คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิศักดิ์ พรวชิราภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการคิดดอกเบี้ยหลังหมดอายุ
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณีที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำและการกำหนดเวลาเกิดความผิดฐานออกเช็คไร้ความสามารถ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 หรือไม่และปัญหาว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำแม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็ค และการบังคับหนี้เงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 หรือไม่ และปัญหาว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 คือวันและเวลา ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่ เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำ แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายข้ามเขตและการทิ้งฟ้องอุทธรณ์: จำเลยไม่ทราบผลการส่งหมาย จึงยังไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์จำเลยทั้งสาม โดยกำหนด ให้จำเลยทั้งสามนำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้อง แต่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพัทลุง ศาลชั้นต้นได้มีหนังสือ แจ้งให้ศาลจังหวัดพัทลุงดำเนินการส่งหมายนัดและ สำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์แทน แสดงว่าจำเลยทั้งสามมิได้ เป็นผู้นำส่งแต่เป็นกรณีส่งหมายข้ามเขตโดยเจ้าพนักงานเดินหมายเป็นผู้ส่งเอง ต่อมาศาลจังหวัดพัทลุงแจ้งศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานผลการส่งหมายแต่เพียงว่ารอจำเลยทั้งสามแถลงเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลจังหวัดพัทลุงส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้นแม้จำเลย ทั้งสามจะมิได้แถลงให้ดำเนินการต่อไปก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมินและการบังคับชำระหนี้ภาษีทำให้สะดุดอายุความ
ป.รัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิกเพิกถอนแก้ไขการประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษีและการล้มละลาย: การสั่งบังคับเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์ การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิก เพิกถอนแก้การประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการ ประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่ จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลการสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5)อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: ครอบครอง/แปรรูปไม้หวงห้ามในเขตควบคุม แม้รับสารภาพเฉพาะบางข้อหา ศาลใช้ประโยชน์จากคำรับสารภาพทั้งหมดได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อแปรรูปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การรับสารภาพรวมถึงการแปรรูปในเขตควบคุม
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูง ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนันและที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อ เปิดปักไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิม ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว ความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ การถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนหลังประนีประนอมยอมความ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาท แทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145(5) ดังนี้เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ ผู้คัดค้านที่ 3 แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน การยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ทำให้สิทธิในการเพิกถอนสิ้นสุด
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาทแทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5)ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของผู้คัดค้านที่ 3แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3 และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
of 19