คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ธรรมฤาชุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการเปิดบัญชีและออกสมุดคู่ฝากให้พนักงานโดยไม่ตรวจสอบ ทำให้พนักงานเบิกเงินจากบัญชีลูกค้าได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการเพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคาร จำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้ จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยา โดยมิได้ ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควร พึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ โดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่ จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหาย ดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์ โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มี หลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แม้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล และสิทธิการฟ้องแย้งของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ธ. ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง vs. การสมรสซ้อนของผู้เป็นบิดา
แม้การจดทะเบียนรับรองบุตรจะเป็นการจดทะเบียนภายหลังยื่นคำร้องขอนี้ แต่ตามพฤติการณ์ที่ ส. ให้ผู้ร้องใช้นามสกุล อุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง ทั้งยังเป็นผู้ปกครองในขณะที่ผู้ร้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนที่จะมีการจดทะเบียนรับรองบุตรดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ส. บิดาได้รับรองมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้แล้ว ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานและทายาทโดยธรรมจึงมีสิทธิเพียงรับมรดกของ ส. เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายเท่านั้น ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับ ส. จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลที่จะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจมาร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ถือว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอให้การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ: ผู้มีส่วนได้เสียและผลกระทบต่อสิทธิทายาท
สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้ทำการสมรสโดยไม่สุจริตจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามบุตรเช่นว่านี้ก็มีสิทธิแต่เพียงรับมรดก ของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตาย แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อน ของบิดาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นฉ้อฉล แม้มีสัญญาสิทธิอาศัยก่อนยึดทรัพย์และทราบการยึด
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ทำกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยให้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทได้ ต้องเลี่ยงมาทำสัญญาสิทธิอาศัย และการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนโดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัยเสียไป เมื่อสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ครบถ้วนตามที่จำเลยทั้งสามได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ชอบที่จะขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทราบว่าโจทก์ได้ยึดทรัพย์สินของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งห้องชุดพิพาทก่อนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการใช้สิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริต โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีครอบครัว: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นที่เกิดมูลคดี
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีหย่า: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่มูลคดีเกิด
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัวที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกอบรม และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้น ต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมเท่านั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี แต่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือไม่ ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม ฉะนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 122 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
การจะพิจารณาว่าคดีจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 , 83 ซึ่งอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 288 , 80 , 83 ระวางโทษไว้สองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์จึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: การปรับบทมาตรา 336 ทวิ และความถูกต้องของการลงโทษ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิเป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335,335 ทวิหรือมาตรา 336 ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)(8) วรรคสาม,336 ทวิเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามมาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(3)(8) วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 336 ทวิ,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานข่มขืนฯ มาตรา 336 ทวิ เป็นบทเพิ่มโทษ ไม่ใช่ความผิดต่างหาก
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335, 335 ทวิ หรือมาตรา 336 ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา335 (3) (8) วรรคสาม, 336 ทวิ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามมาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา335 (3) (8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ, 83
of 29