พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็นในการหยุดงานเพื่อดูแลภรรยาป่วย และการพิสูจน์เหตุอันสมควร
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ปรากฏว่า วันที่ 31 มีนาคม 2529 เป็นวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์รับค่าจ้างและเลิกงานเวลาประมาณ 17 นาฬิกา โจทก์ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนแล้วโดยสารรถยนต์กลับจังหวัดสมุทรสงครามเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา และถึงบ้านเมื่อเวลาประมาณ 23 นาฬิกาเศษ โจทก์ไม่เคยบอกเรื่องการป่วยของภรรยาโจทก์ให้ผู้ใดทราบ โจทก์เพิ่งนำภรรยาไปให้แพทย์ตรวจเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2529 แล้วพากลับบ้าน แสดงว่ามิได้ป่วยหนักพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จำเลยจะหยุดงานได้โดยไม่ต้องขอลาหยุดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ – การเลิกจ้าง – ค่าชดเชย – ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน – การลาที่ถูกต้องตามระเบียบ
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10(วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.