พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบชำระหนี้ – ดอกเบี้ยเกินอัตรา – นำไปชำระต้นเงินได้ – มาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้องเงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความใบเสร็จรับเงินชำระหนี้ การสืบพยานหลักฐานเพื่ออธิบายความหมายของเอกสาร และการพิสูจน์การชำระหนี้
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้างการนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม การนำสืบประเด็นนอกฟ้องไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนอง จำเลยให้การว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ในการนำสืบการใช้เงินจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงคงมีแต่ใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งมีชื่อจำเลยและ อ. บุตรสะใภ้ของจำเลยเป็นผู้ถอน เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานที่ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมจึงต้องห้ามมิให้นำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 653วรรคสอง ตามคำให้การจำเลยมิได้ให้การถึงว่า จำเลยได้กู้เงินจำนวน40,000 บาทเศษ ไปจากโจทก์และได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้เช่นกัน โจทก์คงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 70,000 บาท ซึ่งเงินจำนวน 70,000บาท จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฉีกสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 40,000 บาทเศษในการกู้คราวแรกถือว่าโจทก์เวนคืนหรือเพิกถอนสัญญากู้แสดงว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการใช้เงินกู้ยืมโดยตัวแทน: หลักฐานใบมอบฉันทะถอนเงินเพียงพอตามกฎหมาย
โจทก์ให้ ว. เป็นผู้ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ จึงถือว่า ว. เป็นตัวแทนโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว.ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินเอกสารหมาย ล.1 มาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้ยืมเงินมาแสดง ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินกู้ยืมผ่านตัวแทน: หลักฐานการรับชำระหนี้ที่ลงลายมือชื่อตัวแทนเพียงพอตามกฎหมาย
โจทก์ให้ ว. ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของจำเลยเพื่อชำระหนี้โจทก์ เมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว.ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินมาแสดงจึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้ยืมเงินมาแสดง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การนำสืบการใช้เงิน และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และได้ชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทเป็นเช็คแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้เงินกู้จึงยังคงมีอยู่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนำสืบว่า จำเลยที่ 1 นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและรับเช็คคืนจากโจทก์แล้ว จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสองเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง และไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คประกันหนี้ ไม่ต้องมีหลักฐานการใช้เงินตามมาตรา 653
ในกรณีที่การชำระหนี้ด้วยการใช้เงินจึงจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองส่วนการชำระหนี้โดยการใช้เงินตามเช็คที่จำเลยประกันหนี้ไว้กับโจทก์ เป็นการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทน และโจทก์ยอมรับไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หนี้ย่อมระงับไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คประกัน ถือเป็นการชำระด้วยทรัพย์สินอื่น ไม่ต้องมีหลักฐานการใช้เงิน
ในกรณีที่การชำระหนี้ด้วยการใช้เงินจึงจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ส่วนการชำระหนี้โดยการใช้เงินตามเช็คที่จำเลยประกันหนี้ไว้กับโจทก์ เป็นการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทน และโจทก์ยอมรับไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หนี้ย่อมระงับไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อบังหน้าการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินกฎหมายระงับหนี้
การที่จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่ค้างชำระภายหลังพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้นสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 วรรคสอง และจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น