คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
คงศักดิ์ วัชรคงศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับพินัยกรรมและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ศ.ภริยาของช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของศ.ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของศ.มิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ. ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566เมื่อศ. ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ศ. มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของช. ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกในการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส
ศ.ภริยาของ ช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของ ศ. มิใช่ทายาทโดยธรรม และไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และ ศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ.ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ.ซึ่งมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับ ช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566 เมื่อ ศ.ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ ศ.มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว และถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของ ช.ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการ (อนุโมทนาบัตร) และหนังสือราชการ มีความผิดหลายกระทง
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบใจหรืออนุโมทนาบัตร พ.ศ. 2523 ข้อ 3 ระบุว่าเมื่อมีผู้บริจาคทรัพย์สินแก่วัดให้เจ้าอาวาสหรืออธิบดีเจ้าสังกัดตอบขอบใจหรืออนุโมทนา เห็นได้ว่าการออกอนุโมทนาบัตรจะต้องออกโดยเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ซึ่ง ป.อ. มาตรา 1 (8) ระบุว่า "เอกสารราชการ" หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย และตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติไว้ให้ไวยาวัจกรและเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้นอนุโมทนาบัตรจึงเป็นเอกสารราชการ
การกระทำของจำเลยที่กรอกข้อความลงในแบบอนุโมทนาบัตรจำนวน 38 ฉบับ กับปลอมหนังสือราชการของจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ดรวม 3 ฉบับ เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำ หลายกรรมและผิดต่อกฎหมายรวม 41 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล: ห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาล: การปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ & ผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตาม หมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับ โดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมาย ไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายาง ในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดยท. ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ท. มาทราบคำสั่งในวันที่14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหาก ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่า ระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้น เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นตามที่ถือว่า โจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายและการแจ้งคำสั่งศาล: โจทก์ยังไม่ทิ้งอุทธรณ์ แม้ไม่ได้รับแจ้งโดยตรงจากความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตามหมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมายไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายางในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดย ท.ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ ท.มาทราบคำสั่งในวันที่ 14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่าระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้นเป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้นตามที่ถือว่าโจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าต่างตอบแทนต่อผู้รับโอนที่ดิน: การยอมรับภาระผูกพันจากใบเสร็จรับเงินค่าเช่า
อุทธรณ์จำเลยสรุปได้ว่า สัญญาเช่าระหว่าง อ. กับ จำเลยเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วยเหตุว่า เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินโอนมาเป็นของโจทก์แล้วจำเลยได้นำค่าเช่า ไปชำระให้โจทก์ โจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าเช่านาให้ ย่อมแสดงชัดว่าโจทก์ยอมรับภาระผูกพันตามสัญญาเช่าต่างตอบแทน นั้นมาด้วย ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้างว่าสัญญาเช่า ต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีผลผูกพันโจทก์ ผู้รับโอนนั้นเป็นผลสรุปจากข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยอมรับ ภาระผูกพันในสัญญาเช่านั้นเพียงใดหรือไม่ อุทธรณ์จำเลยในข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิในการผ่านที่ดินของเจ้าของที่ดินติดกัน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และอ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ. โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น 3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774,94775และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774 ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตรย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตร พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ1 เมตร ไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย โดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาท เป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 5