พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344-2346/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อคดีไม่ถึงที่สุด: ศาลฎีกาชี้ว่าการนับโทษต่อทำได้หากศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาลงโทษแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาในสำนวนแรกให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษจำคุกในสำนวนที่สอง และในคดีของศาลอาญา กับให้นับโทษจำเลยที่ 3 ต่อจากโทษจำคุกในสำนวนที่สาม และในคดีของศาลอาญา เมื่อสำนวนที่สองกับสำนวนที่สามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้จะยังไม่ถึงที่สุด ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษต่อไม่ได้ แต่คดีของศาลอาญาที่ขอให้นับโทษต่อนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ระบุรายละเอียดว่าศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2และที่ 3 หรือไม่ อย่างไรจึงไม่อาจนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของนิติกรรมขายที่ดินและการรับชำระราคา: ศาลฎีกายืนว่าโจทก์ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตและรับเงินค่าที่ดินแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการป่วยทางสมองอย่างชัดแจ้งถึงขนาดเป็นคนวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบ เนื่องจากโจทก์ยังคงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับกิจวัตรประจำวัน มีการตัดสินใจพอใช้ มีสติสัมปชัญญะรู้ได้ในระดับทั่วไป และสามารถพูดจาโต้ตอบได้ อีกทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทหลังจากโจทก์ไปทำงานตามปกติประมาณ 1 เดือน ซึ่งโจทก์ระบุว่าเหตุที่ไปทำงานเพื่อที่จะได้วันเวลาราชการโดยไม่ต้องลาป่วยหรือขาดราชการ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีความรำลึก มีความรู้สึก และมีความรับผิดชอบเช่นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะทั่วๆ ไป อาการป่วยของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม ม. 30 ดังกล่าว ดังนั้นนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทสมบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวเพื่อเพิกถอนนิติกรรมและไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ กรณีอายุจำเลยปรากฏหลังพิจารณาชั้นต้น: ไม่ต้องโอนคดี
ข้อเท็จจริงเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 15 แล้วจึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายหุ้นที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ป. น. และ ส. มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัท ก. เป็นผู้ขายหุ้นของ ป. น. และ ส. ถือไม่ได้ว่า ป. น. และ ส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป. น. และ ส. โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ ป. น. และ ส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของ ป. น. และ ส. ได้โอนไปยังโจทก์แล้ว ป. น. และ ส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงบริษัท: การถือหุ้น, การประชุมผู้ถือหุ้น, และการประทับตราบริษัท
ป.น.และส.มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจ ให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัทก. เป็นผู้ขายหุ้นของป.น.และส.ถือไม่ได้ว่าป.น.และส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป.น. และส.โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ป.น. และส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็น อย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของป.น.และส.ได้โอนไปยังโจทก์แล้วป.น.และส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทก. สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขาย ได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตาม ข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นายว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อ นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองเพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสาร การโอนหุ้นตามมาตรา 1129 วรรคสอง ป.น.และส.จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องทำให้ฟ้องเสีย มิอาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้
ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 วรรคสอง
เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามาก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามาก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ฟ้องคดีเสีย และการแก้ไขคำฟ้องไม่สามารถใช้ได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ธ. มีอำนาจกระทำการ แทนโจทก์ที่จะลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ การที่ ธ. ลงชื่อมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์เรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ เป็นกรณีโจทก์ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดี โดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ ความประสงค์ของโจทก์จึงไม่เป็นการแสดงให้ปรากฏโดยผู้แทนของนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
ตามคำให้การจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โดยไม่ได้ระบุว่าการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์อย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การใน เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็น แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขจากเดิม พ. ผู้รับมอบอำนาจเป็น ส. ผู้รับมอบอำนาจโดยที่จำเลยไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้นั้น เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามา ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
ตามคำให้การจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โดยไม่ได้ระบุว่าการมอบอำนาจไม่สมบูรณ์อย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การใน เรื่องนี้จึงไม่มีประเด็น แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขจากเดิม พ. ผู้รับมอบอำนาจเป็น ส. ผู้รับมอบอำนาจโดยที่จำเลยไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้นั้น เมื่อ ธ. ไม่มีอำนาจลงชื่อมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ พ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์มาแต่แรกฟ้อง ถึงแม้ต่อมาภายหลังโจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้ยื่นเข้ามา ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่เสียมาแต่ต้นแล้วกลับคืนดีเป็นฟ้องที่ยื่นฟ้องและดำเนินคดีโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา4, 6, 9, 14, 31, 35 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 11, 48,73, 74, 74 ทวิ, 74 จัตวา ป.อ.มาตรา 83, 91 พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9ริบของกลาง จ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4,6,9,14,31,35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,11,48,73,74,74 ทวิ,74 จัตวา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 4,5,6,7,8,9 ริบของกลางจ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็น ไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุก คนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัล ร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า การที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคา เครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษา แก้เป็นให้ จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลาง ที่ศาลสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. กรณีจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่าการที่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายถือไม่ได้ว่าเป็นการผลิตตามความหมายของคำว่าผลิตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4 และขอให้ลงโทษสถานเบา จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายหรือไม่ จึงยุติไปแล้วจำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่า จำเลยได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้