คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ธรรมฤาชุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ต้องห้ามมิชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสิ่งปลูกสร้างและการอุทธรณ์คำพิพากษาเรื่องข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอม เพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบเช็ค: สิทธิในเงินตามเช็คเป็นของผู้รับชำระหนี้โดยชอบ
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กัน ครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์ แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป.ในราคา1,200,000 บาท ต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป.ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาทในนามจำเลยเป็นผู้รับเงิน เพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิ จำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลยเป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืม จำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วย เมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลงให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการเป็นเจ้าของเงินในเช็ค กรณีผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กันครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป. ในราคา 1,200,000 บาทต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป. ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาท ในนามจำเลยเป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิจำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลย เป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืมจำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วยเมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้วเงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลง ให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหาย กล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหาย เป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือ ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และราคาทรัพย์จำนองเกินหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปีเท่านั้น
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: บังคับจำนองได้แม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และไม่สามารถเอาทรัพย์หลุดได้หากราคาทรัพย์ท่วมหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ชำระค่าขึ้นศาลทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์และไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ชำระ ค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ชำระ ศาลชั้นต้น จึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อโจทก์ยื่นคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ มีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ชำระ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ มีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรกโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์กระทบภาพลักษณ์ประเทศ: ศาลฎีกายืนโทษ จำเลยไม่มีเหตุลดโทษ
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิดคดีนี้เกี่ยวโยงกับความปลอดภัยของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและชื่อเสียงของประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ภาพพจน์ของประเทศชาติเสียหายโดยตรงถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง แม้จำเลยที่ 3 ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาและน้องก็ตาม ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลดโทษให้เบาลง
of 29