คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญอินทร์ ส่งเสริมสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาผูกพัน โจทก์ไม่อาจอ้างเหตุใหม่เมื่อประเด็นเคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม 7 ฉบับที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่าจำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าว และสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว โดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกัน หนี้เงินกู้ยืมและโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่า โจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริงพร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตามแต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสอง มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับและสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ ห้ามรื้อร้องประเด็นเดิม แม้ข้ออ้างเปลี่ยนแปลง
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม7 ฉบับ ที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้ จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า จำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้ จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าวและสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวโดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืม และโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1 ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริง พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ และสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเฉพาะผู้เสียทางจำเป็น ไม่ใช่ภาระจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ซ.มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้น มิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ซ.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภาระจำยอมนั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืนจำกัดเฉพาะผู้เสียสิทธิทางจำเป็น ไม่รวมผู้มีภารจำยอม
ที่ดินของ ซ. ถูกเวนคืน เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทางภารจำยอมนั้นแก่ ซ. หรือไม่ก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(6) เนื่องจาก มาตราดังกล่าวกำหนดบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน คือ เฉพาะบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืน ในฐานะที่เป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และบุคคลนั้นได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความรวม ถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 ถึงมาตรา 1401ดังกรณีของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืน: กรณีทางภารจำยอม vs. ทางจำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ส. ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มอบอำนาจให้ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของช. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ช.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิ ในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่า จำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทาง ภารจำยอม นั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น การโอนหุ้นสมบูรณ์แม้ไม่ได้ทำตามข้อบังคับบริษัท และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า"การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัทท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้วกรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและ พยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้วที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัยย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น, ข้อบังคับบริษัท, ประเด็นข้อพิพาท, การกำหนดค่าเสียหาย, การอุทธรณ์
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า "การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัท ท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัท ท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้ว กรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก
จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัท ท.ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ 88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่า จำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัย ย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้โทรศัพท์และวิทยุสื่อสารในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิดตามกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านได้ใช้โทรศัพท์มือถือและวิทยุติดตามตัวของตนในการติดต่อประสานงานเพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โทรศัพท์มือถือและวิทยุติดตามตัวดังกล่าวจึงเป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิดต้องริบตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกร่วม กรณีผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งถอนตัว
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาลโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลย ในระหว่างพิจารณาโจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและแถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยว่า เป็นเพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยชอบตั้งแต่ต้น และที่โจทก์ที่ 2ขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์ก็ไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1 จึงเท่ากับโจทก์ที่ 2ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยายโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกกรณีถอนตัวจากฟ้องร่วม และการอุทธรณ์ข้ามทุนทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาลโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวโดยลำพังฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์มรดกโดยโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726แต่ เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย และโจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยชอบตั้งแต่ต้น แม้ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและจำเลยไม่คัดค้านศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ถอนตัวได้ตามคำขอแต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 2 แถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยว่า เพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจึงยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์เท่านั้นไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1เท่ากับโจทก์ที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยาย โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้ เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน3,648,000 บาท และวินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่น จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 25,000 บาท จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000 บาทซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 8