คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถาน และการระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน: เหตุสมควรและความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จสิ้นวันที่ 29เมษายน 2539 หลังจากนั้นมีการสืบพยานจำเลยต่ออีกหลายนัดโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540 อ้างความพลั้งเผลอหรือผิดหลงเล็กน้อย โดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องก่อนวันชี้สองสถานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเพิ่มการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน หากไม่ได้ที่ดินตามฟ้องเดิมนั้น ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งไม่ใช่เป็นการแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ขออ้างสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาที่จะอ้างเป็นพยานภายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาหลังจากสืบพยานโจทก์คดีนี้เสร็จและจ่าศาลศาลชั้นต้นเพิ่งรับรองสำเนาคำพิพากษาในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวกรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถระบุพยานดังกล่าวก่อนหน้านี้ได้ ทั้งคำพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้ตามที่จำเลยให้การไว้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม, ความเสียหายของธนาคาร, และการดำเนินคดีตามลำดับชั้นศาล
จำเลยได้ใช้บัตรเครดิตปลอมไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆจากร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิตรวม 82 ครั้ง ผลการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยเป็นเหตุให้ธนาคาร น. ต้องจ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากบัตรเครดิตปลอมให้แก่ร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิต ธนาคาร น. จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลย มีอำนาจร้องทุกข์คดีนี้ได้
การหักวันต้องขังของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยฎีกาในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าพิพากษาคดีไม่ถูกต้องแต่ประการใดเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกหักวันต้องขังคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เป็นลำดับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน ต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน เพื่อความเป็นธรรมทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม
การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนรวม 5 ข้อ ประกอบกัน มิใช่พิจารณาข้อใดข้อหนึ่งแต่เพียงข้อเดียวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเงินค่าทดแทนที่ดินต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์กฎหมาย และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
การพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น 3 อย่าง ได้แก่ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับคดีนี้คือวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน รวม 5 ข้อ ที่ต้องพิจารณาประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มุ่งเน้นการพิจารณาไปในเรื่องสภาพและที่ตั้ง และประโยชน์ที่ได้รับหลังจากถูกเวนคืน แล้ววางหลักเกณฑ์กำหนดราคาเพิ่มสำหรับที่ดินที่อยู่ติดถนนรามอินทราเท่า ๆ กันหมด ถ้าแปลงใดมีส่วนที่ถูกเวนคืนอยู่ไม่ลึกจากถนนรามอินทรามากนัก ไม่เกิน 80 เมตร ก็กำหนดเพิ่มให้ ถ้าอยู่ลึกเข้าไปมากกว่านั้น ก็กำหนดราคาให้ต่ำลงไปอีก ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น จึงยังไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินของกลาง: ศาลต้องมีคำสั่งริบก่อนจึงจะพิจารณาคืนได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว คำร้องขอคืนสิ้นไป
กรณีขอคืนทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 36 ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อนจึงจะมีคำสั่งในเรื่องของกลางได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของจำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องก่อนที่จะมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางจึงมิชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องใช้สิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ และข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจึงมีคำพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง ทั้งที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยมิได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมิชอบ ดังนี้แม้ข้อเท็จจริง จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว เหตุที่จะพิจารณาคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องย่อมสิ้นไป ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และยกคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางต้องมีคำสั่งริบก่อน ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิดเมื่อคืนของกลางโดยที่ยังไม่มีคำสั่งริบ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องขอคืนของกลางได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และริบรถยนต์ของกลาง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 30 กันยายน2542 โจทก์ไม่อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 ก่อนที่จะมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางจึงมิชอบ และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องใช้สิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดแล้วมีคำพิพากษากลับให้คืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543 ทั้งที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงมิชอบเช่นกัน และแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฎีกา แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว เหตุที่จะพิจารณาคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางย่อมสิ้นไป ศาลฎีกาจึงไม่พิจารณาคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก: การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2540 นับแต่วันดังกล่าวทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำนิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอกโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจรับชำระหนี้เงินกู้ยืมแทน ป. จำเลยโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยร่วมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของ ป. ก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทน ป. ประกอบกับการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินในวันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคท้ายจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก การโอนที่ดินโดยไม่คำนวณราคาตลาดเป็นโมฆะ
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ทายาทย่อมหมดอำนาจจัดการทรัพย์มรดกและกระทำ นิติกรรมใด ๆ กับบุคคลภายนอก ทั้งนี้จนกว่าจะแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จ ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่รับชำระหนี้ แทนผู้ตายได้ จำเลยเพิ่งโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่อ้างว่าโอนเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็น ผู้จัดการมรดกแล้ว แม้จำเลยร่วมจะเป็นทายาทของผู้ตายก็ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้แทนผู้ตาย
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นข้อตกลงการโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระเงินที่จำเลยทำกับจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าได้มีการคิดเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งที่ดินใน วันที่จดทะเบียนอันเป็นการส่งมอบ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นแทน จำนวนเงินที่กู้ยืมโดยไม่มีการคำนวณหนี้เงินที่ค้างชำระเท่ากับราคาท้องตลาดของที่ดิน จึงเป็นข้อตกลงที่ขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคหนึ่ง และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคท้าย ดังนั้นการจดทะเบียนโอน ขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยร่วมและการทำข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับลง จำเลยต้องชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเทศบาล การใช้สิทธิโดยชอบ และความสงสัยในเจตนาทุจริต
การที่จำเลยนำน้ำมันซึ่งจำเลยมีสิทธิเบิกไปใช้ได้ด้วยตนเองไปเติมใส่รถยนต์คันอื่นเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำรถยนต์คันอื่นนั้นไปใช้ในกิจกรรมอื่นซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่จำเลยจะพึงใช้ได้อันอาจถือได้ว่าจำเลยได้ประโยชน์จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นส่วนตัว เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำการเบียดบังเอาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำเลยสั่งจ่ายไปเป็นของจำเลยหรือของผู้อื่นโดยทุจริตหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย
of 45