คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ธรรมฤาชุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและภาระจำยอมสาธารณูปโภค: สิทธิการใช้สโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมของเจ้าของที่ดิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 ประกอบข้อ 30วรรคหนึ่ง กรณีที่ถือว่าเข้าหลักเกณฑ์เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ สาระสำคัญอยู่ที่การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่10 แปลงขึ้นไป และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม เมื่อมีการกระทำครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนผู้จัดสรรจะขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของผู้จัดสรรไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้นำที่ดินของตนมาแบ่งเป็นแปลงย่อยคนละ 5 แปลง รวมเป็น 10 แปลง แล้วให้บริษัท ส.ทำการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านโดยที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ได้มีการก่อสร้างบ้านจำนวน 9 หลังลงในที่ดิน 10 แปลง การจัดจำหน่ายที่ดินและบ้าน ทางผู้จัดสรรขายได้มีการแยกทำสัญญาเป็น 3 ฉบับ คือให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 3 หรือที่ 4 ส่วนการปลูกสร้างบ้านให้ผู้ซื้อทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.เป็นผู้รับจ้างปลูกสร้างบ้าน และให้บริษัท ส.เป็นผู้รับจ้างทำถนน น้ำ ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ตลอดจนปรับปรุงที่ดินเพื่อแบ่งเบาภาระในเรื่องภาษี แต่การดำเนินจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านของบริษัท ส. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ล้วนกระทำการโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ส. อันมีจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการจัดสรรในโครงการการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่นำมาจัดสรรขายปรากฏว่าได้นำที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยรวม 10 แปลง ดังกล่าวนำเข้าโครงการเพื่อจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์และผู้ซื้อทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมบริการแก่ผู้ซื้ออีกด้วย ซึ่งต่อมาว่าได้มีการจัดสร้างสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะดังกล่าวขึ้นตามที่ได้โฆษณาหรือให้คำมั่นไว้แล้วดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกับบริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ดำเนินการจัดจำหน่ายที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรที่ดินดังกล่าว และได้แสดงเจตนาออกอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากโครงการได้ใช้ประโยชน์จากสโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมร่วมกัน ย่อมเข้าหลักเกณฑ์เป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ฉะนั้น สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อม จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์ทั้งสามโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
จำเลยทั้งหกได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่286 ข้อ 30 โดยนำที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อม ในส่วนที่ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 6อีกทั้งมีการห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามใช้สโมสร สระว่ายน้ำและสวนหย่อมกับได้สร้างกำแพงคอนกรีตปิดกั้นมิให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์ทั้งสามย่อมมีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นนั้นได้
แม้การจัดสรรจะปลูกสร้างบ้านขายเพียง 9 หลัง แต่จำเลยที่ 3และจำเลยที่ 4 ได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยจำนวนคนละ 5 แปลง จึงเท่ากับ10 แปลง กรณีถือได้ว่าเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวน10 แปลงขึ้นไป แม้บ้านเลขที่เดียวจะตั้งอยู่บนที่ดิน 2 โฉนด ในพื้นที่จำนวน 1 แปลงเหมือนกับแปลงอื่น ๆ ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันจัดสรรโดยมีการโฆษณาให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเพื่อให้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับโครงการ และต่อมาได้จัดให้มีสาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว แต่ห้ามโจทก์ทั้งสามเข้าไปใช้ทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากการจัดสรรของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหมดไม่มีสิทธิกระทำได้เพราะสาธารณูปโภคดังกล่าวตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 จำเลยทั้งหมดจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ โดยขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสโมสร สระว่ายน้ำ ฉละสวนหย่อม ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งสามและห้ามจำเลยทั้งหกกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ในสโมสร สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกโจทก์ทั้งสามได้บรรยายฟ้องถึงเหตุและสิทธิของโจทก์ทั้งสามที่จะขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยทั้งหกว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหรือเหตุอย่างไร จำเลยทั้งหกย่อมทราบเรื่องดีอยู่แล้ว มิใช่โจทก์ทั้งสามเพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยทั้งหกจะให้การต่อสู้คดีได้แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาททำให้ราคาทรัพย์เกินเกณฑ์อุทธรณ์ได้ แม้คดีเดิมเป็นคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลย ส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และผลกระทบต่อการอุทธรณ์คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลยส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000 บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานสนับสนุนคำบอกเล่าของผู้ตายก่อนเสียชีวิตยืนยันตัวผู้กระทำผิดประกอบกับพฤติการณ์หลบหนีของจำเลยพิสูจน์ความผิดได้
คำบอกยืนยันตัวคนร้ายต่อพยานทั้งสองโดยมิได้ลังเลใจ แสดงว่าผู้ตายจำหน้าคนร้ายได้แน่นอนว่าเป็นจำเลยจริง คำบอกเล่าในลักษณะเช่นนี้ย่อมรับฟังได้ในฐานะที่เป็นคำกล่าว ในเวลาใกล้ชิดกับเหตุ โดยไม่มีโอกาสที่ผู้บอกเล่าจะคิด ใส่ความปรักปรำได้ทัน ย่อมเป็นพฤติการณ์รับฟังประกอบพยาน หลักฐานอื่นได้ จำเลยเป็นฝ่ายได้รับอันตรายแก่กาย ส่วนผู้ตายไม่ได้รับอันตราย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องหวาดกลัวว่าผู้ตายและญาติผู้ตายจะมาทำร้ายจำเลยอีกพฤติการณ์ของจำเลย ที่หลบหนีโดยไม่ยอมกลับไปทำงานน่าจะเป็นเพราะจำเลยตี ทำร้ายร่างกายผู้ตายในคืนเกิดเหตุ โดยกลัวว่าจะถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับได้มากกว่า ประกอบกับในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การ รับสารภาพว่าเป็นผู้ทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยมี สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทและยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน กับชื่อซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตามระบุไว้ในหมายจับจริงจึงเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ แม้จำเลยจะถูกจับ ภายหลังเกิดเหตุเกือบ 10 ปี แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ประกอบพฤติเหตุแวดล้อมกรณี ฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลย เป็นคนร้ายรายนี้ ข้อนำสืบปฏิเสธของจำเลยไม่มีน้ำหนัก หักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การละเลยของโจทก์ไม่อาจใช้ขยายเวลาได้
ในเรื่องขยายระยะเวลา เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ คดีนี้ โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้ส่งสำนวนไปให้สำนักงานอัยการเขตเพื่อให้อัยการศาลสูงพิจารณาแต่สำนักงานอัยการเขตมีสำนวนที่จะต้องพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำนวนมากจึงไม่อาจพิจารณาให้ทันกำหนดเวลาอุทธรณ์นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนจำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังแล้วแต่โจทก์ละเลยเพิกเฉย เพิ่งมายื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาคำให้การพยานโจทก์ คำให้การพยานจำเลย และเอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ เพียง 2 วัน ศาลชั้นต้นก็อนุญาตในวันนั้นโดยมิได้ชักช้า ทั้งยังอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์อีก 2 ครั้งเป็นเวลากว่า 15 วัน การที่สำนักงานอัยการเขต ไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันกำหนดเวลาเกิดจากเหตุ ที่โจทก์ไม่รีบดำเนินการเสียแต่แรกเมื่อได้ฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิ, การบอกล้าง/สัตยาบัน, และความรับผิดของคู่กรณี
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การปกปิดเจตนาโกงและการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์ มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝาก ที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรมถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา 456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456 ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่าง จำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริตเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของจำเลยร่วมจากการขุดเจาะลงเสาเข็ม และอายุความการฟ้องละเมิด
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของ ณ.ตามคำแถลงของ ณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ.ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ. ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129 (1)
ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของ ณ.ย่อมรับฟังได้
จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2กระทำ โดยจำเลยที่ 3 ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้ แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ควบคุมงานขุดเจาะต้องรับผิดร่วมกับผู้รับเหมาในความเสียหายจากการขุดเจาะ แม้ควบคุมตามมาตรฐานแต่ยังประมาทเลินเล่อ อายุความเริ่มนับจากวันสิ้นสุดการกระทำ
โจทก์ได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ว่า ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญศาลและต่อมาได้ขอส่งรายงานของณ.ตามคำแถลงของณ.โดยจำเลยที่ 3 มิได้คัดค้านว่า ณ.มิใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญศาล จึงต้องถือว่า ณ. ได้ลงชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไว้ในทะเบียนผู้เชี่ยวชาญของศาลแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียก ณ.ย่อมถือโดยปริยายว่า ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง ณ. เป็นผู้เชี่ยวชาญซ้ำซ้อนอีก และการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะแต่งตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียกคู่ความมาตกลงให้กำหนดตัวผู้เชี่ยวชาญตามมาตรา 129(1) ณ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง จึงมีสิทธิแสดงความเห็นเป็นหนังสือเมื่อเป็นที่พอใจของศาลและไม่มีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ ณ.มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 ความเห็นเป็นหนังสือของณ.ย่อมรับฟังได้ จำเลยที่ 3 รับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการขุดเจาะลงเสาเข็มของจำเลยที่ 2 ซึ่งรับจ้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ว่า จะควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยและไม่มีมลภาวะแก่บริเวณก่อสร้างหรือบริเวณข้างเคียง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขุดเจาะลงเสาเข็มเป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์เสียหายโดยนอกเหนือการควบคุมของจำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตลอดจนควบคุมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็ตามแต่ความเสียหายของทาวน์เฮาส์ของโจทก์เกิดจากการขุดเจาะลงเสาเข็มที่จำเลยที่ 2 กระทำ โดยจำเลยที่ 3ควบคุม ย่อมแสดงว่ามาตรฐานทั่วไปที่จำเลยที่ 3 อ้างใช้ในการขุดเจาะลงเสาเข็มนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ขุดเจาะลงเสาเข็มเพื่อสร้างตึกสูง 42 ชั้น และห้องใต้ดิน 2 ชั้น ได้ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ควบคุมต้องใช้ความระมัดระวังในส่วนนี้แต่จำเลยที่ 3 ยังควบคุมให้ขุดเจาะลงเสาเข็มโดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้ควบคุมให้มีวิธีการก่อสร้างที่ปลอดภัยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่อแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้ห้องครัวของโจทก์เสียหายตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2534 และโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหายในเวลาเดียวกันซึ่งนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดปีหนึ่งแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังคงดำเนินการขุดเจาะลงเสาเข็มซึ่งเป็นมูลเหตุของการทำละเมิดต่อไปจนถึงความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมจะต้องเกิดเพิ่มขึ้นอีกในทรัพย์อันเดียวกันตรงส่วนที่ได้รับความเสียหายเดิมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ในช่วงแรก และส่วนที่เสียหายใหม่จากการกระทำละเมิดในช่วงหลังความเสียหายดังกล่าวนี้ย่อมไม่อาจแยกแยะได้ว่า ช่วงเวลาใดจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ เสียหายเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อความเสียหายดังกล่าวเกี่ยวพันสืบเนื่องกันตลอดเวลาที่จำเลยที่ 2 ยังคงขุดเจาะลงเสาเข็มอยู่ เมื่อนับอายุความหนึ่งปีนับแต่วันสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ยังทำละเมิดอยู่คือวันที่ 21 มีนาคม 2535 เป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้ฟ้องคดี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิขอหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249แต่ปัญหาว่าจำเลยที่ 3 จะมีสิทธิหักหนี้ดังกล่าวได้หรือไม่เป็นเรื่องขอหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว, กำหนดเวลาฟ้องคดี, การผัดฟ้อง, และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า "คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นแต่ถ้า (1)... (2) มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้น มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51วรรคสองและวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสองหรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีเป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้ จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
of 29