พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งจากทุนทรัพย์ และขอบเขตค่าสินไหมทดแทนที่ศาลบังคับได้ตามกฎหมาย
สิทธิในการอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 24,725 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. อาญา มาตรา 40 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา ฆ่าผู้อื่น พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า พยานจำเลยไม่มีเหตุผล ฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด
ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาและอยู่ในฐานะเป็นโจทก์คดีส่วนแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะบัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีนี้ศาลฟังข้อเท็จจริงคดีส่วนอาญาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายจริงตามฟ้องโจทก์ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยได้ตามมาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง แต่การพิจารณาคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 40 บัญญัติไว้ เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำร้องคดีส่วนแพ่งของผู้ร้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่งไม่ใช้สิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ผู้ร้องฟังตามกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกเอาคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้อีก เพราะไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลฎีกาพิพากษาเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา: จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โจทก์ร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบในคดีส่วนแพ่งและโจทก์ร่วมก็ไม่ได้แถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานในคดีส่วนแพ่ง แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 บัญญัติว่า "...และเมื่อพนักงานอัยการสืบพยานเสร็จ ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น..." ซึ่งกำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่พนักงานอัยการโจทก์นำสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้นำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพและไม่ใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นต้องให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของโจทก์ร่วม เมื่อศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการดังกล่าวแล้วกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมโดยวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ จึงต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนแพ่ง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ร่วมและจำเลยแล้วพิพากษาในคดีส่วนแพ่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7134/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องหมิ่นประมาทจากการข่มขู่ทางกฎหมาย และหน้าที่ศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพ ดังนี้ การบรรยายฟ้องว่า โจทก์พูดจาข่มขู่จำเลยอันมิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยมอันเนื่องมาจากการที่จำเลยใช้สิทธิในการเข้าตรวจสอบที่ดินและอาคารตามฟ้องซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โดยโจทก์ได้พูดจาข่มขู่ต่อจำเลยว่า ใครเข้าไปเดี๋ยวจะเอาเข้าคุกให้หมดเลยทั้งคนเข้าไป จะเป็นทนายหรือตำรวจ เดี๋ยวจะเอาเข้าคุกให้หมด ทั้งที่จำเลยได้ซื้อที่ดินและอาคารมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์เป็นทนายความมีความรู้ทางกฎหมายมากกว่าคนทั่วไปกลับกล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ก้าวร้าว รุนแรง และมิใช่เป็นการข่มขู่ที่จะใช้สิทธิตามปกตินิยม ทำให้จำเลยกลัวและไม่สามารถตรวจสอบที่ดินและอาคารอันเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อย่างสมัครใจเนื่องจากกลัวว่าโจทก์สามารถทำให้จำเลยเข้าคุกได้เพราะแม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจโจทก์ยังกล้าพูดข่มขู่ จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งจำเลยจำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องเพื่อให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลของคู่ความเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และยกคำขอในส่วนแพ่ง เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งเช่นกัน การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาแล้วมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้น อันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และยกคำขอในส่วนแพ่ง เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งเช่นกัน การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาแล้วมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้น อันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดแก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ หากเห็นว่าคดีไม่มีมูลความผิด
แม้คดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องพิจารณาว่าคดีโจทก์มีมูลพอที่จะประทับฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 ซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยการกระทำของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดี โดยเห็นว่าจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง คดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยทั้งหกรับผิด จึงพิพากษายกฟ้องและยกคำขอส่วนแพ่ง จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4395/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาขาดอายุความไม่กระทบอำนาจฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญายังไม่ขาดอายุความ แต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องมีคำสั่งว่าคดีมีมูล หมายเรียกจำเลยแก้คดี และได้ตัวจำเลยมาพิจารณา ปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว ในกรณีเช่นนี้ แม้คดีขาดอายุความจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ก็ตาม แต่ก็หามีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องคดีส่วนแพ่งของโจทก์ไม่ คดีส่วนแพ่งจึงยังต้องดำเนินคดีต่อไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งต่อไปนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ค่าทนายความใช้แทนไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มิให้เรียก แต่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามดุลพินิจ เมื่อคดีที่พิจารณาในศาลนั้น ๆ สิ้นสุดลง คดีนี้มีโจทก์ร่วมทั้งสองแต่งตั้งทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20550/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีทำละเมิดร่วมกัน ผู้เสียหายมีสิทธิเลือกฟ้องลูกหนี้รายใดรายหนึ่ง
แม้ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายที่ 1 เรียกจาก ว. จำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา จะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และ ว. เป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เสียหายที่ 1 ในเหตุที่ร่วมกันทำละเมิดทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ผู้เสียหายที่ 1 จึงชอบที่จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ว. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวหรือจะเลือกฟ้องทั้งสองคนก็ได้ การที่ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีนี้ และยื่นคำร้องขอให้บังคับ ว. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เป็นการบังคับชำระหนี้เอากับบุคคลคนละคนกัน จึงไม่เป็นการร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13630/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีอาญา: ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจ่ายให้โจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมชนะคดี
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง มิให้เรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ร่วม เว้นแต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าโจทก์ร่วมเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควร หรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์ร่วมชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดได้ แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 กำหนดให้คู่ความที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้โจทก์ร่วมไม่ได้เสียค่าธรรมเนียม และห้ามมิให้ศาลยุติธรรมเรียกค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 และมิใช่กรณีที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 255 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความให้โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ความรับผิดชอบจำกัดเฉพาะผลจากการกระทำความผิดที่ศาลพิพากษา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้อำนาจแก่ผู้เสียหายในอันที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนนั้น ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง แม้ได้ความว่าโจทก์ร่วมถูกยิงจนได้รับอันตรายสาหัสแต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เพียงร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นและพิพากษายกฟ้องความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ดังนี้ จึงชอบที่จำเลยที่ 1 จึงพึงรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในผลอันเกิดจากการที่ได้ทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น หาจำต้องรับผิดในผลที่โจทก์ร่วมถูกยิงจนได้รับอันตรายสาหัสอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นด้วยไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยคดีส่วนแพ่งและยังคงบังคับให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 อันเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 กรณีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่