คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีโอนสิทธิรับเงินค่าจ้างก่อสร้าง แม้โอนสิทธิไปแล้วผู้รับเหมาก็ยังต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างอาคารกับหน่วยราชการ ต่อมาโจทก์โอนสิทธิและมอบอำนาจในการรับเงินแต่ละงวดทั้งหมดให้แก่บริษัท ว. และโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ให้บริษัท ว. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีและเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังเป็นคู่สัญญากับทางราชการ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82 (1) โดยมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (2) และอาจนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีขายที่โจทก์เรียกเก็บจากทางราชการในกรณีที่โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากทางราชการได้ ตามมาตรา 82/3 และ 82/4 การที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการเสียภาษีไปตามความรับผิดในการที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นความรับผิดตามกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับได้ และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์และของบริษัท ว. หาได้เป็นการซ้ำซ้อนกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบกำกับภาษีซื้อที่อยู่ไม่ตรงจดทะเบียน & คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผล
ใบกำกับภาษีซื้อซึ่งมีข้อความครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/4 ระบุที่อยู่ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าตามที่อยู่ซึ่งเป็นสถานประกอบการจริง แม้ไม่ตรงกับที่ที่โจทก์จดทะเบียนนิติบุคคลและที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญอันจะต้องห้ามไม่ให้นำมาหักจากภาษีขายตามมาตรา 82/5 (2)
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อทำเป็นหนังสือต้องทำให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือต้องให้เหตุผลไว้ด้วยทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิงและเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้การแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 34 มิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน คือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้ให้เหตุผลไว้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องภาษีอากรต้องมีเหตุผลตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา 86/4 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี... แต่ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณภาษีขายโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ออก แต่ผู้ขายสินค้าให้แก่โจทก์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีดังกล่าว กรณีของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 86/4 (2) แต่เป็นกรณีตามมาตรา 86/4 (3) คือ รายการชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าซึ่งตามบทบัญญัติข้างต้นระบุแต่เพียงว่าใบกำกับภาษีต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น เมื่อโจทก์มีที่อยู่จริงตรงตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณหักภาษีขาย แม้จะไม่ตรงกับที่อยู่ตามที่จดทะเบียนตั้งบริษัทและที่อยู่ตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งแรกก่อนที่โจทก์จะขอจดทะเบียนแก้ไข ใบกำกับภาษีดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 86/4 ไม่ถือว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 (2) โจทก์จึงสามารถนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีขายในเดือนนั้นได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีในการขยายเวลาฟ้องคดี และการหักค่าใช้จ่ายทางภาษีตามหลักเกณฑ์สิทธิ
ระยะเวลา 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าคำร้องของโจทก์ที่ขอขยายระยะเวลามีพฤติการณ์พิเศษ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจที่จะอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องจำเลยออกไปได้
โจทก์สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1220 เมื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนแล้ว โจทก์ยังอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเพิ่มทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1228 ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนเป็นวันที่โจทก์เพิ่มทุนและรับชำระเต็มมูลค่าหุ้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยมิได้หักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินไม่ชอบ ไม่นำค่าใช้จ่ายมารวมเป็นต้นทุนขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ส่งหลักฐานรายจ่ายในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่างมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารนั้น จึงเชื่อได้ว่าเอกสารดังกล่าวแสดงรายจ่ายอันแท้จริงของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่นำค่าใช้จ่ายตามรายการดังกล่าวไปหักให้ย่อมเป็นการไม่ชอบ การประเมินภาษีเงินได้และคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบสินค้าเป็นน้ำเยื่อกระดาษ มีมิเตอร์วัดปริมาณชัดเจน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ ไม่ใช่เมื่อรับชำระเงิน
โจทก์ขายเยื่อกระดาษ มีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ขายให้ลูกค้าเพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเนื้อเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78 (1) แห่ง ป.รัษฎากร กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการขายกระแสไฟฟ้า ตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 ไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบเยื่อกระดาษทางท่อมิใช่การขายกระแสไฟฟ้า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ
การขายเยื่อกระดาษของโจทก์แม้จะมีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านทางท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ขายให้แก่บริษัท ป. เพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (1) กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกับการขายกระแสไฟฟ้าตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 ฯ ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 เพราะกรณีดังกล่าวต้องเป็นการขายสินค้าที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันเมื่อใด
แม้คำฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการประเมินคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อหุ้น/ที่ดิน เป็นรายจ่ายลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) พ.ร.ร. ไม่นำมาตรฐานบัญชีมาใช้
การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ถือเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินนั้น จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้หุ้นและที่ดินมาโดยตรง ดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อโจทก์ทำการกู้ยืมเงินมาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายอันเป็นผลโดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อหุ้นและที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่เป็นต้นทุนของโจทก์ ดังนั้น ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อหุ้นและที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ซึ่งการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลย่อมเป็นไปตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติไว้ โจทก์จะนำมาตรฐานการบัญชีซึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติสำหรับนักบัญชีในการจัดทำบัญชีมาใช้ให้ขัดกับ ป.รัษฎากร ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังไม่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ภาษีที่โจทก์เรียกคืนจากจำเลยที่ 1 เกิดจากการที่โจทก์ตรวจสอบการขอคืนภาษีของจำเลยที่ 1 พบว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายได้จากการขายสินค้าต่ำไป โดยแสดงราคาขายและราคาซื้อไม่เป็นไปตามรายการซื้อขายจริงจึงปรับปรุงเพิ่มต้นทุนและนำมูลค่าสินค้าในแต่ละเดือนภาษีมาคำนวณภาษีขายให้ถูกต้องแล้วหักด้วยภาษีซื้อ พบว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระเพิ่มอีกในบางเดือน และบางเดือนมีสิทธิขอคืนได้บางส่วนเท่านั้น เงินภาษีที่จำเลยที่ 1 ขอคืนไปจึงไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ซึ่งเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยที่ 1 เกิดจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงที่รับกันฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัย ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องแม้ต่อมาภายหลังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินชอบและเป็นธรรมแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบมาตั้งแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: โจทก์มิใช่ตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ
โจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์สั่งสินค้าจากบริษัท อ. จำกัด ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ การสั่งซื้อสินค้าและจำหน่ายสินค้าของโจทก์แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ขนาดเล็ก โจทก์จะสั่งสินค้าเข้ามาในนามโจทก์ เมื่อมีลูกค้ามาซื้อโจทก์จะขายและส่งมอบสินค้าไป ประเภทที่สอง เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่ โจทก์จะไม่สั่งซื้อสินค้ามาเก็บ เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายในนามโจทก์ ออกเอกสารว่าโจทก์เป็นผู้ขาย ลูกค้าเป็นผู้ซื้อระบุรายละเอียดให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ส่งเงินราคาสินค้าไปให้แก่บริษัท อ. จำกัด ที่อยู่ในต่างประเทศโดยตรง สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การรับประกันของโจทก์ต่อลูกค้าระบุว่าโจทก์มีความรับผิดในฐานะผู้ขายสินค้า หลังจากนั้นผู้ขายจะส่งสินค้าให้แก่ ผู้ซื้อโดยตรง ในการทำสัญญาซื้อขายโจทก์จะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าที่ขายเองมีอิสระที่จะขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อทางใดก็ได้ หากสินค้าบกพร่องโจทก์มีหน้าที่รับผิดต่อลูกค้าโดยตรง เงินทุนที่ใช้ประกอบกิจการเป็นของโจทก์ หากมีกำไรหรือขาดทุนโจทก์รับภาระการขาดทุนหรือผลกำไรแต่ผู้เดียว ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจึงอยู่ในรูปกำไรมิใช่บำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนบริษัท อ. จำกัด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีขายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้
โจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถประกอบรวมเป็นแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตได้ในแต่ละส่วน จึงเป็นการขายสินค้าซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นสินค้าครบชุดบริบูรณ์ที่แยกจากกันหรือมิได้ประกอบเข้าด้วยกัน และสามารถจัดเข้าในประเภทที่ว่าด้วยของครบชุดบริบูรณ์เป็นเครื่องปรับอากาศได้ โจทก์จึงเป็นผู้ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศ
โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศให้แก่ ศ. และ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายและอยู่ในเครือข่ายเดียวกับโจทก์ภายในเดือนเดียวกันและสินค้าดังกล่าวสามารถนำมาจัดเป็นเครื่องปรับอากาศครบชุดได้ แสดงให้เห็นว่าการแยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์ดังกล่าวในที่สุดแล้วโจทก์มีความประสงค์หรือความมุ่งหมายจะให้เป็นแฟนคอยล์ยูนิตหรือคอนเดนซิ่งยูนิตประกอบรวมเป็นสินค้าเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ โจทก์จึงเป็นผู้ที่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า สถานประกอบการของโจทก์ย่อมเป็นสถานที่ผลิตสินค้าและเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อมีการขายและนำสินค้าออกไปจากโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
of 45