คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย สุขพหรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกและการยึดทรัพย์สิน ต้องมีสิทธิและส่วนได้เสียโดยตรง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก: ทายาทผู้รับโอนมีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย การแบ่งมรดกไม่ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722