คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค และการบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
การที่จำเลยปฏิเสธการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัย ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป. มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงก่อนจะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย การที่นาย ป. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นทางแพทย์ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ถือว่าเป็นโรค ฉะนั้น ที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบในคำขอเอาประกันชีวิตจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยความจริงเช่นนั้น จะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กรณีบริษัทประกันปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างเหตุไม่เปิดเผยอาการเจ็บป่วย
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกับ พ. ทั้งจำเลยไม่ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคที่ต้องห้ามที่จำเลยจะไม่รับประกันภัย การที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงได้มอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันชีวิต - การบอกล้างสัญญา - สุขภาพของผู้เอาประกัน - เหตุผลในการบอกล้างสัญญา
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก โดยโจทก์นำสืบว่าการที่จำเลยปฏิเสธใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัยซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมและไม่ใช่เพียงผู้ร้องรายเดียวที่ประสบกับเหตุลักษณะนี้ แต่คาดว่ายังมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกันนี้ ทั้งจำเลยก็รับว่าไม่มีระเบียบกำหนดให้อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามที่จะไม่รับประกันภัย ดังนั้น ที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 10(7) และมาตรา 39 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ก่อนที่ ป. จะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลย ป. เคยเข้ารับการรักษาและนอนพักในโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เพราะเหตุน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ ป. ก็มิได้แถลงข้อความจริงในเรื่องดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่ถือว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปโกซีเมียเป็นโรคติดต่อเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หากรับประทานอาหารเข้าไปก็จะหายโดยไม่ต้องใช้ยา แม้จำเลยจะอ้างว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราด้วยก็ตาม แต่หากดื่มสุราและยังรับประทานอาหารตรงเวลาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำคงไม่เกิดขึ้นทั้งจำเลยก็ไม่มีระเบียบว่า ผู้เอาประกันภัยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำสัญญาประกันชีวิต ได้ความว่าก่อนรับทำสัญญาประกันชีวิต จำเลยได้จัดให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของ ป. แล้ว ซึ่งปรากฏว่าป. มีสุขภาพแข็งแรง ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของ ป. เกิดจากการดื่มสุราจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ฉะนั้นที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ โดยมิได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์ - ความผิดหลายกรรมต่างวาระ - การลดโทษและการรวมโทษ
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์, หลายกรรมต่างวาระ, ลดโทษ, รอการลงโทษ, คนต่างด้าว
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ที่ 1880/2542
แม้จำเลยจะกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกัน อันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก และ 336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน จึงไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 91 (2) มาบังคับใช้ได้ ทั้งการจะนำมาใช้ได้ต้องเป็นกรณีหลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีซ้ำ และการเพิกถอนการรอการลงโทษ กรณีผู้ต้องหาพ้นโทษแล้วกระทำผิดซ้ำ
ตามคำแถลงการณ์ประกอบอุทธรณ์ของจำเลยรับว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมาก่อน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกให้มีกำหนด 2 ปี และจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและมิได้ขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับคดีนี้มาในท้ายฟ้อง อีกทั้งมิได้อุทธรณ์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก นอกจากนี้ คำว่า "ศาล" ตามมาตราดังกล่าวก็หมายถึงทุกชั้นศาล หาได้มีความหมายเฉพาะศาลชั้นต้นที่มีอำนาจกำหนดโทษตามที่จำเลยฎีกาไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำโทษจำคุก 1 ปี ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามกฎหมาย หากไม่มีหลักฐาน ศาลไม่สามารถบังคับคดีได้
เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและมีข้อความว่า " ข้าพเจ้า ด. เจ้าของรถได้นำรถจำนองไว้กับ ช. เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท" และลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตามเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้นๆ อันจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินนี้มีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐาน แม้มีการจำนำรถยนต์ ก็ฟ้องบังคับคดีไม่ได้
เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของบุคคลชื่อ ด. จำเลยและมีข้อความในที่ว่างขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้า ด. เจ้าของรถโตโยต้าได้นำรถจำนองไว้กับ ช. โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท และลงลายมือชื่อไว้ ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้น ๆ ว่าจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินมีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามกฎหมาย หากไม่มีหลักฐาน ศาลไม่รับฟ้อง
เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า ด. เจ้าของรถได้นำรถจำนองไว้กับ ช. เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท" และลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตามเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้น ๆ อันจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินนี้มีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ซึ่งต่อมาคู่ความในคดีดังกล่าวตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ส่วนคดีนี้โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอ้างเหตุผลเดียวกันว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับที่ดินของส. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอันเป็นการฟ้องอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 แม้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 รายเดียวกันนั่นเองโจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่ความเดียวกันและต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งมีคำวินิจฉัยมาแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 45