พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้จริง แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย การกระทำไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ปัญหานี้ แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนเงินในเช็คเกินหนี้ ศาลยกฟ้อง พ.ร.บ.เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหาย แม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจปลอม ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากด้วย
จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพื่อขายฝากที่ดินพร้อมบ้านของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61แต่โจทก์ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและได้ลาภงอกอันเนื่องจากนิติกรรมที่ได้ทำการจดทะเบียนตามที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโดยไม่ชอบเข้ามาเป็นจำเลยด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระหว่างโจทก์กับผู้รับซื้อฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม และการกำหนดค่าทดแทนที่เหมาะสม
การเรียกร้องเอาทางจำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นกรณีที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนที่ดินกันจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ หมายความว่า ที่ดินแปลงเดิมก่อนแบ่งแยกมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะและการแบ่งแยกเป็นเหตุให้แปลงที่แบ่งแยกแปลงใดแปลงหนึ่งออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เมื่อที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสถานการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น และที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ 200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและ ห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนดังกล่าวไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เมื่อคำนึงกับความเจริญและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ประกอบกับความเสียหายที่จำเลยได้รับแล้ว สมควรกำหนดค่าทดแทนความเสียหายให้จำเลยเท่ากับร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
เมื่อที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสถานการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น และที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ 200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและ ห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนดังกล่าวไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เมื่อคำนึงกับความเจริญและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ประกอบกับความเสียหายที่จำเลยได้รับแล้ว สมควรกำหนดค่าทดแทนความเสียหายให้จำเลยเท่ากับร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น vs. ทางภารจำยอม การกำหนดค่าทดแทนความเสียหาย และขนาดของทางผ่าน
การเรียกร้องเอาทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นกรณีที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนที่ดินกันจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ หมายความว่า ที่ดินแปลงเดิมก่อนแบ่งแยกมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะและการแบ่งแยกเป็นเหตุให้แปลงที่แบ่งแยกแปลงใดแปลงหนึ่งออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: ความสำคัญของการรับรู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้เกิดจากความผิดพลาดของโจทก์
การจงใจขาดนัดต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึง วันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
โจทก์จดเวลานัดผิดและได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัดและไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาด ของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: การสำคัญผิดเวลานัดไม่ใช่การจงใจ
การจงใจขาดนัดจะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึงวันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิด และได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัด และไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง: ผลกระทบต่อโจทก์และจำเลย, การรับอุทธรณ์เฉพาะประเด็นกฎหมาย
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งที่จะต้องเข้าลักษณะทั่วไปตามป.วิ.พ.มาตรา 55 คือ ตามฟ้องนั้นมีสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งโต้แย้งกันอยู่พร้อมบริบูรณ์แล้วจึงจะฟ้องร้องกันได้
ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ แต่เป็นบทบัญญัติให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะเห็นสมควร แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้โจทก์กลายเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การฟ้องคดีของโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)ก็เป็นผลเฉพาะโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย จำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงต้องยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นการชอบด้วยวิธีพิจารณาความตามกฎหมายแล้ว
ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ แต่เป็นบทบัญญัติให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะเห็นสมควร แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้โจทก์กลายเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การฟ้องคดีของโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)ก็เป็นผลเฉพาะโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย จำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงต้องยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นการชอบด้วยวิธีพิจารณาความตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งต้องยึดระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่รู้เหตุละเมิด แม้คดีหลักจะทำให้ระยะเวลาสะดุดหยุด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การแต่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การหรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ การฟ้องคดีของโจทก์ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นผลเฉพาะโจทก์ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลยฟ้องแย้งพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง จึงยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีปัญหาชั้นอุทธรณ์เพียงว่าฟ้องแย้งขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง จึงยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีปัญหาชั้นอุทธรณ์เพียงว่าฟ้องแย้งขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น