คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทการรุกล้ำที่ดิน โดยการแบ่งแยกที่ดินชดใช้
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ. โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือนนับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกตั้งและการแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ: การย้ายทะเบียนบ้านและผลกระทบต่อสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
คำว่า "วันเลือกตั้ง" ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 บัญญัติในมาตรา 4 ให้หมายความถึงวันที่กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาแล้วแต่กรณี ซึ่งหมายถึงวันที่ให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปไม่ใช่วันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ ผู้ร้องย้ายทะเบียนบ้านจากจังหวัดสกลนครมาอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ยังไม่ครบ 90 วัน ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ยังคงเป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนครอยู่ นอกจากนั้นตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 ข้อ 9 กำหนดว่าให้ใช้บัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งที่เป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนคร การที่ผู้ร้องจะไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์โดยไม่ไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดสกลนคร ซึ่งผู้ร้องมีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคสอง
การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งกรณีของผู้ร้องคือนายอำเภอเมืองสกลนครและต้องแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แม้ผู้ร้องอ้างว่าได้มีหนังสือแจ้งเหตุไปแล้ว แต่จ่าหน้าซองผิดโดยระบุชื่อผู้รับเป็น "ก.ก.ต.สกลนคร" แทนที่จะระบุว่าเป็นนายอำเภอเมืองสกลนครตามที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้หนังสือแจ้งเหตุส่งไม่ถึงนายอำเภอเมืองสกลนครก็ดี และเมื่อล่วงพ้นเวลาแจ้งเหตุแล้ว ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเหตุต่อนายอำเภอเมืองสกลนคร อันเป็นการแสดงว่าผู้ร้องมิได้มีเจตนาหรือจงใจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็ดี ไม่เป็นเหตุที่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21, 22 ผู้ร้องจึงต้องเสียสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 23 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8265/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุตามกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดสามสิบวันหลังจากวันเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 21 เพื่อให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าวแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศ และมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 ฯลฯ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารอบสอง ทั้งมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันดังกล่าวผู้ร้องป่วยจริง ก็เป็นเพียงเหตุที่ผู้ร้องอาจแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยอาจแจ้งก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้แจ้งเหตุเช่นนี้ จึงไม่อาจอ้างเหตุที่ผู้ร้องป่วยมาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8210/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมัครรับเลือกตั้งต้องมีหนังสือรับรองจากพรรคการเมืองตลอดระยะเวลาการตรวจสอบคุณสมบัติ
ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4) และการสมัครต้องสมัครในนามของพรรคการเมือง การยื่นใบสมัครต้องมีหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 เมื่อยื่นใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร ตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครพร้อมหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคถิ่นไทยโดยถูกต้อง แต่การที่หัวหน้าพรรคถิ่นไทยมีหนังสือยืนยันไม่รับรองว่าพรรคถิ่นไทยส่งผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดตรัง ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้ร้องเข้าสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามพรรคถิ่นไทยได้ ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การกำหนดค่าเสียหายจากพฤติการณ์
โจทก์ได้ส่งหนังสือตกลงซื้อตามที่จำเลยมีหนังสือยืนยันราคาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 มาลงนามทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคาให้แก่ อ. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบริษัท จำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งหนังสือตามภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้รับไว้โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องไปทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขทั่วไปในการเข้าเสนอราคา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวในฐานะผู้ค้ำประกันการยื่นซองประกาศราคาของจำเลยที่ 1 ในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันโดยมิได้ ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในการประกวดราคาแต่เห็นว่าหลักประกันซึ่งเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีสิทธิรับเพียงพอกับค่าเสียหายของโจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในจำนวนเงินดังกล่าว เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการประกวดราคาใหม่โดยเร็วกลับปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาเกือบ 2 ปี จึงประกาศประกวดราคาใหม่ จนทำให้ราคาเหรียญตัวเปล่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ได้ โดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7803/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7692/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำซ้ำหลังศาลรอการลงโทษ ไม่สำนึกผิด จึงไม่สมควรได้รับการรอการลงโทษ
การที่จำเลยจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น ย่อมมีผลทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันที่จำเลยจำหน่ายได้รับความเสียหาย ทั้งคดีก่อนจำเลยเคยกระทำความผิดฐานเดียวกันกับคดีนี้มาก่อนแล้ว และศาลได้ให้โอกาสจำเลยกับตนเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษให้ แต่จำเลยกับมากระทำผิดคดีนี้อีกระหว่างที่ศาลรอการลงโทษให้ แสดงว่าจำเลยไม่สำนึกในความผิดพฤติการณ์ จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7589/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเรียกเก็บเช็คพิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย
พนักงานของจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงโจทก์ มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทต้องใช้เวลาเรียกเก็บประมาณ 1 เดือน ถึง 3 เดือน ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่เอกสารของพนักงานของจำเลยมีถึงโจทก์และมิได้ปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่ประการใด แสดงว่า การเรียกเก็บเงินในลักษณะเดียวกันกับเช็คพิพาทตามปกติจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จว่าเรียกเก็บเงินได้หรือไม่ได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือไม่เกินวันที่ 20 สิงหาคม 2537 และจำเลยต้องแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยไม่แจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในระยะเวลาอันสมควรโดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยจากวันที่ 20 สิงหาคม 2537 ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน ถือได้ว่าจำเลยในฐานะผู้มีวิชาชีพเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทแทนโจทก์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และการขยายระยะเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วัน เพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
of 45