พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และแก้ไขโทษกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่าการที่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่ หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายถือไม่ได้ว่าเป็นการผลิตตาม ความหมายของคำว่าผลิตตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4 และขอให้ลงโทษสถานเบา จำเลยไม่ได้ อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุ ใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย หรือไม่ จึงยุติไปแล้วจำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่า จำเลยได้แบ่งเมทแอมเฟตามีน บรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกา ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับ เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีลักทรัพย์เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ฟ้อง และคำรับสารภาพขัดแย้งกับพยาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักไก่ชน 1 ตัว ของผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกเข้าไปลักไก่ชนในเล้าไก่ของผู้เสียหายและฟังไม่ได้ว่าไก่ชน 1 ตัว ที่พบในรถยนต์บรรทุกหกล้อเป็นของผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าว ในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจึงต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริงในฟ้องไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในการพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักไก่ชน 1 ตัว ของผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกเข้าไปลักไก่ชนในเล้าไก่ของผู้เสียหาย และฟังไม่ได้ว่าไก่ชน 1 ตัว ที่พบในรถยนต์บรรทุกหกล้อเป็นของผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจึงต้องยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าที่ต้องพิสูจน์การแยกกันอยู่โดยสมัครใจตลอด 3 ปี และเหตุผลที่แท้จริงของการแยกกัน
การที่จำเลยไม่ได้อยู่กับโจทก์ฉันสามีภริยาที่ต่างประเทศ เนื่องจากโจทก์ไม่ให้ความยินยอมในการทำหนังสืออนุญาต เข้าประเทศ (วีซ่า) แก่จำเลย ต่อมาเมื่อโจทก์กลับมา รับราชการภายในประเทศไทย โจทก์เป็นฝ่ายแยกไปอยู่ต่างหาก กับน้องสาวของโจทก์เอง ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว แต่จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากข้อตกลงก่อนหย่ามีผลบังคับใช้ได้ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีครอบครัว
บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 4 นั้น มีข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรของโจทก์และจำเลย แม้จะเป็นข้อตกลงที่ทำไว้ก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมายก็ตาม เมื่อยังไม่มีการยกเลิกย่อมมีผลใช้บังคับ เพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้สามีภริยาทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามข้อตกลงในเอกสารหมาย จ. 4
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่งในขณะนั้นมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2535 และ 7/2537 ที่วินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จึงมีอำนาจที่จะรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2540 และ 4/2540 วินิจฉัยว่าคดีประเภทเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจในการรับฟ้องและการพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่ชอบมาตั้งแต่ต้นตามคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเดิมนั้นเสียไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และเมื่อประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีครอบครัวดังวินิจฉัยมาแล้ว ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏขึ้นในชั้นอุทธรณ์ก็ได้มีการโอนคดีของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคสอง จึงถือได้ว่าการพิจารณาพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่งในขณะนั้นมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2535 และ 7/2537 ที่วินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จึงมีอำนาจที่จะรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2540 และ 4/2540 วินิจฉัยว่าคดีประเภทเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจในการรับฟ้องและการพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่ชอบมาตั้งแต่ต้นตามคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเดิมนั้นเสียไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และเมื่อประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีครอบครัวดังวินิจฉัยมาแล้ว ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏขึ้นในชั้นอุทธรณ์ก็ได้มีการโอนคดีของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคสอง จึงถือได้ว่าการพิจารณาพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ต้องพิสูจน์ การทำร้ายร่างกายเป็นผลจากการกระทำอื่น
ขณะเกิดเหตุ ส. สวมเสื้อคอกระเช้าและประดับของมีค่าซึ่งสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลและบนโต๊ะที่ ส. นั่งมีกระป๋องใส่เงินสดวางอยู่ จำเลยเข้าไปที่ ส. โดยไม่ได้พูดหรือแสดงอาการให้เห็นว่าจำเลยต้องการให้ ส. ส่งทรัพย์สินที่มีค่าให้จำเลย แล้วใช้อาวุธมีดปลายแหลมจ้วงแทง ส.ทันทีทำนองไม่พอใจส. ส. ใช้มือซ้ายรับอาวุธมีดที่จำเลยใช้แทงจนล้มลงจากเก้าอี้และร้องขอความช่วยเหลือจำเลย วิ่งหนีออกจากบ้านของ ส.ไปทันทีโดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของส. แสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าไปในบ้านของ ส. และใช้อาวุธมีดแทง ส.โดยไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์สินของส.แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลก็ต้อง ฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาชิงทรัพย์ ส. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่การที่จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทง ส.เป็นเหตุให้ส. ได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 การกระทำความผิด ฐานทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิด ฐานพยายามชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: เหตุประพฤติชั่วและละทิ้งร้างต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน ศาลไม่รับฟังเพียงคำเบิกความลอยๆ
การที่จำเลยไปเที่ยวกับผู้ชายในเวลากลางคืนโดยไม่ได้ความชัดว่าจำเลยประพฤติตนเช่นนั้นเป็นปกติวิสัยหรือไม่ ชายที่จำเลยไปด้วยมีความสัมพันธ์กับจำเลยเกินกว่าปกติธรรมดาหรือไม่ และจำเลยไปกับชายดังกล่าวเพียงลำพังสองต่อสองหรือไม่ จึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประพฤติชั่ว อันจะเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(2) โจทก์เป็นฝ่ายขอย้ายไปรับราชการที่ต่างจังหวัดตามความประสงค์ของโจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยังคงอยู่ที่บ้านที่เป็นของโจทก์และจำเลยปลูกสร้างตามเดิมจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไป เกินกว่าหนึ่งปี อันจะเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์: การพิจารณาจากสภาพทาง, การใช้ประโยชน์, และเจตนาอุทิศที่ดิน
การที่จะพิจารณาว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ ต้องพิจารณาตามสภาพของทางพิพาทและการใช้ทางพิพาทว่า เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 หรือไม่ประกอบกับเจตนาของผู้ที่อุทิศที่ดินให้ทำทางพิพาท ได้ความว่า ทางพิพาทเฉพาะส่วนที่ผ่านที่ดินจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสี่และจำเลย ได้ร่วมกันนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดมีความกว้าง 3 เมตร ยาว 24 เมตร และถนนดินที่ต่อจากทางพิพาทก็มีความกว้างใกล้เคียงกับทางพิพาทผ่านที่ดินแปลงอื่น ๆ อีกหลายแปลง ความกว้างของ ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่น่าจะใช้เฉพาะเป็นพนัง กั้นน้ำหรือ ใช้เป็นทางเดินผ่านเท่านั้น แต่น่าจะใช้สำหรับเป็นทางล้อเกวียนและใช้รถยนต์แล่นผ่านได้ด้วย ประกอบกับที่ดินจำเลยทางด้าน ทิศใต้จดถนนลูกรังสาธารณประโยชน์และถนนดินเริ่มต้นตั้งแต่ ถนนลูกรังสาธารณประโยชน์ดังกล่าวผ่านที่ดินจำเลย ที่ดินโจทก์ ทั้งสี่และที่ดินของบุคคลอื่นอีกหลายแปลงเข้าไปเป็นระยะทางยาวประมาณ 3 กิโลเมตร เชื่อได้ว่าถนนดินดังกล่าวโจทก์ทั้งสี่และ ชาวบ้านทั่วไปได้ใช้เป็นทางเดิน ใช้ล้อเกวียนสำหรับลากขน สัมภาระในการทำนาและใช้รถยนต์แล่นผ่าน นอกจากนี้จำเลยเคย ลงชื่อมอบที่ดินบริเวณทางพิพาทให้ทางสุขาภิบาลคลองหลวง เพื่อทำถนนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมซึ่งมีพื้นผิวถนนกว้าง 2 วา แสดงว่าจำเลยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงใช้ถนนพิพาทเป็น พนัง กั้นน้ำหรือคันกั้นน้ำเข้านาข้าวเท่านั้น แต่ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยความ สมัครใจของจำเลย ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) จำเลยจึงไม่มีสิทธิ กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้ทางพิพาท ของโจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิภารจำยอมเฉพาะโรงเรือน, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, และขอบเขตการชดใช้ค่าที่ดิน
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า สร้างโรงเรือน ย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของ บทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนด้วย ดังนี้แม้จำเลยจะสร้างหรือ ทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต จำเลยก็ไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นจึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตรก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำ ของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของ โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการจดทะเบียนภาระจำยอม: โรงเรือนจำกัดเฉพาะบ้านพักอาศัยเท่านั้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จำเลยโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์
ป.พ.พ.มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชา-ธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชา-ธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว