คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิศักดิ์ พรวชิราภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: การไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเช่า
โจทก์ได้เช่าอาคารพิพาทจากวัด ก่อนทำสัญญาเช่า จำเลยอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทมาก่อนและจำเลยตกลงจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารพิพาท เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมขนย้ายออกทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการผิดสัญญาเช่า: สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้เช่าอาคารพิพาทจากวัด ก่อนทำสัญญาเช่าจำเลยอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทมาก่อนและจำเลยตกลงจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารพิพาท เมื่อครบกำหนด แล้วจำเลยไม่ยอมขนย้ายออกทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อม มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังศาลชั้นต้นยกคำร้องเนื่องจากพ้นกำหนด และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่บังคับมีผลโดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่ โจทก์ ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดา ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดง เหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้น วินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่คำบังคับมีผล โดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคแรก ให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกายกฟ้องแล้ว โจทก์ไม่สามารถรื้อฟ้องประเด็นเดิมได้
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาและได้มีคำขอในคดีส่วนแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวในฐานะผู้เสียหายมาด้วยแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ร่วมในคดีนั้นซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวด้วย และแม้ว่าจำนวนทรัพย์ตามคำฟ้องในคดีอาญากับคดีนี้ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ในคดีอาญาพนักงานอัยการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยเพียง 4 เม็ด แต่คดีนี้โจทก์ได้ขอให้จำเลยคืนเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเพราะในคดีอาญาศาลฎีกาตำหนิพยานโจทก์ว่าจำนวนเพชรพลอยตามเอกสารหมาย จ. 9 ในคดีนั้นซึ่งมีจำนวน 23 เม็ด ไม่ตรงกับเพชรพลอยของกลางซึ่งมีเพียง 4 เม็ด ในคดีนี้โจทก์จึงได้รวมเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์สามารถขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาในคดีอาญาได้อยู่แล้วเพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นด้วยแต่ไม่ขอ ดังนั้น การที่โจทก์รื้อร้องฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีนี้เพื่อให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยทั้ง 23 เม็ด หรือใช้เงินแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงต้อง ห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ระงับตามยอม ศาลไม่รับฎีกา คดีเช็คพิพาทที่มูลหนี้เดียวกันกับคดีแพ่งที่ประนีประนอมยอมความแล้ว
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินซึ่งโจทก์นำไปฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ คดีดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้น เห็นว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5731/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดข่มขืน และความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องในคดีข่มขืนเด็ก
จำเลยพาผู้เสียหายไปให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา แม้จำเลยจะคบคิดกับพวกของจำเลยมาก่อนก็ตาม แต่เป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพวกของจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหาย ในขณะพวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด ด้วย ทั้งจำเลยมิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์และมิได้ร่วม ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็น ตัวการร่วมกระทำความผิด การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปให้ พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโดยคบคิดกันมาก่อนนั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่พวกของจำเลยข่มขืน กระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 องค์ประกอบความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสาม จะต้องมีการร่วมกันกระทำความผิดประการหนึ่ง และการกระทำที่ร่วมกันนั้นเข้าลักษณะอันเป็นการโทรม เด็กหญิงอีกประการหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์บรรยายเฉพาะ ส่วนที่ร่วมกันกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้บรรยายยืนยันให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงองค์ประกอบในส่วนที่สอง ข้อความที่ว่าพวกของจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่คนละ 1 ครั้ง มิใช่ข้อที่จะแสดงให้เห็นเป็นการแน่ชัดว่ามีลักษณะ เป็นการโทรมเด็กหญิง คำฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) จึง ไม่เป็นคำฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบทรัพย์ให้ขาย กับ ความผิดฐานยักยอก: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
โจทก์ร่วมได้มอบทรัพย์แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปขาย โดยจำเลยจะกำหนดราคาขายมากหรือน้อยหรือจะจัดการแก่ทรัพย์ นั้นอย่างไรก็ได้ จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ต้องนำเงินตามราคา ที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้หรือนำทรัพย์สินมาคืนแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยไม่ยอมนำทรัพย์ตามฟ้องมาคืนหรือมอบเงินแก่ โจทก์ร่วมถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทางแพ่งต่อโจทก์ร่วม เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
of 19