คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาล และสงสัยว่าหลบหนี
ในวันนัดพิจารณาครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มิถุนายน 2542ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาศาล เมื่อเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 กรกฎาคม2542 ซึ่งเสมียนทนายได้ทราบวันนัดแล้ว การที่เสมียนทนายทราบวันนัดต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดนั้นด้วย เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล เพียงแต่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร สงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 สิงหาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 182 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากทำโดยสมัครใจและก่อนมีข้อห้าม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14ที่ห้ามมิให้ยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่ในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกให้แก่กัน ส่วนประกาศสำนักงานป่าไม้เขตที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอนแต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็มิใช่กฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำหน่ายฝิ่นต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง หากคำฟ้องไม่ระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลต้องลงโทษตามวรรคสองของมาตรา 69
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสาม มีระวางโทษหนักกว่า มาตรา 69 วรรคสอง หากวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่เกิน 100 กรัม การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ห่อ น้ำหนัก 2.80 กรัม ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้บรรยายว่าจำเลยมีฝิ่นดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด ศาลจึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสามได้ เพราะจะเป็นการลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันวางเงิน ไม่ใช่วันศาลตัดสิน
โจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และโจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 11 สิงหาคม 2538 ตามที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับ ฝ่ายจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางไว้ตามมาตรา 31 โดยพลัน ตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งก็คือวันถัดจากวันครบกำหนดนัด คือ วันที่ 12 สิงหาคม 2538 อันถือได้ว่าเป็นวันวางเงิน ค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย การคิดดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องทำให้ไม่อาจยื่นคำขอขยายได้ทัน ไม่ใช่จากความบกพร่องภายใน
การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจ ทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่ต้องยื่นขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด โจทก์เพิกเฉยมิได้ยื่นคำขอขยายระยะเวลา เสียก่อนสิ้นระยะเวลาโดยอ้างว่าเข้าใจผิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจดูคำสั่งศาลชั้นต้นของเสมียนทนายโจทก์ เหตุดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องความบกพร่องภายในของโจทก์เอง ยังไม่อาจถือได้ว่า เป็นเหตุสุดวิสัยตามความหมายของมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605-606/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เริ่มจากสิทธิสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ และการย้ายแนวทางภารจำยอม
บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิเมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม
ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์นั้น มีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2535 ข้อ 2 และข้อ 3กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ประกาศดังกล่าวออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(4)และมาตรา 4 ให้อำนาจไว้ดังนี้ การที่จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์คิดจากจำเลยจึงหาได้เปลี่ยนแปลงโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ประการใดไม่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มิให้เกินอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดจึงเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย แม้ศาลเห็นว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีตามที่คู่ความตกลงกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงินตามฟ้อง สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกัน เพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการใช้ข้อตกลงเดิมเป็นเหตุผลสนับสนุนสิทธิ
ที่ดินของโจทก์และจำเลยแบ่งแยกออกจากที่ดินแปลงเดียวกันแต่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โดยไม่ต้องคำนึงว่า ข้อตกลงที่จะเปิดทางเพื่อใช้เป็นทางออก สู่ทางสาธารณะที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ด้วยวาจาจะใช้บังคับได้หรือไม่
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ได้ขอเปิดทางจำเป็นกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เปิดทางจำเป็นกว้าง 3 เมตร จึงเป็นการตัดสินตามข้อหาในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 มิได้วินิจฉัยนอกประเด็น
of 45