พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธลอยๆ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาซึ่งมีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมมาด้วยแล้วมีคำสั่งให้รับประทับฟ้องแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับฟ้องคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งด้วยหากจำเลยจะต่อสู้คดีส่วนแพ่งต้องให้การต่อสู้พร้อมกับคำให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาโดยคำให้การในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองเมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้นถือว่าคำให้การในส่วนแพ่งจำเลยทั้งสองคงเพียงให้การปฏิเสธลอยๆจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทและจำเลยทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตในท้องตลาดตามที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์แต่อย่างใดคดีส่วนแพ่งของจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง แม้มีข้อจำกัดการฎีกา
เมื่อคดีอาญาฟังไม่ได้ว่า จำเลยทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ก็ตาม แต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง การไม่มีเจตนาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
พยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่1นำสืบมายังโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่การที่จำเลยที่1เข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิที่จะเข้าไปทำได้จำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกเมื่อจำเลยที่1ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทด้วย เมื่อในคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้คดีส่วนแพ่งคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา40ก็ตามแต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยที่1มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการพิจารณาคดีแพ่งตามคำพิพากษาคดีอาญา: ศาลแพ่งต้องยึดข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา แม้ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสน
เมื่อคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา40ก็ตามแต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยที่1มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินย้อนหลัง: ความเกี่ยวโยงระหว่างคดีแพ่งและอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริง จำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่ง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าว โดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันทำสัญญาซื้อขายย้อนหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิ
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่าจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริงจำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่งซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าวโดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้จำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งรอผลคดีอาญาเกี่ยวกับการปลอมลายมือชื่อในเอกสารโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่โอนให้เพื่อชำระหนี้จำนองจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของโดยจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาสินไหมว่าร่วมกันปลอมลายมือชื่อจำเลยที่4ในหนังสือมอบอำนาจและนำไปขอจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอนประเด็นในคดีอาญามีว่าลายมือชื่อของจำเลยที่4ในหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคำวินิจฉัยในคดีอาญาอาจทำให้การชี้ขาดตัดสินคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปทั้งจำเลยทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นงดการอ่านคำพิพากษาคดีนี้ไว้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา39เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาแล้วจึงมีเหตุสมควรที่จะงดรอฟังข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 8 เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 8 จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหมิ่นประมาทที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา แม้ไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ก็ถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ ในการกระทำละเมิดด้วยการพูดหมิ่นประมาท ถ้าเป็นการพูดที่มุ่งถึงโจทก์เป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 การพูดเช่นนั้นก็เป็นการละเมิดต่อโจทก์และถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้ มิใช่ว่าการที่จำเลยพูดหมิ่นประมาทโจทก์โดยไม่ออกชื่อโจทก์จะทำให้การหมิ่นประมาทนั้นกลายเป็นคดีแพ่งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไปได้