พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีชดใช้ค่าทดแทนที่ดิน: ศาลสั่งงดบังคับคดีจนกว่าจะมีการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ซึ่งความจริงแล้ว ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา และโจทก์ก็แถลงรับว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังนั้น อาจจะมีการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษาของจำเลยดังกล่าว อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยอีกต่อไป กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง และการพิสูจน์ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ธ. กระทำการแทนผู้ร้อง โดยให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอรับรถของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1769/2542 ของศาลจังหวัดนราธิวาสคืน อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งให้ ป. และ ธ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องได้ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องไม่ได้จำกัดว่าผู้รับมอบอำนาจแต่ละคนจะต้องกระทำการร่วมกันตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งจึงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อรถยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กระบะที่เช่าซื้อจากผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของผู้เช่าซื้อ ทั้งโจทก์มิได้นำพยานเข้าสืบให้เห็นแตกต่างเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงต้องคืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลคดีเลือกตั้งเป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้ แม้มีข้อผิดพลาดทางกฎหมาย
ผู้ร้องทั้งสี่ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 57เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้คัดค้าน และเมื่อศาลสั่งอย่างใดแล้วให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านทั้งแปดผู้ได้รับเลือกตั้งยื่นคำคัดค้านแล้วว่าตนได้รับการเลือกตั้งมาโดยชอบและต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนผู้คัดค้านที่ 4และที่ 5 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความหมายของมาตรา 58 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดทุกกรณีคู่ความไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายฉะนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งแปดอุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 เนื่องจากมิได้วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่เคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งแปดจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อฎีกาของผู้คัดค้านทั้งแปดต้องห้ามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาดังกล่าวไว้จึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจการฟ้องคดีของประชาชนและประธานสุขาภิบาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทั้งในฐานะส่วนตัวเนื่องจาก ผู้ร้องเป็นประชาชนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในพื้นที่นี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย และในฐานะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลนั้นก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ เพราะเป็นผู้รับผิดชอบอยู่โดยตรง ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจในการฟ้องคดี
การที่ผู้ร้องระบุในคำร้องว่าในฐานะส่วนตัวคือในฐานะประชาชนในเขตสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ถือได้ว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหายได้ และในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมายหากกรรมการสุขาภิบาลคนใดพ้นตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสุขาภิบาลพ้นตำแหน่งเมื่ออุปสมบท แม้ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการเพราะไปอุปสมบทเป็นภิกษุ ซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย ส่วนประธานกรรมการสุขาภิบาลก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน พิจารณาจากที่ดินที่เหลืออยู่และราคาตลาด
การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินแปลงนั้นที่มีอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ หาได้มีความหมายเลยไปถึงที่ดินของโจทก์แปลงอื่นที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมิได้ถูกเวนคืนด้วยเลยกลายเป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยการปฏิบัติตามคำสั่งศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว ทำให้สิทธิในการยกคดีขึ้นพิจารณาอีกครั้งหมดไป
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงทราบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดังกล่าว โดยโจทก์ได้ไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการแถลงต่อศาลภายในกำหนด ระยะเวลาตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด เพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ซึ่งเป็นระยะเวลาเนิ่นนานหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ 6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทั้งคำสั่งศาลดังกล่าวก็ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามกำหนดระยะเวลา ทำให้ไม่อาจยกคดีขึ้นพิจารณาได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาลกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา