คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และขอบเขตการฟ้องร้อง
นายทะเบียนท้องถิ่น คือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 รวมทั้งมีฐานะเป็น"นายทะเบียน" ผู้มีอำนาจเพิกถอนหลักฐานทะเบียนตามมาตรา 10 และมาตรา 8(5)วรรคสอง บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นคดีนี้หากการจัดทำสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน คือนายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทหรือผู้อำนวยการเขตพญาไท ซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการเกิดของเด็กชาย ภ. แต่เมื่อมีการปรับปรุงแบ่งเขตปกครองเสียใหม่ เป็นผลให้อำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. เป็นของนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวี และโจทก์ได้ร้องขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวีซึ่งได้พิจารณาสั่งไม่เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. โดยให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลต่อไป แต่กรุงเทพมหานครจำเลยมิใช่นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งออกโฉนดที่ดิน: อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ม.60 และการฟ้องร้องกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายคำฟ้องโดยตั้งประเด็นกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยการสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านในทำนองให้รับผิดฐานละเมิด แต่ในคำฟ้องของโจทก์คงบรรยายฟ้องลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 ไม่พิจารณาหลักฐานให้รอบคอบถูกต้องชัดเจนโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 พิจารณาหลักฐานไม่รอบคอบอย่างไรกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำขอท้ายคำฟ้องโจทก์ขอเพียงให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว กับให้จำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1020 ให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานละเมิดแต่มีลักษณะเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 กำหนด ด้วยการฟ้อง ช. ผู้คัดค้าน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2
ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจสั่งการไปตามที่เห็นสมควร จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ ช. ผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเพื่อรอเอกสารสำคัญและพยานหลักฐาน ศาลต้องอนุญาตโดยคำนึงถึงสิทธิในการนำสืบพยานของผู้ฟ้อง
โจทก์ระบุพยานไว้ 30 อันดับ เป็นพยานนำเกือบทั้งหมด เอกสารบางอย่างเห็นชัดว่าน่าจะมิได้มีอยู่ที่โจทก์จะต้องติดตามมาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร คดีของโจทก์มีทุนทรัพย์สูง โจทก์นำสืบทนายความของโจทก์ไปแล้ว 1 ปาก ยังมิได้อ้างส่งเอกสาร เอกสาร 25 อันดับตามบัญชีระบุพยานเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการสืบพยานบุคคลของโจทก์ 3 ปาก ที่เหลืออยู่ เหตุที่อ้างมาตามคำร้องว่ายังขัดข้องในเรื่องเอกสารซึ่งมีจำนวนมากยังได้มาไม่ครบนั้น ถือได้ว่าเป็นเหตุจำเป็นที่ทำให้โจทก์ยังไม่สามารถสืบพยานบุคคลที่เหลืออยู่ได้ โจทก์เพิ่งจะขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่สองและจำเลยทั้งสี่รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน สมควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนคดีไปก่อนได้อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินธนาณัติเมื่อผู้รับไม่มารับ และสิทธิจำเลยโอนเงินเข้ากองทุนเมื่อพ้นกำหนด
กรณีที่โจทก์ผู้ฝากส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศไปให้ผู้รับแต่ผู้รับไม่ไปขอรับเงินภายในกำหนด 2 เดือน นับต่อจากเดือนที่ฝากส่ง ไปรษณีย์ปลายทางจึงส่งไปรษณีย์ธนาณัติคืนไปรษณีย์ต้นทางตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน. 31ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้นทั้งไปรษณีย์นิเทศฯ ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนอีกแต่โจทก์ก็ไม่ไปขอรับเงินคืนตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศฯข้อ 204 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ฝากรับเงินธนาณัติ - แก้ไขระเบียบไปรษณีย์ - การแจ้งผู้ฝาก - การโอนเงินเป็นสิทธิของจำเลย
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9 พ.ศ.2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31 ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1 ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินธนาณัติคืนให้จำเลยเมื่อผู้รับไม่ไปรับเงิน และหน้าที่ของผู้ฝากในการติดต่อขอรับเงินคืน
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศพ.ศ. 2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนกับแบบธน.1ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไปรษณีย์ธนาณัติ: หน้าที่ผู้ฝากติดตามรับเงินเอง เมื่อไปรษณีย์ไม่ต้องแจ้ง
ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนานัติในประเทศ พ.ศ. 2526 ข้อ 241.1 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ. 2526(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9 พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการต้นทางเพียงแต่ตรวจสอบแบบ ธน.31ท่อนที่1ซึ่งได้รับคืนแบบธน.1ของธนาณัติฉบับนั้น และแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 235 เมื่อโจทก์ผู้ฝากไม่ได้ไปขอรับเงินคืนในกำหนดเวลาดังกล่าว การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยจึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลย เพราะโจทก์ไม่ไปขอรับเงินตามระเบียบ ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2539 ข้อ 204 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.สำเร็จการศึกษา – วันสำเร็จการศึกษาตามประกาศมหา’ลัยมีผลผูกพัน
ผู้ร้องเป็นผู้สอบไล่ผ่านครบถ้วนทุกวิชาตามหลักสูตรปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิตและผ่านการอนุมัติของสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้วเพียงแต่รอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาว่า เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว ผู้ร้องจะสำเร็จการศึกษาตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2545 และตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยก็ระบุว่า นักศึกษาที่สอบไล่ได้ชุดวิชาต่าง ๆ ครบถ้วน... มหาวิทยาลัยจะดำเนินการขออนุมัติปริญญา.. โดยถือวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายเป็นวันสำเร็จการศึกษา ซึ่งก็คือวันที่ 29 เมษายน 2545 นั่นเอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีตั้งแต่วันดังกล่าวอันเป็นวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายโดยไม่จำต้องอาศัยผลของการอนุมัติปริญญาของสภามหาวิทยาลัยอีกต่อไปเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4 สิงหาคม 2545 โดยคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาระหว่างวันที่ 8กรกฎาคม 2545 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 และผู้ร้องไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งในวันแรก ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในขณะยื่นใบสมัครตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 125(3) ผู้คัดค้านต้องรับสมัครผู้ร้องและประกาศให้ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ข้อจำกัดการแก้ไขทุนทรัพย์, อำนาจฟ้อง, และขั้นตอนตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินทดแทนจากตารางวาละ 12,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาทเท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาทไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ ให้ยกคำร้องขอ ดังนี้โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
โจทก์มิได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืน เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน
อนึ่งการยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมและการซื้อที่ดินส่วนที่เหลือต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 16,000 บาท เท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์พอใจแล้วไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่
of 45