คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ธรรมฤาชุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากละเมิด: นับแต่วันทำละเมิด ไม่ใช่วันชำระค่าซ่อมแซม
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษาหรือวันที่โจทก์ ได้ชำระเงินค่าซ่อมแซมทรัพย์ที่ถูกจำเลยทำละเมิด แต่เป็น การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้ว ตั้งแต่วันทำละเมิด ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงิน ที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัดตามมาตรา 206

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส: การยอมรับจำนวนเงินที่ระบุในคำฟ้องถือเป็นการชำระหนี้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสโดยกำหนดราคาทรัพย์แต่ละอันดับไว้ ศาลฎีกาเห็นว่าการแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 จึงพิพากษาว่าถ้าจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งสินสมรสอันดับใดให้นำสินสมรสอันดับนั้นออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งหมายถึงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทอันดับใดได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ระบุในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาที่ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทนั้น แต่ในทางกลับกันจำเลยก็คงจะรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์กล่าวอ้างและมีคำขอมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมภาระจำยอม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่การยินยอมภายหลังฟ้องคดีก็มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดยสัญญาว่าจะให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 14789 จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 แม้ในขณะทำสัญญาจะซื้อขาย จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ายินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือยินยอมให้จดทะเบียนภาระจำยอมในภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็คงมีผลผูกพัน จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้แก่โจทก์ไว้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ควรฟ้องเรียกได้ในคดีก่อน
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อนได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาซื้อขายเดิมกับคดีเรียกค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อน ได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้เดิมจากสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้คำขอต่างกันแต่มีมูลฐานเดียวกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ เห็นได้ว่าข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องทั้งสองคดีจะแตกต่างกันก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันคือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำโจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์คดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกัน ดังนั้นแม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางใช้ร่วมกันได้ และเจตนาของจำเลยในการมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเป็นการมีไว้เพื่อความประสงค์อันเดียวกันก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก 1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาเดียวกัน ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดหากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองไม่ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55, 78วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกันดังนั้นแม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางใช้ร่วมกันได้ และเจตนาของจำเลยในการมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเป็นการมีไว้เพื่อความประสงค์อันเดียวกันก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
ความผิดฐานมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่2 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลชั้นต้นระวางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ให้จำคุก1 ปี จึงต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการอนุมัติถอนเงินจากบัญชีลูกค้า และพนักงานฉ้อโกง ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เพื่อเป็นผลงาน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบหาลูกค้าให้ ธนาคารจำเลยที่ 1 ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมกับขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็นถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อของใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
of 29