พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ผิดเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรีการที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในคดีที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี: ศาลชั้นต้นอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ป.วิ.อ.มาตรา 221 บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น แต่จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 ตรีไม่ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้อง ทำให้ไม่สามารถฎีกาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้
คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ต้องห้ามฎีกาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ ๑ และที่ ๒ ไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้โดยตรง ผู้ค้ำประกัน และผลกระทบเมื่อมีการชำระหนี้เต็มจำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ ซึ่งรวมทั้งลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ในภายหน้า ต่างต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลากำหนดและกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 101 แต่สิทธิที่บรรดาเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำการสอบสวนเสียก่อนตามมาตรา 105
เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแต่บางส่วนบ้างแล้ว การที่เจ้าหนี้รายที่ 1 จะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอากับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ ตามกรณีของเจ้าหนี้รายที่ 1 นี้จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้รายที่ 1 ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 5ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้เท่านั้น ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้รายที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายที่ 5 ฟ้องคดีต่อศาลขอให้ชำระหนี้แล้วและคดียังไม่ยุติ ผลของคดีแพ่งที่ยังไม่ยุตินั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใดถึงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1หรือเจ้าหนี้รายที่ 5 ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น
เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแต่บางส่วนบ้างแล้ว การที่เจ้าหนี้รายที่ 1 จะใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอากับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้โดยตรงจึงไม่อาจกระทำได้ ตามกรณีของเจ้าหนี้รายที่ 1 นี้จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้รายที่ 1 ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 5ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้เท่านั้น ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้รายที่ 1 ถูกเจ้าหนี้รายที่ 5 ฟ้องคดีต่อศาลขอให้ชำระหนี้แล้วและคดียังไม่ยุติ ผลของคดีแพ่งที่ยังไม่ยุตินั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใดถึงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1หรือเจ้าหนี้รายที่ 5 ในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสิ้น
เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 5 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ต่อไป ตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาต้องพิจารณาจากคำฟ้องและเหตุผลที่สมควร กรณีละเมิดสิทธิในที่ดินป่าช้า
ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรคหนึ่ง (1) (2) อีกทั้งโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยที่ 1 ตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 วรรคสาม อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยใช้ให้คนงานเข้ารื้อรั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าด้านติดถนน ทำให้รั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าเสียหาย และได้เข้าจัดตกแต่งสถานที่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋าทำเป็นร้านขายอาหารและให้รถยนต์เข้าไปจอดโดยจำเลยเก็บค่าจอดรถเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของผู้ก่อตั้งทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋า แม้จำเลยที่ 1 จะเปิดกิจการร้านขายอาหารมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่การประกอบกิจการดังกล่าวต่อไปย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น อีกทั้งที่ดินพิพาทเป็นป่าช้าใช้ฝังศพ ย่อมไม่เหมาะสมและบังควรที่จะมาใช้เป็นร้านขายอาหารโต้รุ่งและที่จอดรถยนต์ กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
แม้ตามคำร้องโจทก์อ้างเพียงว่าเหตุที่ขอคุ้มครองเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนความสงบของสถานที่และบรรดาศพที่ฝังอยู่ในป่าช้า มิได้อ้างเหตุว่าเกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและแก่โจทก์ก็ตามแต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้นต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องการทำรั้ว การปรับพื้นที่ส้วมและที่ทิ้งขยะ ว่าเป็นการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์ขึ้นวินิฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่ไม่ตรงกับเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างและขอมาในคำร้องไม่
แม้ตามคำร้องโจทก์อ้างเพียงว่าเหตุที่ขอคุ้มครองเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนความสงบของสถานที่และบรรดาศพที่ฝังอยู่ในป่าช้า มิได้อ้างเหตุว่าเกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและแก่โจทก์ก็ตามแต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้นต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องการทำรั้ว การปรับพื้นที่ส้วมและที่ทิ้งขยะ ว่าเป็นการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์ขึ้นวินิฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่ไม่ตรงกับเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างและขอมาในคำร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวในคดีรอนสิทธิ – ที่ดินป่าช้า การรบกวนสิทธิและสภาพสถานที่
จำเลยที่ 1 ใช้ให้คนงานเข้ารื้อรั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าทำให้รั้วเสียหายและเข้าไปจัดตกแต่งสถานที่ทำเป็นร้านขายอาหารและให้รถยนต์เข้าไปจอดโดยเก็บค่าจอดรถการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่ดินพิพาทเป็นป่าช้าใช้ฝังศพไม่เหมาะที่จะมาใช้เป็นร้านขายอาหารโต้รุ่ง และที่จอด รถยนต์ กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้ เหตุผลที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกมาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์แม้จะไม่ตรงกับเหตุผลตามคำร้องของ โจทก์ที่อ้างเฉพาะเรื่องการรบกวนความสงบของสถานที่แต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เหตุผลที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกทหารกองเกินและการฟ้องคดีอาญา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการออกหมายเรียกและรับทราบ
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกทหารกองเกิน: อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขตและความครบถ้วนของฟ้อง
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน ไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯมาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ เขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้ การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น