พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยเช่าไม่ได้ทำให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แม้จะครอบครองนานและเสียภาษี
ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลย เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทโดยเช่าจาก ผ.และส.บุตรเขยและบุตรสาวของมารดาจำเลยแม้โจทก์จะครอบครองนานเท่าใด และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์แต่เป็นของมารดาจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาย่อมมีสิทธิขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้เหมาะสม
การที่จำเลยมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะปรากฎว่าคดีสามารถฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยหนักเกินไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบคู่มือจดทะเบียนรถไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม ความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวก ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 83, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265, 341
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน สัญญาซื้อขายที่ดินทำโดยผู้จัดการคนหนึ่งมีผลผูกพันทายาทได้หากได้รับความยินยอม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 และ ท. เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกัน และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ก็มิได้มีความหมายว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน ดังนั้น การที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงผู้เดียวหากได้รับความยินยอมพร้อมใจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ขณะที่ ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกับ ท. ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป. ถึงแก่กรรมท. ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป. ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท. ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป. ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท. ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้วกรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ ผู้เช่ามีสิทธิบอกล้างและเรียกร้องเงินคืน
ในขณะทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวพิพาท โจทก์ไม่รู้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทดังกล่าวอยู่ในแนวเขตที่ดิน ที่ที่จะถูกเวนคืน ซึ่งหากโจทก์ทราบความจริง โจทก์คงจะไม่ทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับจำเลย เพราะโจทก์ไม่สามารถจะดำเนินกิจการร้านค้าบนที่ดินและตึกแถวพิพาทจนถึงจุดคุ้มทุนและมีกำไรตามความตั้งใจได้ การที่โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ การแสดงเจตนาทำสัญญาเช่าของโจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังจำเลย การอันเป็นโมฆียะกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 จำเลยต้องคืนเงินตามสัญญาเช่าที่ได้รับไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยเป็นค่าตอบแทนการเช่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เงิน 300,000 บาท ที่โจทก์จ่ายให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่านอกเหนือจากค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้านั้นเป็นเงินตอบแทนการเช่า ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าเงิน 300,000 บาท ดังกล่าวมิใช่เงินตอบแทนการเช่าหรือเงินกินเปล่า แต่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยเพื่อช่วยออกค่าภาษีแก่กรมสรรพากร จำเลยไม่ต้องคืนให้โจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สินเช่า ทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ และมีสิทธิบอกล้างได้
ในขณะทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวพิพาท โจทก์ไม่รู้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทดังกล่าวอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืน ซึ่งหากโจทก์ทราบความจริง โจทก์คงจะไม่ทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับจำเลย เพราะโจทก์ไม่สามารถจะดำเนินกิจการร้านค้าบนที่ดินและตึกแถวพิพาทจนถึงจุดคุ้มทุนและมีกำไรตามความตั้งใจได้ การที่โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ การแสดงเจตนาทำสัญญาเช่าของโจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังจำเลย การอันเป็นโมฆียะกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 176 จำเลยต้องคืนเงินตามสัญญาเช่าที่ได้รับไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยเป็นค่าตอบแทนการเช่า จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เงิน 300,000 บาทที่โจทก์จ่ายให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่านอกเหนือจากค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้านั้นเป็นเงินตอบแทนการเช่า ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าเงิน 300,000 บาท ดังกล่าวมิใช่เงินตอบแทนการเช่าหรือเงินกินเปล่า แต่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยเพื่อช่วยออกค่าภาษีแก่กรมสรรพากร จำเลยไม่ต้องคืนให้โจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยเป็นค่าตอบแทนการเช่า จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เงิน 300,000 บาทที่โจทก์จ่ายให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่านอกเหนือจากค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้านั้นเป็นเงินตอบแทนการเช่า ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าเงิน 300,000 บาท ดังกล่าวมิใช่เงินตอบแทนการเช่าหรือเงินกินเปล่า แต่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยเพื่อช่วยออกค่าภาษีแก่กรมสรรพากร จำเลยไม่ต้องคืนให้โจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามลำดับศาล
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาควบคุมผู้ต้องหาและการผัดฟ้อง: การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาที่ถูกจับไว้ได้มีกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้ดำเนินคดีล่าช้าและผู้ต้องหาอาจถูกควบคุมไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้ผู้ร้องแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาและสอบคำให้การผู้ต้องหาไว้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องจับผู้ต้องหาแล้ว ผู้ร้องจึงต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องผู้ต้องหาภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง หากไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องต้องขอผัดฟ้องต่อศาล เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผัดฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาและการผัดฟ้องเกินกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาที่ถูกจังไว้ได้มีกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้ดำเนินคดีล่าช้าและผู้ต้องหาอาจถูกควบคุมไว้นายเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้ผู้ร้องแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา ในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และสอบคำให้การผู้ต้องหาไว้แล้ว อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจับผู้ต้องหาแล้ว ผู้ร้องจึงต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องผู้ต้องหาภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง หากไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้อง ต้องขอผัดฟ้องต่อศาล เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผัดฟ้องจึงชอบแล้ว