พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อเนื่องจากโทสะหลังถูกทำร้าย ศาลฎีกาตัดสินความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า แต่การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยมิได้อุทธรณ์กลับแก้อุทธรณ์ของโจทก์และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน ดังนี้ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาฆ่า จึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไป เพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อนแต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลย จึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โดยบันดาลโทสะ
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองของตึกแถว แล้ววิ่งขึ้นไปที่ห้องพักผู้เสียหายที่ชั้นสาม จำเลยตามผู้เสียหายขึ้นไป เพื่อจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อเห็นผู้เสียหายยืนอยู่ตรงทางเข้าห้องพักผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดถูกที่บริเวณหน้าท้อง ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อนแต่ขณะจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้จะเข้าทำร้ายจำเลย และที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยที่ชั้นสองก็ไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว จำเลย จึงอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายไม่ได้ แต่การที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยแล้ววิ่งขึ้นไปชั้นสาม จำเลยตามขึ้นไปแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า - การบอกเลิกสัญญา - เงื่อนเวลา - การก่อสร้างอาคาร - การเช่าช่วง - สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาเช่าที่ดินกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 9,000 บาท แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินที่ให้จำเลยเช่าเดือนละ 20,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้เสียหายในการไม่ได้ใช้ที่ดินถึงเดือนละ 20,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอุทธรณ์โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่จำเลยนำที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอัตราค่าเช่าเดือนละ 150,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่ได้ จะต้องกำหนดค่าเสียหายตามอัตราค่าเช่าที่กำหนดในสัญญาเช่า โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่อาจนำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท ได้ จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าขณะฟ้องคดีนี้ที่ดินที่จำเลยเช่าอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อความจากกระบวนการยุติธรรมและการคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาท
การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลซึ่งเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ และข้อความดังกล่าวล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนที่ฟ้องโจทก์ เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเผยแพร่คำฟ้อง ไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงการรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ. มาตรา 329 (4) ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่คำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หากเป็นการรายงานข่าวอย่างสุจริต
ข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยคำฟ้องของจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 ได้นำไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลทั้งข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ได้ความจากคำฟ้องของ โจทก์ในคดีนี้กับที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. ก็ปรากฏว่าล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะหมิ่นประมาทโจทก์ หากแต่เพื่อประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 1 ที่ฟ้องโจทก์เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และข้อความที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. นอกจากข้อเท็จจริงจะฟังได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ว่าเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลดังกล่าวแล้ว ยังได้ความอีกว่าการกระทำของ จำเลยที่ 2 เป็นการเผยแพร่คำฟ้องไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะ ส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความดังกล่าวลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. จึงเป็น การรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับ ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) ไม่เป็นความผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทผู้จัดการมรดกในหนี้สินของเจ้ามรดก และการฟ้องล้มละลาย
ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ หากจะมีผลผูกพันจากการรับสภาพหนี้ กองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยที่ 4 ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการบังคับคดี ยึดทรัพย์เกินความจำเป็น
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคหนึ่งการที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไปโจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พฤติการณ์เชื่อมโยงความร่วมมือ
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 แต่การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมสืบทราบว่ามีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านของจำเลยที่ 1 และวางแผนให้สายลับไปล่อซื้อ จำเลยที่ 1 ตกลงนัดเวลาให้มารับเมทแอมเฟตามีนในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ในเวลาประมาณ 2 นาฬิกา ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจกระจายกำลังเข้าล้อมบ้านของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มาพบจำเลยที่ 1 และออกจากบ้านไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการกระทำผิดด้วย เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งจะไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาเพื่อจำหน่ายอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ย่อมจะต้องกระทำอย่างลับ ๆ เพื่อปกปิดไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ชักชวนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจร่วมไปด้วย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1