พบผลลัพธ์ทั้งหมด 447 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากตลาดกลางสินค้าเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คดีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 238
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นรายได้ของธนาคารที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นดำเนินกิจการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง จึงถือว่าเป็นกิจการอย่างอื่นที่ธนาคารโจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธนาคารได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์รายได้จากกิจการดังกล่าวจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: ผลของประกาศกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต, ระยะเวลาการยกเว้นภาษี
โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าน้ำผลไม้ขายให้แก่บริษัท ส. และ บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้
กิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง สินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่สินค้าของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต เนื่องจากมีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 กำหนดไว้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวระบุให้ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิตแก่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์)และน้ำผักที่ไม่ได้หมักและไม่เติมสุราไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน ต่อมามีประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษีและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำผลไม้ที่โจทก์นำออกจากโรง
อุตสาหกรรมก่อนวันที่โจทก์ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: การขายส่งและการได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
โจทก์ขายสินค้าน้ำมะพร้าวให้แก่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีก การขายสินค้าน้ำผลไม้ของโจทก์จึงเป็นการขายส่ง ดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
สินค้าของโจทก์เป็นเครื่องดื่มตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีส่วนผสมตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อน การที่ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2538 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุว่า การอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้ถือว่ามีผลตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ยื่นหนังสือขออนุมัติยกเว้นภาษี และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 3 เป็นต้นไป เป็นการประกาศโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มมีผลตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่โจทก์นำออกจากโรงอุตสาหกรรมก่อนวันดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4987/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากรายได้จากการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮ่องกงและมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยทำสัญญากับบริษัท ย. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศจำนวนมาก โดยมีข้อตกลงให้โจทก์นำภาพยนตร์ของบริษัท ย. จำกัด มาฉายในประเทศไทย เมื่อโจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในประเทศไทยแล้ว โจทก์ต้องจ้างบุคคลภายนอกทำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์เพื่อนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ได้หลายแห่งในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ส่งไปฉายยังโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ จึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นำฟิล์มภาพยนตร์นั้นไปให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครฉายให้คนดู โดยเจ้าของโรงภาพยนตร์มีรายรับจากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์และตกลงแบ่งรายรับกันระหว่างโจทก์กับเจ้าของโรงภาพยนตร์ ถือเป็นการให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในฟิล์มภาพยนตร์ในชั่วระยะเวลาอันจำกัด และเจ้าของโรงภาพยนตร์แบ่งรายรับให้โจทก์จึงเป็นการให้เช่าทรัพย์สิน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สิน มีหน้าที่เสียภาษีการค้า (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 1817-1818/2516)
การที่บริษัท ย. จำกัด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์นำภาพยนตร์ที่รับมาจากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. จำกัด ได้รับจากโจทก์ในประเทศไทยจึงเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น บริษัท ย. จำกัด จึงต้องเสียภาษีโดยให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
การที่บริษัท ย. จำกัด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์นำภาพยนตร์ที่รับมาจากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. จำกัด ได้รับจากโจทก์ในประเทศไทยจึงเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น บริษัท ย. จำกัด จึงต้องเสียภาษีโดยให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อเจ้าหนี้: การละเว้นการชำระหนี้ภาษีหลังเลิกบริษัท
หากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้กระทำหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 , 1270 ประกอบกับ ป. รัษฎากร มาตรา 72 ย่อมจะต้องทราบถึงหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะพิสูจน์ได้ว่าแม้ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็มิอาจทราบได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีภาษีอากร: ความบกพร่องทนายจำเลยเป็นเหตุไม่อนุญาต
จำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในวันที่ 26 ธันวาคม 2544 แล้ว แต่ไม่มาศาลในวันดังกล่าว และไม่ได้ขวนขวายดำเนินการขอคัดถ่ายคำพิพากษาของศาลและคำเบิกความพยานตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เพื่อจัดทำอุทธรณ์โดยเร็ว กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 20 วัน ทนายจำเลยจึงได้ขอคัดถ่ายคำพิพากษาและคำเบิกความพยาน ซึ่งศาลได้อนุญาตในวันนั้นเอง ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2545 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 1 เดือน นับแต่วันครบระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกัน และทนายจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาและคำเบิกความพยานที่ขอคัดถ่ายในวันดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้นำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นทั้งที่ยังเหลือระยะเวลาอีก 7 วัน ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แม้คดีนี้จะมีทุนทรัพย์สูง แต่เป็นคดีไม่ซับซ้อน คำเบิกความของพยานและเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการอุทธรณ์มีไม่มาก ทนายจำเลยเป็นทนายมาตั้งแต่เริ่มการพิจารณา ย่อมทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ อยู่แล้วย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาได้ ที่ทนายจำเลยอ้างว่าหลังจากศาลอ่านคำพิพากษาแล้วไม่สามารถติดต่อกับจำเลยได้ และต้องใช้เวลารวบรวมค่าธรรมเนียมศาลนั้น ตามใบแต่งทนายความระบุไว้ชัดแจ้งว่า ทนายจำเลยมีอำนาจในการอุทธรณ์ฎีกาได้ ดังนั้น ทนายจำเลยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องพบจำเลยก่อน ส่วนเงินค่าธรรมเนียมศาลนั้น แม้จะมีจำนวนสูง แต่ทนายจำเลยมีสิทธิที่จะขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลออกไปได้โดยไม่ต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กรณีจึงเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยที่ดำเนินการล่าช้าเอง ไม่มีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: โรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมและใช้สถานที่หารายได้นอกเหนือการศึกษา ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนมิซซังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมายฯ ข้อ 2 วรรคสอง มีอยู่ 2 คนคือ วิการิโออาปอสตอลิโกที่โป๊ปได้แต่งตั้งมา และถ้าไม่มีตัวอยู่คนที่เป็นผู้แทนอีกคนหนึ่งคือผู้บัญชาการของมิซซัง โจทก์มี ค. เป็นมุขนายกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองดูแลมิซซัง จึงถือว่า ค. เป็นผู้บัญชาการของมิซซัง มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต่อไป เมื่อ ค. มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ ม. และหรือ ว. ฟ้องคดีแทนม. และหรือ ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้อง และวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมายถือได้ว่าโจทก์ฟ้องตัว ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาด เข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(3) นั้นต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งยังมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโจทก์จึงเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษาอีกด้วย โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กิจการโรงเรียนของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) แล้วโจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้อง และวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมายถือได้ว่าโจทก์ฟ้องตัว ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาด เข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(3) นั้นต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งยังมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโจทก์จึงเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษาอีกด้วย โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กิจการโรงเรียนของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) แล้วโจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงเรียนเอกชน การพิสูจน์ว่าโรงเรียนไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล และการใช้ประโยชน์เพื่อหารายได้
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนมิซซังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ข้อ 2 วรรคสองมีอยู่ 2 คน คือ อ. ที่โป๊ปได้แต่งตั้งมา และถ้าไม่มีตัวอยู่คนที่เป็นผู้แทนอีกคนหนึ่งคือผู้บัญชาการของมิซซังมิซซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพมหานครโจทก์มี ค. เป็นมุขนายกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองดูแลมิซซัง จึงถือว่า ค. เป็นผู้บัญชาการของมิซซังมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต่อไป เมื่อ ค. มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ ม. และหรือ ว. ฟ้องคดีแทน ม. และหรือ ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากรต้องมีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แม้ ปร.รัษฎากร จะไม่ได้กำหนดไว้
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ออกก่อนพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่มีเหตุผลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แล้วพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีจึงไม่ชอบ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยภายหลังที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ใช้บังคับแล้วต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างกรมสรรพากรจำเลยกับโจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับ ให้เหตุผลในแต่ละฉบับเพียงว่า ข้อ 1"การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการถูกต้องและชอบแล้ว" ข้อ 2"กรณีเบี้ยปรับผู้อุทธรณ์มีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย" บางฉบับให้เหตุผลว่าลดให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 40 ส่วนข้อ 3"เงินเพิ่มตามการประเมินเป็นเงินเพิ่มเติมมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดให้ได้" บางฉบับให้เหตุผลว่า "เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดให้ได้" เมื่อคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำเป็นหนังสือจึงต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือจะต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุผลอีกทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) จึงขัดต่อมาตรา 37ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ได้บัญญัติวิธีการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องภาษีอากรไว้โดยเฉพาะว่าให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์เท่านั้น โดยมิได้บังคับว่าต้องให้เหตุผลไว้ก็ตาม แต่เมื่อพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 มาตรา 37 วางหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือว่าต้องมีเหตุผลแล้ว หากมีบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งรวมถึงบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 ด้วย โดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 มิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล ย่อมมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่า ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยภายหลังที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ใช้บังคับแล้วต้องอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างกรมสรรพากรจำเลยกับโจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากร คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเก้าฉบับ ให้เหตุผลในแต่ละฉบับเพียงว่า ข้อ 1"การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการถูกต้องและชอบแล้ว" ข้อ 2"กรณีเบี้ยปรับผู้อุทธรณ์มีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย" บางฉบับให้เหตุผลว่าลดให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 40 ส่วนข้อ 3"เงินเพิ่มตามการประเมินเป็นเงินเพิ่มเติมมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดให้ได้" บางฉบับให้เหตุผลว่า "เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดให้ได้" เมื่อคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำเป็นหนังสือจึงต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 37 คือจะต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุผลอีกทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) จึงขัดต่อมาตรา 37ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ได้บัญญัติวิธีการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องภาษีอากรไว้โดยเฉพาะว่าให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์เท่านั้น โดยมิได้บังคับว่าต้องให้เหตุผลไว้ก็ตาม แต่เมื่อพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 มาตรา 37 วางหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือว่าต้องมีเหตุผลแล้ว หากมีบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งรวมถึงบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 ด้วย โดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เมื่อคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือต้องให้เหตุผลไว้ด้วย แต่คำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 มิได้ระบุว่าต้องให้เหตุผล ย่อมมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่า ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แทน