พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ, กำหนดเวลาฟ้อง, และข้อยกเว้นกรณีพนักงานสอบสวนรับผิดชอบในเขตอำนาจศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า"คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้า (1)...(2) มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้นมีความหมายว่าหากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51 วรรคสอง และวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้อง จำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าใน ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมี ศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับ ความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติ ในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตาม มาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่ นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ พนักงานอัยการโจทก์ จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเขตที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการใช้สิทธิโดยสุจริต
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้าน การนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาท การคัดค้านแนวเขตโดยสุจริตไม่ถือเป็นการละเมิด
ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 264 มา โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวมีข้อพิพาทตรงที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม การที่โจทก์ได้ขอรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแยก แต่จำเลยคัดค้านการนำชี้ของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมเช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านต่อเจ้าของร่วมเดิมในที่ดินแปลงพิพาทก่อนขายให้โจทก์ ทั้งยังปรากฏอีกว่าผู้เช่าที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ใช้น้ำในคลองที่ฝ่ายจำเลยขุดขึ้นรวมตลอดลำรางในที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินเดิมคัดค้าน เมื่อจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับจำเลยร่วม จำเลยมิได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ การที่จำเลยได้คัดค้านการชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคัดค้านการชี้แนวเขต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยคือคนร้าย ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
หลังเกิดเหตุผู้เสียหายนอนอยู่กับพื้นมีรอยฟกช้ำดำเขียวตามตัว ไม่รู้สึกตัวมีอาการหนัก ฉะนั้น คำเบิกความของ ผู้เสียหายที่ว่าเห็นคนร้ายคนที่ถอดหมวกไหมพรมและจำได้ว่าเป็นจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง คงรับฟังได้แต่เพียงว่าคนร้ายที่ล็อกคอและใช้อาวุธปืนจี้ท้ายทอยผู้เสียหายและได้พูดกับผู้เสียหายนั้นผู้เสียหายฟังคล้าย ๆ กับเสียงของจำเลย ซึ่งผู้เสียหายก็ไม่ยืนยันแน่ชัดว่าคนร้ายที่พูดนั้นเป็นจำเลย แม้ผู้เสียหายจะมีสาเหตุโกรธเคืองกับ จ. และจำเลยมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับ จ. ก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า คนร้ายที่ล็อกคอและใช้อาวุธปืนจี้ท้ายทอยผู้เสียหายเป็นจำเลย ส่วนหมวกไหมพรมของกลางที่ยึดได้จากบ้านพักจำเลยเป็นสีแดงดำก็แตกต่างกับที่ ผู้เสียหายระบุว่าคนร้ายสวมหมวกไหมพรมสีแดง พยานหลักฐานโจทก์ ที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยตามสมควร ว่าจำเลยเป็นคนร้ายกระทำผิดตามฟ้อง ต้องยกประโยชน์แห่งความ สงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ได้ความจากแพทย์ว่า บาดแผลของผู้เสียหายไม่น่าจะถึงกับสลบก็ตามแต่เป็นการตรวจอาการบาดเจ็บหลังจากเกิดเหตุแล้ว1 วัน แพทย์ไม่มีโอกาสเห็นลักษณะอาการของผู้เสียหายในช่วงระยะเวลาที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายใหม่ ๆ ความเห็นของแพทย์จึงย่อมคลาดเคลื่อนได้ คำให้การในชั้นสอบสวนของ ถ. ไม่แตกต่างกับคำเบิกความของ ถ.ในชั้นพิจารณาเพียงแต่ในชั้นพิจารณาถ. เบิกความขยายรายละเอียด คำเบิกความและคำให้การของ ถ. จึงไม่มีข้อพิรุธว่าเป็นการเพิ่มเติมหรือขยายความเพื่อช่วยเหลือจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการจดจำรูปร่างหน้าตา และคำรับสารภาพที่เชื่อถือได้
แม้ในช่วงเกิดเหตุชิงทรัพย์จะเกิดขึ้นรวดเร็วมากและผู้เสียหายไม่รู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อนก็ตาม แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองได้ขับรถจักรยานยนต์ดูผู้เสียหายที่ยืนรอรถโรงเรียนอยู่ถึง 3 วันในช่วงตอนเช้า ดังนั้น การที่ผู้เสียหายได้เห็นคนร้ายก่อนวันเกิดเหตุและในวันเกิดเหตุ ผู้เสียหายย่อมมีโอกาสจดจำคนร้ายได้โดยสามารถระบุตำหนิรูปพรรณคนร้ายให้ ช.ทราบช. พาผู้เสียหายไปดูตัวจำเลยที่ 1ผู้เสียหายก็ยังยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้าย และเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 กับบันทึกและภาพถ่ายการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยไม่ปรากฏข้อพิรุธว่าพนักงานสอบสวนได้ทำขึ้นโดยการบังคับขู่เข็ญทำร้ายจำเลยที่ 1เพราะพนักงานสอบสวนไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีเหตุที่จะปรักปรำจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานโจทก์ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1เป็นคนร้ายร่วมกับพวกชิงทรัพย์ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัวเกินสมควร: การใช้ปืนยิงตอบโต้การทำร้ายด้วยก้อนหิน
จำเลยเจตนายิงผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจากจำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เข้ามากลุ้มรุมทำร้ายจำเลยก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวเองเพื่อมิให้ถูกทำร้าย แต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงผู้เสียหายที่ 1หลายนัด โดยผู้เสียหายที่ 1 มีเพียงก้อนหินและไม่ปรากฏว่า พวกผู้เสียหายที่ 1มีอาวุธ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายที่ 1 ที่บั้นเอวด้านซ้าย สะโพกด้านซ้ายและด้านขวา จนผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ถ้าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้กระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 ดังนี้นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ยิงด้วยอาวุธร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
จำเลยเจตนายิงผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจาก จำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เข้ามา กลุ้ม รุม ทำร้าย จำเลยก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวเองเพื่อ มิให้ถูกทำร้ายแต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงผู้เสียหายที่ 1 หลายนัด โดยผู้เสียหายที่ 1 มีเพียงก้อนหินและไม่ปรากฏว่าพวกผู้เสียหายที่ 1 มีอาวุธ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายที่ 1 ที่บั้นเอวด้านซ้าย สะโพกด้าน ซ้ายและด้านขวา จนผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสถ้าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้กระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้เสียหาย ที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่า กรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน แม้เจ้าหนี้ไม่คัดค้านการขอกันส่วนจากทรัพย์สินที่จำนอง
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญากู้เงินส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า"นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อนหรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้"และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรสทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตามจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน - การยินยอมให้มีการกันส่วนของสินสมรสไม่ปลดเปลื้องความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงิน ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "...นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อน หรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้" และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญา ดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรส ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้ 750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7679/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินและการเสนอคดีต่อศาล: จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจนจึงจะยื่นคำร้องขอได้
กรณีที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ต้องเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาล เพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้แจ้งชัดให้กระทำได้ แต่ที่ผู้ร้องอ้างเหตุผลมาในคำร้องว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 และเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นหาได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่ฝ่ายเดียวได้ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองในที่ดินและถูกโต้แย้งสิทธิประการใดก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาท หาใช่เสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทไม่