พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายภูมิลำเนา แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับภูมิลำเนาเดิม
ในการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยที่ 1 ครั้งแรกนั้น เจ้าพนักงานศาลส่งไม่ได้ โจทก์จึงขอให้ส่งใหม่โดยปิดหมายซึ่งในครั้งหลัง เจ้าพนักงานศาลระบุว่า ไม่พบผู้รับตามหมาย คนในบ้านแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ไปธุระและไม่มีผู้รับหมายไว้แทนจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล แสดงว่าคนในบ้านยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ที่บ้านตามภูมิลำเนาที่โจทก์ระบุในฟ้องที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ย้ายภูมิลำเนาโดยมี ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 2 ย้ายไปอยู่ที่เดียวกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏเหตุผลในการย้ายของจำเลยที่ 1 และ ส. ทั้งที่บริษัทจำเลยที่ 2 ยังมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการและมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาเดิมของตน การส่งหมายเรียกสำเนาฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงทราบว่าตนถูกฟ้องแล้วตั้งแต่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และข้อจำกัดการยกปัญหาใหม่ในฎีกา
การที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 นั้น ต้องมีเหตุสมควรอันจะพึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยจึงจะมีคำสั่งภายหลังได้ ที่จำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่า ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาโดยไม่มีการอ่านและให้จำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 รับทราบการอ่านภายหลังทั้งที่บุคคลดังกล่าวมิได้รับทราบการอ่านและศาลใช้บทบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ต้องส่งความเห็นโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้นถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษและไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ ทั้งมิได้อ้างว่าบทบัญญัติกฎหมายมาตราใดขัดรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีเหตุที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 3ไม่อาจยกปัญหาที่ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ แม้จะขอให้รับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำขอโต้แย้งหรือคำแถลงขอโต้แย้งก็ตาม เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของจำเลยที่ 3 ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 3 แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 3ไม่อาจยกปัญหาที่ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ แม้จะขอให้รับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำขอโต้แย้งหรือคำแถลงขอโต้แย้งก็ตาม เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของจำเลยที่ 3 ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดหมายแจ้งจำเลยที่ภูมิลำเนา และการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่แจ้งวันสืบพยานล่วงหน้า
โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น ก่อนถูกฟ้องจำเลยก็เคยได้รับหนังสือจากทนายความให้เปิดทางเดินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายเรียกได้ปิดหมายเรียกไว้ที่ประตูไม้ทางเข้าบ้าน คนเดินผ่านสามารถมองเห็นได้ชัด การที่จำเลยไม่ได้อาศัยในบ้านหลังที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้าน และจำเลยยังทราบว่าอาจถูกฟ้องเนื่องจากได้รับหนังสือทนายความให้เปิดทางเดิน และจำเลยก็ไปเก็บค่าเช่าที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเดือนละ5 ถึง 6 ครั้ง จำเลยน่าจะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จำเลยกลับไม่เอาใจใส่ กรณีถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 184 วรรคสอง ศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 184 วรรคสอง ศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7527/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายที่ภูมิลำเนาและการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ/ไม่มาศาล การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายณ บ้านที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น ก่อนถูกฟ้องจำเลยก็เคยได้รับหนังสือจากทนายความให้เปิดทางเดินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายเรียกได้ปิดหมายเรียกไว้ที่ประตูไม้ทางเข้าบ้าน คนเดินผ่านสามารถมองเห็นได้ชัด การที่จำเลยไม่ได้อาศัยในบ้านหลังที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้าน และจำเลยยังทราบว่าอาจถูกฟ้องเนื่องจากได้รับหนังสือทนายความให้เปิดทางเดิน และจำเลยก็ไปเก็บค่าเช่าที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเดือนละ 5 ถึง 6 ครั้ง จำเลยน่าจะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จำเลยกลับไม่เอาใจใส่ กรณีถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 วรรคสองศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 วรรคสองศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าฤชาธรรมเนียมศาลชั้นต้น คำพิพากษาเดิมสิ้นผล
โจทก์และจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กันในชั้นอุทธรณ์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความจำนวนเงิน404,005 บาท ที่จำเลยทั้งสี่ได้วางศาลใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตกเป็นของโจทก์หรือคืนให้แก่จำเลยทั้งสี่ คงมีระบุไว้แต่เพียงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสี่ติดใจเรียกร้องต่อกันเพียงนี้ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากส่วนที่ศาลจะสั่งคืนและค่าทนายความให้ตกเป็นพับกรณีไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงกันเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นดังนั้นข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมหมายความรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แล้ว ถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาเพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยทั้งสี่วางศาลใช้แทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจฯ และข้อจำกัดการฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่เกินสามปี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121(1) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแต่เนื่องจากมาตรา 122 กำหนดว่าในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ คดีจึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ แต่สำหรับการฎีกานั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 คงมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2ฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคดีต่อมา การไม่มีกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน มีประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเดียวกันว่า ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์นั้น โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และต้องโอนกรรมสิทธิ์คืน ผ. หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด คดีถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ส. ซึ่งเป็นทายาทของ ผ. เมื่อการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผ. และทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246, 247
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นของทายาทตามคำพิพากษา
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน มีประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเดียวกันว่า ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์นั้นโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และต้องโอนกรรมสิทธิ์คืนผ. หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด คดีถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นทายาทของผ.เมื่อการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผ. และทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7398/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานต้องชัดเจนถึงเจตนาและความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่า จำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โจทก์นำสืบว่า จำเลยมีเฮโรอีนฝาปิดสีแดงห่อละ 5 หลอด 2 ห่อ และห่อละ 3 หลอด 1 ห่อ ในกระดาษหนังสือพิมพ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจำหน่ายเฮโรอีนตามบทนิยามคำว่าจำหน่าย ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพราะการจำหน่ายตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวหมายถึงการจำหน่ายให้บุคคลอื่น แต่ในทางนำสืบของโจทก์เพียงแต่สืบทราบว่าจำเลยจำหน่ายยาเสพติดเท่านั้น ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้เฮโรอีนของกลางมีจำนวนเพียง 13.65 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม ไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์ & สิทธิยึดหน่วง: แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่การมอบครองที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดได้
การที่โจทก์ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้ว ดังนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินในฐานะผู้รับแบ่งทรัพย์ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะปรับบทกฎหมายในเรื่องสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่ามีหนี้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดพิพาท ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดพิพาทจนกว่าจะได้รับแบ่งทรัพย์ในฐานะผู้มีสิทธิอันชอบธรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ