดได้
แม้โจทก์จะตั้งเรื่องว่าขอนำยึดบ้านเลขที่ 59/4แต่บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดจริงคือบ้านพิพาทเลขที่ 66/5 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยโจทก์จึงยึดเพื่อขายชำระหนี้ได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องตัวทรัพย์ที่ยึดไม่ผิดตัว เพียงแต่เลขที่ประจำตัวทรัพย์ผิดไปจากที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ย่อมไม่ทำให้การยึดบ้านพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องวัสดุอุปกรณ์เสียหายจำกัดเฉพาะการชำระเงิน
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1 ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้ได้มาตราฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้ง สิทธิจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง-ความรับผิดจำกัด ห้างหุ้นส่วน/ผู้จัดการ-สัญญาซื้อขาย-กรรมสิทธิ์วัสดุ
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ผลของคำพิพากษาต้องกระทบสิทธิผู้ร้อง
ผู้ร้องสอดที่ขอเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งมีหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรงจึงจะร้องสอดได้ ผู้ร้องเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขโดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้และสามารถบังคับคดีได้แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน3 ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้ สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล ดังนี้เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงจากผลของคำพิพากษา สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไขไม่ทำให้เกิดสิทธิร้องสอด
ผู้ร้องสอดที่ขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งมีหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรงจึงจะร้องสอดได้
ผู้ร้องเพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งอยู่กับที่ดินของจำเลยจากโจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ทั้งสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข โดยจะมีผลต่อเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีนี้ และสามารถบังคับคดีได้แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่อาจบังคับคดีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันฟ้องคดีนี้สัญญาจะซื้อขายก็สิ้นผล ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง การจับและควบคุมตัวผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้นเป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วยดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้อง ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ ดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจ รับ คำร้อง ของ ผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่ง ยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการเพื่อฟ้องคดีในศาลแขวง และผลของการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงาน-สอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่งยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การขาดอายุความ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความในคำให้การ มิเช่นนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 193 วรรคสอง บัญญัติให้จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 195 โดยจำเลย ต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการ ปฏิเสธนั้นด้วย แม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่า ขาดอายุความตามมาตราใดก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องให้การโดย แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏจำเลยจึงต้องบรรยาย ด้วยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้อง การที่จำเลยให้การเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความโดยมิได้ กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความการที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเช่าจากผู้อื่นไม่ใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินของผู้ให้เช่า
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลย เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทโดยเช่าจาก ผ.และ ส. บุตรเขยและบุตรสาวของมารดาจำเลยแม้โจทก์จะครอบครองนานเท่าใด และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครอง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์แต่เป็นของมารดาจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาย่อมมีสิทธิขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทได้
of 8