พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ-การปรับบทลงโทษ-ยาเสพติด-วัตถุออกฤทธิ์ฯ-ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ศาลที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจะต้อง เป็นศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 เท่านั้น ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและ มีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่ง จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือ ศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58(3) ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจ พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกา จึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาคดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาตามลำดับศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจ พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104(2)เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ใน ขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัมเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้ การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัมไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไปและเมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 67 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาทมีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 89 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่งดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต ต้องพิจารณาเจตนาของผู้รุก หากเข้าใจผิดว่าที่ดินเป็นของตน ถือว่าสุจริต
จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ต้องดูเจตนาของจำเลย ถ้าขณะสร้างอาคารจำเลยเข้าใจว่า เป็นที่ดินของตนเองย่อมถือว่าจำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์ โดยสุจริต พฤติการณ์ที่จำเลยได้สร้างอาคารอยู่ในรั้วคอนกรีตที่ได้ ครอบครองกันมาหลายปี ย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่รู้ว่าตรงบริเวณ ที่จำเลยสร้างอาคารนั้นเป็นที่ดินของโจทก์ แม้ในขณะจำเลย สร้างอาคาร จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และได้สร้างความกว้างของหน้าอาคารมากกว่าที่ขอไว้ตาม แบบแปลนและก่อนสร้างจำเลยจะมิได้ทำการรังวัดตรวจสอบ เขตที่ดินเมื่อไปพบหลักเขตก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยกระทำ โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โฉนดไม่ชอบและมีการโอนทางทะเบียน สิทธิครอบครองปรปักษ์ยังคงมีผล
ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 49 ตารางวา รวมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ของน.บิดาจำเลย โดยน.ออกโฉนดรังวัดทับที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ต่อมา น.บิดาจำเลยได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยทางครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้จำเลย ยังมิได้จดทะเบียนการได้ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ น. บิดาจำเลยได้มาโดยไม่ชอบและจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยการยกให้ทางทะเบียนได้ก็ตามแต่การเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคงมีผลเฉพาะเป็นการเพิกถอนโฉนดที่ดินทางทะเบียนเท่านั้นเป็นผล ให้จำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามโฉนดที่ดินโดยการยกให้ แต่ไม่เป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยซึ่งได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ สิทธิของจำเลยซึ่งยังมิได้จดทะเบียนนั้นจำเลยย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ ไม่ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองเพราะโจทก์มิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน ก็ใช้ต่อสู้ได้กับผู้มีโฉนดที่ไม่ชอบ
ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 49 ตารางวา รวมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่6534 ของ น.บิดาจำเลย โดย น.ออกโฉนดรังวัดทับที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ต่อมา น.บิดาจำเลยได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1382 แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนการได้ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ น.บิดาจำเลยได้มาโดยไม่ชอบและจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยการยกให้ทางทะเบียนได้ก็ตาม แต่การเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคงมีผลเฉพาะเป็นการเพิกถอนโฉนดที่ดินทางทะเบียนเท่านั้นเป็นผลให้จำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินโดยการยกให้ แต่ไม่เป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยซึ่งได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ สิทธิของจำเลยซึ่งยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง เพราะโจทก์มิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีหย่า: แม้คดีโจทก์จำหน่ายไป ฟ้องแย้งยังดำเนินต่อไปได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ว่าโจทก์ประพฤติชั่ว ขอให้ถอนอำนาจ ปกครองบุตรของโจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร แต่ผู้เดียว ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร กับให้ชำระ ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิม พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะทิ้งฟ้องเดิมเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งจำหน่าย คดีโจทก์ ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะ ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของ จำเลยตกไปด้วยไม่ เพราะยังมีตัวโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยของฟ้องแย้ง อยู่พร้อมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องว่า ฟ้องแย้งย่อมตกไปด้วยกรณีจึงไม่ต้องพิจารณาสั่งคำร้องขอให้โจทก์ขาดนัดยื่น คำให้การแก้ฟ้องแย้งอีกต่อไป จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลพิจารณาคำร้องซ้ำหลังมีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว และการเพิกถอนการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการตามลำดับชั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุในคำร้องว่าการส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้แล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้ยกคำร้องนั้น เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาทแล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ แต่กลับมายื่นคำร้องต่อมาว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก4 ห้อง การบังคับคดีคดียังไม่เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง จึงขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกของผู้ร้อง และคืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง ต่อไปนั้น คำร้องฉบับหลังมีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกันโดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 หลังศาลมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดย อ้างว่า การส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้อง พิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว จึง ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องอีกต่อไป ให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์แล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ผู้ร้อง กลับมายื่นคำร้องอีกฉบับว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก 4 ห้อง การบังคับคดียังไม่ เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องฉบับแรกและคืน ห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง คำร้องฉบับหลังจึง มีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกัน โดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้ง สิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึง เป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และปัญหาเรื่องการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว และข้อจำกัดการเพิกถอนการบังคับคดีในชั้นฎีกา
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท11 ห้อง ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุในคำร้องว่าการส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ ถึงที่สุดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้แล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้วไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของ ผู้ร้องอีกต่อไปจึงให้ยกคำร้องนั้น เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาทแล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ แต่กลับมายื่นคำร้องต่อมาว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก 4 ห้อง การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นและการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องจึงขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกของผู้ร้อง และคืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง ต่อไปนั้น คำร้องฉบับหลังมี ข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกันโดย ขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 นั้นเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องรู้ข้อเท็จจริงเป็นเท็จและเจตนาทำให้ผู้อื่นต้องรับโทษ
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และ 174นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต้องรู้ว่าเท็จและเจตนาให้ผู้อื่นรับโทษ การแจ้งความตามเหตุการณ์ที่เข้าใจไม่ถือเป็นความผิด
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และ 174 นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่ แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลย โดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จดังกล่าว