คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิศักดิ์ พรวชิราภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การไม่มีส่วนร่วมของจำเลยอื่น และการริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 260 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคำเบิกความของพยานโจทก์คงได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสี่กำลังนั่งล้อมวงอยู่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อเลี้ยงปลาเท่านั้น และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้จากกระเป๋าคาดเอวของจำเลยที่ 1 และที่บรรจุอยู่ในกระบอกพลาสติกสีขาวอย่างใดบ้าง ส่วนกระบอกพลาสติกสีขาวที่บรรจุเมทแอมเฟตามีนของกลาง หากไม่เปิดฝาออกจะไม่เห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ การที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นญาติกันนั่งคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวซึ่งเป็นที่ร่ม จึงไม่เป็นการผิดปกติวิสัยที่จำเลยที่ 1 ถือกระบอกพลาสติกสีขาวโดยเปิดเผยและที่จำเลยทั้งสี่นั่งล้อมวงคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวหาใช่ข้อแสดงว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่
การที่จำเลยที่ 2 เห็นพยานโจทก์ทั้งสี่กับพวกแล้ววิ่งหนี ย่อมเป็นพิรุธ แต่ข้อพิรุธดังกล่าวไม่อาจสันนิษฐานเป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าและเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบจึงไม่อาจรับฟังเป็นความจริง
เงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่เงินของกลางดังกล่าวมิใช่เป็นทรัพย์สินที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 27 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบเงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยมิได้อ้างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ตามฎีกาของโจทก์ยืนยันว่า ศาลมีคำสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ข้อวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์จึงมีว่า ศาลจะสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้หรือไม่
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิด ได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้เงินของกลางจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนจะถูกจับกุมคดีนี้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดคดีนี้ จึงไม่อาจริบในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอมโดยอายุความและการกำหนดค่าทนายความเกินอัตรา
จำเลยที่ 1 กับ ย. เข้าหุ้นกันซื้อที่ดินแล้วนำมาจัดสรรขาย ในการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวได้เว้นที่ดินพิพาทเป็นถนนซอยสำหรับให้ที่ดินที่อยู่ด้านหลังเป็นทางเข้าออก เพื่อให้เห็นว่าที่ดินที่อยู่ด้านหน้า 9 แปลง กับที่ดินที่อยู่ด้านหลัง 3 แปลง ไม่ติดต่อกันโดยมีที่ดินพิพาทของบุคคลอื่นคั่นอยู่ และให้ ย. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตจัดสรรที่ดินขายต่อทางราชการในที่ดินเกินกว่า 10 แปลงขึ้นไป การตกลงแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ย. จึงหาใช่เจตนาอันแท้จริงของบุคคลทั้งสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเว้นที่ดินพิพาทไว้เพื่อเป็นทางเข้าสู่ถนนสาธารณะสำหรับที่ดินพิพาทที่อยู่ด้านหลังมาตั้งแต่แรก แม้ พ. ผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เพียงแต่ใช้รถยนต์ผ่านที่ดินพิพาทเข้าไป ก็ถือได้ว่าใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกแล้ว และนับแต่ พ. ซื้อที่ดินดังกล่าวถึงวันที่ขายให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 แม้ พ. จะไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิภาระจำยอมก็ตาม
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าทนายความโจทก์เกินไปกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงที่ตาราง 6 กำหนด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมาโดยไม่แก้ไขเป็นการไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าเสียหายและราคาขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถยนต์
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และตามมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดจากการเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองรถยนต์อยู่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่วินิจฉัยว่าที่ศาลชั้นต้นฟังว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาแท้จริงเท่าใด และกำหนดให้ผู้ค้ำประกันใช้ราคาแทนตามจำนวนดังกล่าวหากผู้ค้ำประกันไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบและเหมาะสมแล้ว ผู้ค้ำประกันมิได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์ให้ผู้ค้ำประกันชดใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนสูงเกินไปหรือไม่ ถูกต้องอย่างไรแต่กลับฎีกาว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพราะหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระงับไป ดังนี้ฎีกาของผู้ค้ำประกันมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
สัญญาเช่าซื้อมิได้ระบุถึงการสิ้นสุดของสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อจึงสิ้นสุดลงเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้ค้ำประกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากไม่สามารถส่งมอบคืนให้ใช้ราคาแทน เป็นเรื่องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ใช้สิทธิในฐานะลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกเอารถยนต์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดครอบครองรถยนต์ของลูกหนี้ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายความได้สิทธิ ส่วนค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ประกอบกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจะต้องดำเนินเป็นการด่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และ 153 จำเลยจะมาขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังเช่นการขอทุเลาการบังคับคดีแพ่งธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 231 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ และการงดสืบพยาน: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันการประวิงคดี
กรณีที่คู่ความจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จะต้องเป็นคู่ความซึ่งศาลแสดงว่า ขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียง ครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่สมเหตุผล และการงดสืบพยานในคดีล้มละลาย ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
กรณีที่คู่ความจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา207 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จะต้องเป็นคู่ความซึ่งศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณา พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้ว ให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีมีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยเคยได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง โดยปกติจำเลยไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดีได้อีก ที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยป่วยมีอาการท้องร่วงเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แม้จะมีใบรับรองแพทย์และท้ายคำร้องจะระบุว่า "เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต"คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในการเลื่อนคดีครั้งที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้กำชับทนายความจำเลยว่า หากจำเลยขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด จะถือว่าจำเลยประวิงคดีและจะงดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยก็หาได้นำพาไม่ และจำเลยก็ไม่ได้นำพยานอื่นมาศาล ทั้งที่ตามบัญชีพยานจำเลยระบุพยานนำไว้หลายปากพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองส่อถึงความไม่เอาใจใส่หรือไม่ให้ความสำคัญแก่คดีของจำเลยเท่าที่ควรถือได้ว่าจำเลยทั้งสองประวิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การจัดการทรัพย์มรดกหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย, อายุความ, และการสละประโยชน์แห่งอายุความ
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้ธนาคารโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยจะมาติดต่อแต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตามพาณิชย์ มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แต่จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึงบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การสละสิทธิ, การล้มละลายของลูกหนี้ที่เสียชีวิต และการจัดการทรัพย์มรดก
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอม เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมิสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่า จำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจะมาติดต่อ แต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์ กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้ โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึง บทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษา ให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84 ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจำกัดเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การวินิจฉัยเรื่องดอกเบี้ยและประกาศของธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณา
ในการพิจารณาและวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลยุติธรรมจะใช้บังคับแก่คดีว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 หรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจำกัดเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กรณีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
ในการพิจารณาและวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลยุติธรรมจะใช้บังคับแก่คดีว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อน ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วว่า พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เป็นการ ออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.บ. ให้อำนาจไว้ มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศกระทรวงการคลังเป็นการออกข้อกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาตรา 4 ส่วนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 แต่ทั้งประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
ประกาศที่ออกโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 ไม่ใช่ประกาศของทางราชการและไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไว้แล้วอีกด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชอบแล้ว
of 19