พบผลลัพธ์ทั้งหมด 282 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนพิจารณาคดีสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หนัก 0.57 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง,69 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นต้องสอบถามจำเลยถึงเรื่องทนายความก่อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลย จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ ไม่ขัดต่อข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
แม้จำนวนเงินตามเช็คที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจะเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คที่จำเลยค้างชำระโจทก์แต่เงินจำนวนนี้ก็เป็นดอกเบี้ยที่คิดจากมูลหนี้เดิมที่เกิดจากการซื้อขายและค่าจ้างทำของที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตามสัญญา มิใช่มูลหนี้เดิมมาจากการกู้ยืมเงินจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ตามที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ ดอกเบี้ยดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะเพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากซื้อขาย/จ้างทำของ ไม่ขัดกฎหมายจำกัดดอกเบี้ย
แม้จำนวนเงินตามเช็คที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจะเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คที่จำเลยค้างชำระโจทก์แต่เงินจำนวนนี้ก็เป็นดอกเบี้ยที่คิดจากมูลหนี้เดิมที่เกิดจากการซื้อขายและค่าจ้างทำของที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตามสัญญา มิใช่มูลหนี้เดิมมาจากการกู้ยืมเงินจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าในอัตราร้อยละ15 ต่อปี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ตามที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ ดอกเบี้ยดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะเพราะโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์หลังศาลริบ: ผู้ขายยังโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อได้ก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากผู้ขายตามสัญญาซื้อขายรถแบบเงินผ่อน โดยในสัญญาได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระราคารถจักรยานยนต์ของกลางบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือผ่อนชำระรวม 24 งวด เมื่อชำระราคารถจักรยานยนต์ครบแล้วผู้ขายจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น ผู้ร้องยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายให้แก่ผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางจึงยังอยู่ที่ผู้ขายแม้ว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่รถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบนั้นจะตกเป็นของแผ่นดินก็ต่อเมื่อคำพิพากษาทีให้ริบของกลางดังกล่าวเป็นที่สุด แต่ระหว่างที่คำพิพากษาที่ให้ริบของกลางดังกล่าวยังไม่เป็นที่สุดเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางยังคงมีอำนาจที่จะจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์ของตนได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกาได้สิ้นสุดลงดังที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น ก่อนหน้าที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวจะเป็นที่สุด ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางยังสามารถที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องได้ชำระราคางวดสุดท้ายก่อนวันที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางจะเป็นที่สุด ผู้ขายจึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง และถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงอันมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ เมื่อผู้ร้องและผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่ถูกนำไปใช้กระทำความผิดมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงสมควรคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและข้อจำกัดการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการส่งเรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ชัดความผิดจำเลยร่วม, เจตนาฆ่าไม่ปรากฏ, ศาลฎีกายกฟ้อง
พยานหลักฐานทั้งหมดของโจทก์เท่าที่นำสืบล้วนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อคำนึงว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเรื่องหมางใจกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน ประกอบกับโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันความผิดของจำเลยที่ 2 โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 2 เองก็ให้การปฏิเสธโดยตลอดมาตั้งแต่ต้น ลำพังพยานบอกเล่าของโจทก์เท่าที่ปรากฏยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นด้วย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ทีจากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไร หรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่าผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตรลึก 0.3 เซนติเมตรที่เปลือกตาขวาอาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายและทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมา ทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ทีจากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไร หรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่าผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตรลึก 0.3 เซนติเมตรที่เปลือกตาขวาอาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตายและทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมา ทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ความผิดจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าเจตนา, ทำร้ายร่างกาย
พยานหลักฐานทั้งหมดของโจทก์เท่าที่นำสืบล้วนเป็นพยานบอกเล่าเมื่อคำนึงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเรื่องหมางใจกับผู้ตายและผู้เสียหายมาก่อน ประกอบกับโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันความผิดของจำเลยที่ 2 โดยชัดแจ้ง จำเลยที่ 2เองก็ให้การปฏิเสธโดยตลอดมาตั้งแต่ต้น ลำพังพยานบอกเล่าของโจทก์เท่าที่ปรากฏยังไม่พอชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นด้วย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง 1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ที จากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไรหรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตร ลึก 0.3 เซนติเมตร ที่เปลือกตาขวา อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย และทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมาทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฟาดด้วยหลอดไฟฟ้าที่บริเวณกลางหลัง 1 ที และถูกไม้กระบองตีที่บริเวณตาข้างขวา 1 ที จากนั้นผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปได้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายถูกจำเลยคนใดตีทำร้ายอย่างไรหรือมีผู้ใดร้องตะโกนว่าตีให้ตาย แต่กลับได้ความว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีอาการเมาสุรา ผู้ตายมีปากเสียงกับฝ่ายจำเลยและพวกแล้วจึงเกิดเหตุตีทำร้ายกัน เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีก็ไม่มีผู้ใดวิ่งไล่ตาม ทั้งปรากฏว่า ขอบตาข้างขวาของผู้เสียหายบวมช้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีแผลถลอกช้ำหางตาและแผลฉีกขาดยาว 1 เซนติเมตร ลึก 0.3 เซนติเมตร ที่เปลือกตาขวา อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะรักษาหายใน 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาฆ่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 คงเป็นตัวการในความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย และทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หาเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าไม่
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าและเป็นข้อเท็จจริงแห่งการกระทำที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีการฎีกาขึ้นมาทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 ให้พ้นจากความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยปละละเลยให้บุตรใช้รถโดยมิได้ควบคุมดูแล อาจถือเป็นความรู้เห็นชอบในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นบุตรผู้ร้อง ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางผู้ร้องซื้อมาเพื่อใช้ในการทำมาหากินและรับส่งบุคคลในครอบครัวโดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใช้ในการนำออกไปซื้อของและขับไปโรงเรียนบ้าง จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยที่ 3 จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไปใช้นัก พฤติการณ์มีผลเท่ากับผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยที่ 3 นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวาง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 อายุเพียง 17 ปี อยู่ในวัยรุ่นวัยคะนองนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการขับแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง