พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214-6216/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องมีเหตุอันควร ศาลมีอำนาจพิจารณาโทษและนับโทษตามคำขอ
ในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำให้การจำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่จำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องของโจทก์ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การแล้วจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตามกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงิน ค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด 20 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาล ที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้ว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว มิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุดอยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อน จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกระบวนพิจารณา แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดเวลาให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลมิใช่เป็นการขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23อันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและจะต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้นศาลมีอำนาจโดยทั่วไปที่จะกำหนดระยะเวลาได้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นหรือสิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมต้องสะดุดหยุดอยู่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่นย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อนมิฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล การที่จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อนจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การอ้างเหตุเดิมซ้ำๆ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข และไม่ให้ความสำคัญกับคำสั่งศาลถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลย
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษา ศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษา เมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยในครั้งที่สองรวมแล้วเป็นเวลาถึง 86 วัน และ เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่สาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเตือนทนายจำเลยในคำร้อง ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามของทนายจำเลยแล้วว่าการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยอ้าง เหตุเดิมเป็นความเฉื่อยชาของจำเลย ไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายโจทก์ แต่ก็ยังให้โอกาสจำเลยอีกครั้ง ทนายจำเลยกลับมายื่น คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สี่อ้างเหตุเดิมอย่างลอย ๆ ทั้งฎีกาของจำเลยก็ยอมรับว่า การอ้างเหตุเดิม เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากเป็นแบบพิมพ์ของพนักงานอัยการที่ใช้ร่างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความที่คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงไปเพราะความพลั้งเผลอในการตรวจสอบข้อความโดยไม่ได้อ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษอย่างไร เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ การที่จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ เป็นเพราะความบกพร่องของฝ่ายจำเลย จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ การฎีกาคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้โดยให้คุมความประพฤติของจำเลย ต่อมาระหว่างคุมความประพฤติจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกเลิกการคุมประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ ดังนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดจะฎีกาต่อไปไม่ได้ตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 17 วรรคสอง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องรอการวินิจฉัยของ คชก. ก่อน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้ คชก. ตำบลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาด้วย โดยต้องพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นแม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านหรือไม่มีคำร้องขอให้วินิจฉัย ก็ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลง หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดตามมาตรา 37(1) ถึง (4) หรือไม่ เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยแล้วผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัดได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีของโจทก์เมื่อ คชก. ตำบลยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่านาตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่านาต้องรอการพิจารณาของ คชก. ก่อน จึงจะสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้
เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อปี 2534 ระหว่างที่ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2527 จนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม 2538 โจทก์ทั้งสี่บอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทต่อจำเลยพร้อมกับส่งสำเนาหนังสือบอกกล่าวนั้นต่อประธานคชก. ตำบล จำเลยไม่คัดค้านการบอกกล่าวเลิกการเช่าต่อคชก. ตำบล และคชก. ตำบล มิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 13 (3) บัญญัติให้คชก. ตำบลมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คชก. จังหวัด มอบหมายด้วย และหาได้มีอำนาจแต่เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 (2) ไม่ และตามมาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้คชก. ตำบล ต้องพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้นว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลงหรือไม่หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดภายใต้กรอบอำนาจที่กำหนดไว้ในตามมาตรา 37 (1) ถึง (4) หรือไม่ แม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านการบอกเลิกการเช่านาหรือไม่มีคำร้องขอให้คชก. วินิจฉัยก็ตาม เมื่อคชก. ตำบลวินิจฉัยแล้ว ผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านาที่เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ต่อคชก. จังหวัด ได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของคชก. จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ในกรณีของโจทก์เมื่อคชก. ตำบล ยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่านาตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนการกระทำผิดเจ้าพนักงานและโทษจำกัด
จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 161 อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 6 ปี 8 เดือน ส่วนมาตรา 162อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 4 ปี 8 เดือน อายุความฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 95(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติด้วยพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดิน: การส่งมอบพื้นที่เป็นสำคัญ
ที่ดินพิพาทอยู่ในโซนซีของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ยังมิได้ส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที ยังคงป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม ที่พิพาทจึงยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ