พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่ากรณีที่จำเป็น เมื่อผู้ถูกทำร้ายยังไม่ได้ลงมือทำร้าย และมีโอกาสหลบหนี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายจะใช้อาวุธมีดทำร้ายจำเลย ซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นชัดแจ้งว่าผู้ตายได้ลงมือใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสวนผู้ตายไปในขณะนั้นโดยมีโอกาสจะหลบหนีได้เช่นเดียวกับเพื่อนจำเลยที่หลบหนีไปก่อนเกิดเหตุ ประกอบกับการที่จำเลยเลือกยิงผู้ตายที่ศีรษะซึ่งเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย โดยมีโอกาสที่จะเลือกยิงร่างกายส่วนอื่นของผู้ตายได้ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แต่เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน: การกระทำหลายกรรม, การแจ้งความ, และพฤติการณ์ที่บ่งชี้เจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ แม้เดิมจะเคยเข้าไปอันเป็นการถือวิสาสะทำให้ไม่เป็นความผิด แต่เมื่อโจทก์กับสามีไล่ให้ออกจากบ้าน จำเลยไม่ยอมออกลากตัวออกไปยังกลับเข้ามาอีก จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่วนในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 10 มิถุนายน 2537) จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์อีก โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์หรือสามีโจทก์อนุญาต จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการส่งมอบบุตรคืนแก่ผู้มีอำนาจปกครอง
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดอำนาจปกครองบุตรหลังจดทะเบียนรับรองบุตร โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตรและความเหมาะสมในการดูแล
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาคนละแห่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องที่จะให้จำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่กับโจทก์และจำเลยที่ 1 ร่วมกัน ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์มีฐานะความรักใคร่และดูแลเอาใจใส่จำเลยที่ 2 อย่างดี เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ที่จะได้รับการดูแลและให้การศึกษาที่เหมาะสม สมควรกำหนดให้จำเลยที่ 2 ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของโจทก์ผู้เป็นบิดาในระหว่างเปิดภาคการศึกษาประจำปีแต่ละภาคการศึกษา โดยให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จะรับเอาตัวจำเลยที่ 2 ไปดูแลหลังจากปิดภาคการศึกษาแต่ละภาค นับตั้งแต่มีคำพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะบรรลุนิติภาวะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเด้ง: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, โจทก์มีอำนาจฟ้อง, ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินยืม รายละเอียดของสัญญายืมโจทก์จะเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณา ซึ่งมูลหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเข้าเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกี่ยวข้องอันพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว หาจำต้องกล่าวถึงรายละเอียดในสัญญากู้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาของศาล ฉะนั้นคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำคดีฟ้องศาลภายในอายุความฟ้องร้อง ดังนั้น การร้องทุกข์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่ใช่สาระสำคัญไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจริง ที่จำเลยอ้างว่ากรณีเป็นที่น่าสงสัยเท่ากับเป็นการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ว่าไม่ได้กู้ยืมหรือไม่ได้ออกเช็คพิพาท ย่อมกระทำมิได้เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เช็คในคดีนี้ทั้งสี่ฉบับจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ตามสัญญากู้ต่างฉบับกัน วันที่สั่งจ่ายในเช็คต่างวันกัน แสดงว่าจำเลยเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต่างวันกันจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำคดีฟ้องศาลภายในอายุความฟ้องร้อง ดังนั้น การร้องทุกข์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่ใช่สาระสำคัญไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจริง ที่จำเลยอ้างว่ากรณีเป็นที่น่าสงสัยเท่ากับเป็นการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ว่าไม่ได้กู้ยืมหรือไม่ได้ออกเช็คพิพาท ย่อมกระทำมิได้เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เช็คในคดีนี้ทั้งสี่ฉบับจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ตามสัญญากู้ต่างฉบับกัน วันที่สั่งจ่ายในเช็คต่างวันกัน แสดงว่าจำเลยเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต่างวันกันจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเปลี่ยนมือ และอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อปี 2530 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทอยู่ในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายภายในกำหนด 10 ปี การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530 จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตามแต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530 จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตามแต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อจำกัดตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการครอบครองและสิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้อง ราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ ให้แก่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตาม แต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่า จะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทน โจทก์อีกต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้อง ราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ ให้แก่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตาม แต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่า จะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทน โจทก์อีกต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับตามฟ้อง vs. การปฏิเสธข้อกล่าวหาในคดีหย่า: ศาลฎีกาวินิจฉัยการฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐาน
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับตามฟ้องโจทก์ในประเด็นว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุหย่าหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำให้การจำเลยบรรยายว่า "ข้อ 1 จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น" และ "ข้อ 3 โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัว กล่าวคือ ไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน" เมื่อพิจารณาประกอบกันเห็นว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์
คำให้การจำเลยบรรยายว่า "ข้อ 1 จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น" และ "ข้อ 3 โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัว กล่าวคือ ไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน" เมื่อพิจารณาประกอบกันเห็นว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีหย่าและการไม่รับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัว เมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน เห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเอง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากกรณีจงใจละทิ้งร้างและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้านเห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเองจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้