คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ธรรมฤาชุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรม, อายุความ, การครอบครองทรัพย์มรดก, การจดทะเบียนสิทธิ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบโจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตาม วัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งแม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือ พื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรม และก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดก ซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก นั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลย ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตามคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษา เป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรมและการจดทะเบียนสิทธิ แม้พินัยกรรมไม่ได้ระบุ และการข้อยกเว้นอายุความ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยตามพินัยกรรม-อายุความ-การครอบครองทรัพย์มรดก-จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน
แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็ระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวจึงเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1410 และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้เพื่อให้โจทก์ มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดก โดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดิน ซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนเจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและถึงแก่ความตาย แม้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตามแต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่าโจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จึงมีสิทธิจะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ โดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ได้ และ ไม่ถือว่าเป็นการขัดแย้งกับมาตรา 1754 เพราะมาตรา 1748 เป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่ง ในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกา ก็แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินของกลางแก่ผู้เสียหาย ผู้ซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของผู้อื่น
แม้จำเลยจะเป็นบุตรของผู้ร้องและอาศัยอยู่บ้านเดียวกันแต่จำเลยก็มีครอบครัวแล้ว การที่จำเลยซึ่งเป็นบุตรถือวิสาสะนำรถยนต์ของผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาไปทำการค้าบรรทุกผักแล้วเกิดความคิดซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ในรถยนต์เอากลับมาบ้านจนเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นยึดไว้ได้นั้นไม่ปรากฏพฤติการณ์ชี้ชัดว่าผู้ร้องเคยทราบว่าจำเลยมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อน ผู้ร้องจึงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยนำเอารถยนต์ของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ต้องคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีปล้นทรัพย์โดยใช้มีดข่มขู่ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่างที่ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีนับแต่วันพิพากษา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกาแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษเด็กและเยาวชน และการอนุญาตฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 104 (2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว เห็นว่า เนื่องจากคดีนี้จำเลยที่ 2 ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกา เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจเพื่อให้ได้ประโยชน์โดยการข่มขู่ชื่อเสียงเข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก แม้จะเกี่ยวข้องกับการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกันแต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน 100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษจากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้างถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.จึงไม่ได้รับงาน ทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาท ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญาดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท ให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้า ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญา ก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าว ส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง การที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสุขาภิบาลเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาโดยข่มขู่ ทำให้เกิดความกลัวและจ่ายเงินให้ ถือเป็นกรรโชกทรัพย์
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกัน แต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษ จากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้าง ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. จึงไม่ได้รับงานทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญา ดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาลเมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้าย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญาก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าวส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้งการที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการ ข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็น การข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วน ตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และการเพิ่มโทษเจ้าพนักงานที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในข้อสาระสำคัญ และต่างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ทั้งจำเลย ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับพยานโจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะมาเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกันในเรื่องที่ขึ้นไปชั้นสองของตัวบ้านพร้อมกันหรือไม่นั้นเป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองขาดน้ำหนักที่จะรับฟังแต่อย่างใดเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนมาก และมีราคาสูง ตามปกติวิสัยของคนทั่วไปย่อมต้องวางไว้ ข้างตัวเพื่อจะปกป้องได้ทันหากมีเรื่องไม่คาดหมายเกิดขึ้น จึงน่าเชื่อว่าเป็นของจำเลย และจำนวนเมทแอมเฟตามีน ของกลางก็มีมากเกินกว่าจะมีไว้เสพเอง พยานหลักฐานโจทก์ จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดและลงโทษจำคุก 3 ปี นั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติเพิ่มโทษเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิตนำเข้าส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แม้ปัญหานี้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 29