คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) ได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบการค้าผู้เสียภาษี จึงแสดงชัดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมินได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้การประเมินภาษีและการแจ้งการประเมินภาษีจะเป็นการกระทำคนละขั้นตอนกัน แต่การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้จะต้องเสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงถือเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการประเมินและต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ มิใช่เพียงเมื่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรแล้วจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไปได้ไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินจึงย่อมเท่ากับไม่มีการประเมิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ทำการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่ม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่ก็มิได้มีการแจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งแก่จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 อันเป็นเวลาพ้น 10 ปี ที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) ต้องพิสูจน์ราคาต่ำกว่าตลาด และการตรวจสอบราคาขายต้องถูกต้อง
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจ ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ประเมินค่าตอบแทนใหม่ในการขายสินค้าจะต้องได้ความก่อนว่าค่าตอบแทนในการโอนทรัพย์สินนั้นต่ำกว่าราคาในท้องตลาดโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเลยว่าเป็นการขายราคาต่ำโดยไม่มีเหตุอันควร แต่นำสืบเพียงว่าโจทก์ขายสินค้าในราคาไม่แน่นอน บางครั้งราคาสูง บางครั้งราคาต่ำเท่านั้น การที่โจทก์ขายสินค้าประเภทเดียวกัน ราคาต่างกันไม่ได้หมายความว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จำเลยจึงไม่สามารถใช้อำนาจประเมินค่าตอบแทนใหม่ได้
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าหลายชนิดโดยเปิดเป็นร้านค้าขายให้แก่บุคคลทั่วไปเป็นร้านค้าปลีกเข้าลักษณะร้านค้าปลีกตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) โจทก์จึงสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86/6 วรรคสอง และใบกำกับภาษีอย่างย่อนี้โจทก์ไม่ต้องแสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายไว้ในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 79 วรรคสาม (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: หนี้ไม่แน่นอนเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน
จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) แล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานได้ หนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามการแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้รับคืนไปในคดีนี้จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มเป็นมูลหนี้ต่างราย ศาลยืนตามเดิม แต่แก้ไขค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี บัญญัติว่า เงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินอากร หมายถึงให้ถือเป็นเงินประเภทเดียวกันเท่านั้น หาได้หมายความถึงเป็นมูลหนี้รายเดียวกันไม่ หนี้ค่าอากรขาเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง ในขณะนั้นหนี้เงินเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น หนี้เงินเพิ่มเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ชำระค่าอากรภายในกำหนดตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง หนี้ค่าอากรกับหนี้เงินเพิ่มจึงเป็นมูลหนี้หลายราย หนี้ค่าอากรเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ย่อมได้รับปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ 15,668.98 บาท ศาลภาษีอากรกลางกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ 2,000 บาท เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับใบอนุญาตส่งออกข้าว: คุณสมบัติกรรมการบริษัท, ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ, อำนาจปกครอง
กรรมการของโจทก์เคยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งได้กระทำการเป็นผลเสียหายแก่การค้าระหว่างประเทศ โจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจออกใบอนุญาตส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกใบอนุญาตให้โจทก์ส่งข้าวออกไปนอกราชอาณาจักร จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ที่มีคำสั่งระงับการออกใบอนุญาตให้ส่งสินค้า (ข้าว) ออกไปนอกราชอาณาจักรแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์มีกรรมการของตนเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลเสียหายแก่การค้าระหว่างประเทศ โจทก์จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้ส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักร ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศเข้าข่ายเป็น 'การผลิต' และต้องเสียภาษีสรรพสามิต
การจะวินิจฉัยถึงความหมายของเครื่องปรับอากาศนั้น ต้องวินิจฉัยตามคำนิยามในกฎหมาย เมื่อไม่มีบัญญัติในกฎหมายจึงจะถือเอาความหมายตามพจนานุกรม
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้กำหนดสินค้าเครื่องปรับอากาศไว้ในตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า ประเภทที่ 03.01 ว่า เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตได้ตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศไว้ โดยกำหนดให้แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท 03.01 แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบด้วยโครงแฟนคอยล์ มอเตอร์โบลว์ โครงคอนเดนซิ่ง และคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างติดตั้ง และรับประกอบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทุกชนิด การที่โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศครบชุดซึ่งสามารถประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศที่ครบชุดบริบูรณ์ได้ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แสดงถึงความมุ่งหมายของโจทก์ที่จะขายเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็มีเครื่องปรับอากาศที่ประกอบครบชุดบริบูรณ์แล้วอยู่ในสถานประกอบการของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อันเป็นการผลิตสินค้าและสถานประกอบการของโจทก์ก็เป็นสถานที่ผลิตสินค้า ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อโจทก์จำหน่ายเครื่องปรับอากาศหรือนำสินค้าเครื่องปรับอากาศออกจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมมีความรับผิดต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 7 , 10 (1) (ก) และ 10 (1) วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 , 4 และ 5 ตามลำดับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศไปโดยเสียภาษีสรรพสามิตยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้องได้ การประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้คัดค้านการประเมินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ขอทุเลาการชำระภาษี การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 97 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระภาษีสรรพสามิตที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าขาดบัญชี: ศาลยืนตามการประเมินตามหลักฐาน มิใช่ตามนิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีทั้งรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าคงเหลือที่ขาดหาย การตรวจสอบพยานหลักฐานตามมาตรา 20 พ.ร.รษฎากรชอบแล้ว
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องคดีภาษีอากร การรับเงินค่าขึ้นศาลคืนถือเป็นการสละสิทธิ
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โดยแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องให้แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลภาษีอากรกลางในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 โดยบรรยายความว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์และสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โจทก์จึงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืน เป็นที่แจ้งชัดว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ไม่รับคำฟ้องตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้รับเงินค่าขึ้นศาลคืนจากศาลในวันเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้น หากโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 คือภายในวันที่ 19 ธันวาคม 2544 โดยต้องนำค่าขึ้นศาลที่รับคืนไปแล้วกลับมาชำระให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 29
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 19 ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อกรณีไม่มีความจำเป็นจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งนั้น แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 45