คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุรินทร์ โชคเกิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบต้องอยู่ภายในประเด็นที่ได้ยกขึ้นต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินขอบเขตคำให้การ: จำเลยอ้างสัญญากู้ปลอม แต่สืบเรื่องการไม่ได้รับเงิน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่ มีผลต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา – ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 223 ทวิ ทำให้ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิคดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินเช่าไปขายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ผู้เช่าครอบครองที่ดินในฐานะอสังหาริมทรัพย์ ดินที่ขุดได้ถือเป็นสังหาริมทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียง แต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพ อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อม เปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการ ครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครองดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่ จำเลยเอา ดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินจากที่เช่าเปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์สินอื่น การขายดินถือเป็นการลักทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินเมื่อผู้ให้เสียชีวิต
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่งต.ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าและย้ายศพ จำเลยต้องได้รับการพิสูจน์ทั้งองค์ประกอบความผิดและพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้องโจทก์ แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ และอาวุธปืนดังกล่าวมีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานประทับหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอลงโทษจำเลยในฐานนี้
สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง20 เมตร และย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่าย จึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
of 5