พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรเปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนาบุตรและสถานการณ์ปัจจุบัน แม้มีคำพิพากษาเดิม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ส. อายุ 15 ปี 2 เดือนต่อมาโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันและตกลงให้ส.อยู่ในความปกครองของโจทก์ แม้หลังจากโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ส. อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูส.อันเป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์เสีย แต่เมื่อ ส.ได้ยื่นคำร้องแนบท้ายฎีกา โจทก์ว่า ขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน ส.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้อยู่กับโจทก์จำเลย ต่อมา ส. ได้กลับมาทำงานที่จังหวัดหนองคายรับทราบว่าโจทก์จำเลย ฟ้องร้องกัน และ ส. ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของโจทก์เนื่องจากจำเลยมีสามีใหม่ ศาลชั้นต้นได้สอบ ส. แล้วยืนยันว่าเป็นบุตรของโจทก์จำเลยและประสงค์ จะอยู่ในความปกครองของโจทก์ ซึ่งปัจจุบันได้อาศัยอยู่ด้วยและไม่ประสงค์จะอยู่กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในภายหลังโดยที่โจทก์มิได้นำสืบในชั้นพิจารณาแต่กรณีนี้ถือได้ว่าเหตุที่จะให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้สิ้นไปแล้วศาลฎีกาย่อมที่จะสั่งให้โจทก์มีอำนาจปกครองดังเดิมได้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ ส. อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส. ได้หมดสิ้นไปแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจะถอนอำนาจปกครองของโจทก์อีก สมควรให้โจทก์ เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของ ส. ต่อไปตลอดจนโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่จำเลยตามที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทของคู่สมรส: เจตนาให้ร่วมกรรมสิทธิ์และลักษณะเจ้าของรวม
ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. มีชื่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็น สามีภริยากันในขณะนั้นเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ โดยในบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ เพื่ออก น.ส.3 ก. ได้ระบุว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนาให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง แม้นับแต่โจทก์หย่าขาดกับจำเลยเป็นต้นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์ไม่เคยครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนา สละการครอบครอง เพราะกรณีต้องด้วยลักษณะเจ้าของรวม ซึ่งมีผลในทางกฎหมายว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยยังมิได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชำระหนี้ด้วยการส่งมอบที่ดินแทนเงิน สัญญากู้ไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะขายที่ดิน
บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญากู้เงินมีข้อความระบุในข้อ 2ว่า จำเลยจะชำระต้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้โจทก์ไม่เกินกว่าวันที่ 31 มีนาคม 2538 โดยจำเลยมอบเช็คพิพาทให้ไว้แก่โจทก์ด้วย แต่ในข้อ 2.1 กลับมีข้อตกลงขยายความในกรณีชำระต้นเงินคืนเป็นว่า ถ้าไม่ได้จ่ายเงินคืนแก่โจทก์ในวันที่ 31 มีนาคม 2538 หรือไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ จำเลยยินยอมที่จะส่งมอบโฉนดที่ดิน 2 ฉบับคืนโจทก์รวมทั้งหนังสือมอบอำนาจที่ลงชื่อจำเลยซึ่งโจทก์จะใช้สิทธิในโฉนดที่ดินได้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการขายที่ดินหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะชำระหนี้กันตามสัญญากู้ ซึ่งเห็นได้จากข้อตกลงในข้อ 2.2 ระบุต่อไปว่าหากจำเลยได้มอบโฉนดที่ดิน 2 ฉบับ ดังกล่าวให้แก่โจทก์และชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระครบถ้วนแล้ว สัญญากู้เงินจะต้องยกเลิกและโจทก์จะส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย ดังนี้ย่อมชี้ให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยในเบื้องต้นว่ามิได้ ประสงค์ให้สัญญากู้เงินมีผลบังคับในทันที ตราบใดที่จำเลย ยังขายที่ดิน 2 โฉนดดังกล่าวไม่ได้ สัญญากู้เงินย่อมไม่มี ผลบังคับ หากจำเลยขายที่ดินได้แล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระ ต้นเงินตามเช็คพิพาทรวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ส่วนกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินได้จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนโฉนดที่ดิน 2 แปลงพร้อมทั้งทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปใช้สิทธิในที่ดินเท่านั้น จึงเท่ากับว่าหากจำเลยไม่สามารถขายที่ดินได้โจทก์ก็รับเอาที่ดิน 2 แปลงไปเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คพิพาท ฉะนั้นในขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงมีเจตนาเพียงมุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้ ตามสัญญากู้เงินและข้อตกลงแนบท้ายสัญญากู้เงินเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: แม้ไม่ใช้ยิง แต่ใช้อาการกระแทกทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายก็สามารถริบได้
แม้ลักษณะการใช้อาวุธปืนของจำเลยในการกระทำความผิดจะไม่ตรงกับลักษณะของอาวุธปืนที่มีไว้เพื่อใช้ยิงโดยตรงก็ตามแต่ตามสภาพอาวุธปืนเป็นวัตถุแข็ง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนกระแทกทำร้ายที่บริเวณหน้าอกของเด็กชาย ธ. โดยแรงเป็นเหตุให้เด็กชาย ธ. มีบาดแผลถลอกช้ำบวมที่บริเวณหน้าอก แม้บาดแผลดังกล่าวจะไม่ร้ายแรงเช่นเดียวกับการใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายก็ตาม แต่ก็เป็นบาดแผลที่เกิดจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนทำร้ายเด็กชาย ธ. โดยตรง จึงถือได้ว่าอาวุธปืนเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธปืนของกลางได้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้กระทำความผิดนั้นจะบรรจุกระสุนหรือไม่ เพราะมิใช่ผลโดยตรงที่จะเป็นเหตุให้เด็กชาย ธ. ได้รับบาดเจ็บ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด: หลักฐานไม่เพียงพอรับรองความเป็นบุคคลเดียวกัน
พยานหลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่ผู้ร้องนำมาสืบเพื่อสนับสนุนว่าผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย ไม่อาจนำมายืนยันได้ว่านาง ซ.เป็นคนเดียวกับนางส.และนางซ. เป็นมารดาของเด็กชาย จ. ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นคนเดียวกับเด็กชาย จ. เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้ ผู้ร้องจึงไม่ได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายกำแพงจากก่อสร้างอาคารติดกัน: การรื้อถอนหรือก่อสร้างใหม่
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ 1 นิ้วช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอนเข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลย ผนังกำแพงเอนจากแนวตั้งฉากประมาณ 4 เซนติเมตร และเอนเข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอนมากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอนประมาณ 15เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด 22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่ หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาท รวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้ว กรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาท รวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้ว กรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากอาคารข้างเคียง: การรื้อถอนกำแพง vs. ก่อสร้างใหม่ และขอบเขตอำนาจฟ้อง
โจทก์ก่อสร้างโรงงานและกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กผนังอิฐบล็อกที่พิพาทบนที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยกับพวกได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตสำนักงานสูง 4 ชั้นชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เป็นเหตุให้กำแพงพิพาทมีรอยแตกร้าวเป็นเส้น เฉพาะกำแพงช่องที่ 1 ที่ 5 และที่ 22 รอยแตกร้าวของปูนเป็นช่องใหญ่ประมาณ1 นิ้ว ช่องผนังกำแพงที่แตกร้าวเป็นเส้นมีจำนวน 14 ช่อง และบริเวณแนวกำแพงที่โอนเอน*เข้ามาจากระดับตั้งฉากเดิม เมื่อนับจากผนังกำแพงใกล้กับท่อน้ำทิ้งหลังอาคารสำนักงานของจำเลยผนังกำแพงเอน*จากแนวตั้งฉากประมาณ4เซนติเมตรและเอน*เข้าไปด้านในจนถึงจุดที่เอน*มากที่สุดห่างจุดแรก 9 เมตร มีความเอน*ประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อความเสียหายของกำแพงพิพาทมีเพียงบางส่วน จำนวน 14 ช่องของจำนวนกำแพงพิพาทซึ่งมีทั้งหมด22 ช่อง ถือได้ว่ามีความเสียหายมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกำแพงพิพาท อีกทั้งกำแพงพิพาทยังเอียงจากแนวระดับตั้งฉากเดิมอีกด้วยประกอบกับความเอียงของกำแพงมิได้อยู่คงที่หากแต่มีการเอียงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลให้กำแพงพิพาทส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความเสียหาย มีโอกาสเอียงไปตามแรงดึงของกำแพงส่วนที่เอียงได้ เมื่อได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยแล้ว การให้จำเลยจัดการรื้อถอนกำแพงพิพาทและก่อสร้างใหม่ย่อมมีความเหมาะสมกว่าให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 435 ที่บัญญัติให้บุคคลใดที่จะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น ให้บุคคลนั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ก็ตามแต่ในการก่อสร้างอาคารของจำเลย จำเลยมิได้อาศัยหรือใช้กำแพงพิพาทของโจทก์จำเลยเพียงแต่ก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทของโจทก์เท่านั้น เมื่อศาลได้คำนึงถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการก่อสร้างอาคารชิดกำแพงพิพาทรวมทั้งที่ได้กำหนดให้จำเลยก่อสร้างกำแพงใหม่ให้แก่โจทก์แล้วถือได้ว่าได้มีการบำบัดปัดป้องภยันตรายในระดับหนึ่งแล้วกรณีจึงยังไม่สมควรที่จะให้จำเลยรื้ออาคารที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้ประกอบการขนส่ง กรณีบุตรขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย
ผู้ร้องได้รับอุบัติเหตุขาหักเพียงใส่เหล็กดามไว้ เท่านั้น ไม่ถึงกับไม่สามารถควบคุมดูแลกิจการรถยนต์ โดยสิ้นเชิง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ร้องมาเอารถยนต์ ของกลางไปใช้ซึ่งผู้ร้องในฐานะผู้ประกอบการขนส่งย่อมจะต้อง ทราบดีและน่าจะตักเตือนมิให้จำเลยนำไปบรรทุกน้ำหนัก เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกได้แต่ผู้ร้องก็หาได้กระทำไม่ อีกทั้งผู้ร้องก็ไม่เคยปรากฏตัวในชั้นสอบสวน พฤติการณ์ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องเห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การทำประโยชน์ และการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2529ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติม จากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของ ผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ได้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา 142(1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็น ของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลแก้โทษปรับแทนจำคุก
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลย ขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขาด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขา ตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัด ที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368