คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีภาษีโดยตรง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง ได้จัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่งซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 มีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งต่อมาเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดตราจองกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. เจ้ามรดกที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากร แต่อยู่ในอำนาจศาลแพ่ง
คดีที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวทนาย, การชี้สองสถานโดยผู้พิพากษาคนเดียว และการดำเนินการตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
คำร้องขอถอนตัวของทนายโจทก์ไม่ปรากฏว่าทนายโจทก์ได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วหรือหาตัวความไม่พบ จึงเป็นคำร้องขอถอนตนจากการตั้งแต่งให้เป็นทนายความที่ไม่ชอบ ไม่มีเหตุที่ศาลต้องอนุญาตให้ทนายถอนตัว และศาลไม่มีหน้าที่คอยระวังความเสียหายให้โจทก์จากการกระทำที่ไม่ชอบของทนายความที่โจทก์เป็นผู้แต่งตั้งการสั่งคำร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ที่ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำ หรือออกคำสั่งได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 16 แม้ทนายของคู่ความหรือตัวความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็ทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 13 โดยไม่จำต้องเลื่อนการชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางนำรายงานกระบวนพิจารณาการชี้สองสถานมาอ่านให้คู่ความฟังที่หน้าห้องโดยมิได้ขึ้นนั่งพิจารณาบนบัลลังก์เป็นการชอบตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 20 ที่กำหนดไว้ว่าศาลอาจมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่ใด หรือในวันเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่เห็นสมควร ในการชี้สองสถาน ศาลไม่จำต้องสอบถามคู่ความเสมอไปเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียงว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร หากเป็นข้อที่คู่ความโต้แย้งกันในคำฟ้องและคำให้การโดยตรงอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุผลที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานได้ต้องเป็นเหตุอันสมควร ความผิดพลาดของทนายไม่ใช่เหตุ
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน เพราะทนายโจทก์ลงวันนัดชี้สองสถานในสมุดนัดความของทนายโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเอง มิใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาได้อันจะเป็นเหตุอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาเพียงขอให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางให้ศาลภาษีอากรกลางสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (3)(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถาใช้เป็นบัญชีพยานในชั้นพิจารณาได้หากไม่มีข้อจำกัด, ศาลควรอนุญาตพยานเพิ่มเติมหากมีเหตุสมควร
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในระหว่างที่มีการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยโจทก์ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นการระบุพยานเฉพาะในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้เป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ตลอดไปทั้งคดี หาได้มุ่งใช้เฉพาะการใดการหนึ่งไม่ จึงถือได้ว่าบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวเป็นบัญชีระบุพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาคดี ซึ่งได้ยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากรแล้ว.
เมื่อคำร้องของโจทก์ที่ขอระบุพยานเพิ่มเติมแสดงเหตุอันสมควรได้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ขออนุญาตอ้างเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานโจทก์เพิ่งทราบที่อยู่และข้อเท็จจริงจากพยานของโจทก์จำเป็นจะต้องสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานและการอนุญาตให้ยื่นเพิ่มเติมภายหลัง หากมีเหตุสมควร
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในระหว่างที่มีการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยโจทก์ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นการระบุพยานเฉพาะในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้เป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ตลอดไปทั้งคดี หาได้มุ่งใช้เฉพาะการใดการหนึ่งไม่ จึงถือได้ว่าบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าว เป็นบัญชีระบุพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาซึ่งได้ยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากรแล้ว เมื่อคำร้องของโจทก์ที่ขอระบุพยานเพิ่มเติมแสดงเหตุอันสมควรได้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ขออนุญาตอ้างเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถาน โจทก์เพิ่งทราบที่อยู่และข้อเท็จจริงจากพยานของโจทก์จำเป็นจะต้องสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลควรอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร: เหตุผลความผิดพลาดมิอาจอ้างได้หากโจทก์ทราบข้อกำหนด
โจทก์ขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานโดยอ้างเหตุว่า ข้อกำหนดคดีภาษีอากรแตกต่างจากกระบวนพิจารณาคดีแพ่งธรรมดาทำให้หลงลืมยื่นบัญชีระบุพยาน โจทก์มีทางชนะคดี และจำเลยไม่เสียเปรียบเหตุเช่นนี้ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ความตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดในคดีภาษีอากร ศาลฎีกาเห็นว่าการหลงลืมไม่ใช่เหตุอันสมควร แม้โจทก์มีทางชนะคดี
โจทก์ขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานโดยอ้างเหตุว่า ข้อกำหนดคดีภาษีอากรแตกต่างจากกระบวนพิจารณาคดีแพ่งธรรมดาทำให้หลงลืมยื่นบัญชีระบุพยาน โจทก์มีทางชนะคดี และจำเลยไม่เสียเปรียบ เหตุเช่นนี้ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ความตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอ้างพยานเพิ่มเติมหลังวันชี้สองสถาน หากมีเหตุสมควรและเป็นพยานสำคัญต่อประเด็นคดี
เมื่อมีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ขออนุญาตอ้างเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถาน โจทก์ไม่ทราบว่าได้มีอยู่ก่อนวันชี้สองสถาน และปรากฏว่าพยานหลักฐานนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จำเป็นจะต้องสืบเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ศาลก็ควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเพิ่มเติมได้.(ที่มา-ส่งเสริม)