คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจคุ้มครองลูกจ้างตามมาตรา 49 แม้มีการสอบสวนแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุความในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้นจึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุคามในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้น จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042-1043/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การดำเนินกระบวนพิจารณา การสั่งรับฟ้อง และสิทธิในการยื่นคำให้การ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้อง หมายเรียกจำเลยแก้คดี ดังนี้ เป็นการสั่งรับฟ้องคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่งแล้ว ไม่จำต้องสั่งรับฟ้องส่วนแพ่งอีก
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้มิใช่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 8 วัน และโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วศาลก็ไม่ต้องแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้ทราบอีก ทั้งไม่จำเป็นต้องมีการนัดพร้อม นัดชี้สองสถานแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาและแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน: คำสั่งศาลชั้นอุทธรณ์ให้ดำเนินคดีแพ่งต่อย่อมถึงที่สุดในส่วนอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับฟ้องโจทก์รวมทั้งคดีส่วนแพ่งไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ คำสั่งศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในส่วนอาญา แต่มีสิทธิฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีแพ่งอาญาเกี่ยวเนื่อง การสิ้นสุดสิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นว่าคดีมีมูล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับฟ้องโจทก์รวมทั้งคดีส่วนแพ่งไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ คำสั่งศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในส่วนอาญา แต่มีสิทธิฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในความประมาท และความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา
ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่แล้วและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถของโจทก์เด็กและสิทธิของจำเลยในการยกประเด็นประมาทร่วมกัน แม้ไม่เคยอ้างในคดีอาญา
ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนรวมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่ความและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเรียกค่าเช็คไม่เชื่อมโยงคดีอาญาเจตนาออกเช็คไร้ความรับผิด ศาลต้องวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และต่อมาได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งให้รับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องนี้มิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วมาชี้ขาดตัดสินโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเรียกชำระหนี้ตามเช็ค ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และต่อมาได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งให้รับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องนี้มิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วมาชี้ขาดตัดสินโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: หนังสือสัญญายอมรับที่ดินสาธารณะมีผลผูกพัน ห้ามกลับคำให้การ
โจทก์เคยฟ้อง พ. ในฐานะนายอำเภอเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงและปลอมหนังสืออันเกี่ยวด้วยที่พิพาทแปลงนี้มาแล้ว คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พ. ไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ และหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงซึ่งโจทก์ทำขึ้นด้วยความสมัครใจโดยมิได้มีการหลอกลวงหรือหลงผิด แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ในคดีนี้โจทก์ฟ้อง น.ปลัดอำเภอโทในฐานะรักษาการแทนนายอำเภอเป็นคดีส่วนแพ่งว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินขอให้พิพากษาว่าหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนั้น จำเลยในคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่งจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันคือนายอำเภอ เมื่อโจทก์ได้ฟ้องนายอำเภอเป็นคดีแพ่งอีกในปัญหาเดียวกัน คู่ความทั้งสองคดีจึงเป็นคู่ความเดียวกัน และเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและในคดีนี้ศาลก็ต้องอาศัยหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับเป็นหลักในการพิพากษา ศาลในคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาว่า หนังสือสัญญาดังกล่าวข้างต้นชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับแก่คู่กรณีได้โดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไป
ในสัญญาทั้งสองฉบับโจทก์ยอมรับรองโดยชัดแจ้งแล้วว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ โจทก์จะกลับมาอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของอีกย่อมรับฟังไม่ได้
of 15