คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย ชื่นชมพูนุท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องคีบตุ๊กตาเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมีลักษณะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ทำให้เกิดผลแพ้ชนะได้
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 122) พ.ศ. 2540 กำหนดสินค้าต้องห้ามคือ เครื่องเล่นเกม ซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใด ทั้งที่เป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์ หรือมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นเครื่องครบชุดสมบูรณ์หรือแต่บางส่วน ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทย่อย 9504.30 , 9504.901 และ 9504.909 ของประเภท 95.04 ซึ่งโดยสภาพจะใช้เล่นอันจะทำให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าด้วยการนับแต้ม หรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม เครื่องคีบตุ๊กตาของโจทก์เป็นสินค้าในพิกัดที่ 95.04 เมื่อมีลักษณะการทำงานให้ผู้เล่นหยอดเหรียญ แล้วกดปุ่มให้เครื่องคนตุ๊กตา จากนั้นผู้เล่นจะยกตัวคีบตุ๊กตาไปคีบตุ๊กตา หากคีบได้จะได้ตุ๊กตา หากคีบไม่ได้จะเสียเงิน 10 บาทให้เจ้าของตู้ เครื่องเล่นของโจทก์จึงเพื่อประสงค์จะเล่นให้ได้ตุ๊กตาในตู้เท่านั้น การเล่นเพิ่มให้ได้ตุ๊กตาจึงเป็นการเล่นเพียงให้เกิดผลแพ้ชนะได้ ถือได้ว่าเจ้าของเครื่องเป็นผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องคีบตุ๊กตาจึงเป็นของต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล โดยพิจารณาถึงความสุจริตของผู้รับจำนอง
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8915/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การขายทรัพย์สินระหว่างก่อสร้างและการมีไว้เพื่อประกอบกิจการ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่องการกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2(4) กำหนดเพียงว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาได้ขายไปภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มิได้กำหนดว่าอาคารที่ขายต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์หรือต้องขายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ดังนั้น แม้อาคารที่โจทก์จะขายยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์และขายให้แก่บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวก็ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
วัตถุที่โจทก์นำมาก่อสร้างอาคารเป็นวัตถุมีรูปร่างย่อมเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 แล้ว มิใช่ว่าหากนำมาก่อสร้างอาคารจะเป็นทรัพย์เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ อาคารดังกล่าวติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ และการที่โจทก์ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เป็นการประกอบกิจการของโจทก์ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการ แม้โจทก์จะยังมิได้ใช้อาคารดังกล่าวก็ตาม
คำฟ้องของโจทก์จะมีกี่ข้อมิใช่อยู่ที่โจทก์ขายทรัพย์สินกี่ครั้งหากแต่อยู่ที่สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องซึ่งตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องจึงมี 18 ข้อหา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยภาษีซื้อกรณีดอกเบี้ยจากกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องนำมารวมคำนวณรายได้เพื่อเฉลี่ยภาษีซื้อ
โจทก์เป็นบริษัทผู้ประกอบการค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีทั้งประเภทเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยที่บริษัทโจทก์ได้รับจากการให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้เป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะการกู้ยืมเงินเช่นว่านั้นถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) และเป็นกิจการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/3 แต่อย่างใด ส่วนที่มีคำสั่งกรมสรรพากร ฉบับที่ ป. 26/2534 เรื่องดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/5 (5) แห่ง ป. รัษฎากร ข้อ 2 ยกเว้นดอกเบี้ยดังกล่าว ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงยังคงเป็นรายรับจากกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเท่านั้น เมื่อดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายรับของกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ย่อมถือเป็นรายได้ตามความหมายคำว่า รายได้ ตามข้อ 4 (2) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เมื่อดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้แต่ละกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว ข้อ 2 การที่โจทก์ไม่นำรายได้ส่วนที่ไปเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ค่าอากรเป็นหนี้เก่ากว่าเงินเพิ่ม
จำเลยสั่งซื้อและนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตและส่งออกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้าโดยแสดงความจำนงจะขอคนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ โดยวิธีค้ำประกันรวม44 ครั้ง จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกัน เมื่อครบกำหนด1 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยนำสินค้ามาผลิตและส่งออกไปเพียงบางส่วนเป็นการผิดเงื่อนไขเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ได้ประเมินค่าอากรขาเข้าของสินค้าคงเหลือกับเงินเพิ่มและแจ้งให้ผู้ค้ำประกันนำเงินมาชำระผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันแล้วซึ่งเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับมีจำนวนสูงกว่าค่าอากรขาเข้าที่จำเลยต้องชำระแต่น้อยกว่าค่าอากรและเงินเพิ่มรวมกัน ในการชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันดังกล่าวต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 328 วรรคสอง แม้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากรแต่หนี้ค่าอากรก็เป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่มจึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม ดังนี้ หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ยได้ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 มาบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร: หนี้เก่ากว่าต้องชำระก่อน
การชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน ต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่ม เป็นเงินอากร แต่หนี้ค่าอากรเป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่ม จึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้อง ไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7645/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด ผู้มิอาจฟ้องให้คำวินิจฉัยเป็นโมฆะได้ แม้อ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสามได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ล้วนแต่มีความหมายแสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่าเป็นกรณีการใช้ดุลยพินิจในการทำคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามตามอำนาจหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพียงแต่คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามไม่เป็นไปตามทิศทางที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายหรือจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันจะถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 , 421
การฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ จะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มิได้บัญญัติให้อำนาจบุคคลใดฟ้องเช่นนั้นได้ โจทก์จะอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 4 อันเป็นบททั่วไปมาเป็นมูลฐานฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามเป็นโมฆะหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7645/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรัฐธรรมนูญและการละเมิด: คำวินิจฉัยที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์โจทก์มิใช่ละเมิด
จำเลยใช้ดุลพินิจในการทำคำวินิจฉัยในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพียงแต่คำวินิจฉัยของจำเลยไม่เป็นไปตามที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ อันจะถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
จำเลยในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรีศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และ 268 การทำคำวินิจฉัยของจำเลยเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267การฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะจะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เมื่อมิได้บัญญัติให้อำนาจบุคคลใดฟ้องเช่นนั้นได้ โจทก์จะอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 4 อันเป็นบททั่วไปมาเป็นมูลฐานฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของจำเลยเป็นโมฆะหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานหลังกำหนดเวลาคดีภาษีอากร ศาลยกคำร้องชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันนัดทนายความโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นเลื่อนการชี้สองสถานไปวันที่ 7 ธันวาคม 2542 เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วกำหนดให้นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 โจทก์ก็เพิ่งยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 อันเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงสองเดือนเศษ โดยคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์เข้าใจว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วโดยความจริงยังไม่ปรากฏว่ามีการยื่นบัญชีระบุพยานดังที่โจทก์อ้างความเข้าใจผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 กำหนดไว้ได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 45