พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ที่ไม่มีมูล
สิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ น. แม้จะปรากฏว่า น. โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวมิใช่การโอนโดยเสน่หา น. จึงสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (5) โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ น. เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่มีสิทธิการเช่าตกทอดเป็นมรดกแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ขาดองค์ประกอบความผิดที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าต่อมาจากจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: การแยกคดีอาญาและแพ่งจากคดีเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ จำเลยได้ขอสละข้อต่อสู้ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ - ข้อความใส่ความไม่ชัดเจน - คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องต้องคืนค่าธรรมเนียม
คำฟ้องในแต่ละกรรมที่โจทก์หาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ไม่มีข้อความอันแสดงความหมายเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างไรซึ่งศาลจะได้หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ โดยเฉพาะโจทก์เพียงแต่บรรยายสรุปว่า ข้อความทั้งหมดเป็นความเท็จทั้งสิ้น ทำให้ประชาชนคนอ่านไม่ทราบความจริงเข้าใจว่าโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศโดยไม่มีข้อความตอนใดยืนยันข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางเพศกับ ส.ซึ่งเป็นกระเทย เมื่อฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ เหตุขาดการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริง และศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยเป็น 31 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันกล่าวหาจำเลยทั้งหกร่วมกันใส่ความโจทก์ด้วยการโฆษณาต่อประชาชนในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นจำนวน 31 ฉบับ รวม 31 วันข้อความแต่ละวันไม่เหมือนกัน เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจำนวน 31 กรรม
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกายกฟ้องแล้ว โจทก์ไม่สามารถรื้อฟ้องประเด็นเดิมได้
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาและได้มีคำขอในคดีส่วนแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวในฐานะผู้เสียหายมาด้วยแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ร่วมในคดีนั้นซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวด้วย และแม้ว่าจำนวนทรัพย์ตามคำฟ้องในคดีอาญากับคดีนี้ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ในคดีอาญาพนักงานอัยการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยเพียง 4 เม็ด แต่คดีนี้โจทก์ได้ขอให้จำเลยคืนเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเพราะในคดีอาญาศาลฎีกาตำหนิพยานโจทก์ว่าจำนวนเพชรพลอยตามเอกสารหมาย จ. 9 ในคดีนั้นซึ่งมีจำนวน 23 เม็ด ไม่ตรงกับเพชรพลอยของกลางซึ่งมีเพียง 4 เม็ด ในคดีนี้โจทก์จึงได้รวมเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์สามารถขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาในคดีอาญาได้อยู่แล้วเพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นด้วยแต่ไม่ขอ ดังนั้น การที่โจทก์รื้อร้องฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีนี้เพื่อให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยทั้ง 23 เม็ด หรือใช้เงินแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงต้อง ห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต การหักกลบลบหนี้ และการสิ้นผลผูกพันของเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วยดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่งจำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มา หักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้ กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่า ธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็ค เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน จำเลยบอกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงิน การหักกลบลบหนี้ และการเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วย ดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเลยหน้าที่ยาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 และมาตรา 47กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้นโจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 3ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเมิดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าวป.วิ.อ.มาตรา 40 และมาตรา 47 กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ ป.วิ.อ.มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 249 ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้น โจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 148 จำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148