คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พันธาวุธ ปาณิกบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรม: แต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ และสมคบเพื่อฉ้อโกง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในศาสนาพุทธซึ่งเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตาม ป.อ. มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 210 การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ และสมคบกันฉ้อโกงประชาชน เป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในพุทธศาสนาซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับศาสนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดฐานซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 การกระทำผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรม ไม่ใช่การกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์ผสม ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนคดีไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไป การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เท่านั้นแต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าและค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง
แม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธาน จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาทแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงฐานะที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายและมีวัตถุออกฤทธิ์ครอบครองเกินปริมาณ แม้ขายไปบางส่วนยังคงเป็นความผิดฐานขายกรรมเดียว
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 4บัญญัตินิยามคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย การขายหรือมีไว้เพื่อขายในวาระเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน แม้ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 วรรคหนึ่งส่วนการขายเป็นความผิดตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง,89 ก็ตาม ก็หาทำให้ความผิดดังกล่าวกลับเป็นความผิดต่างกรรมกันไม่ ดังนั้น ผู้ที่มีวัตถุออกฤทธิ์เอ็มดีอีไว้เพื่อขายแล้วขายไปบางส่วนจึงคงมีความผิดฐานขายเพียงสถานเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้พิจารณาอุทธรณ์เรื่องความผิดฐานบุกรุกโดยร่วมกระทำความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเฉพาะความผิดฐานบุกรุก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 นำกุญแจเปลี่ยนใส่ห้องพิพาทแทนกุญแจของโจทก์และเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินในห้องพิพาทเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 (2) ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 362 เท่านั้น โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกตามมาตรา 365 (2) ด้วยหรือไม่ โดยไม่ปรากฏเหตุผล การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย มาตรา 186 (6) ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกและการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและการร่วมกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุไปที่ห้องที่โจทก์เช่าเพื่อเป็นพยานรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 ขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ไปฝากเก็บไว้ที่สถานีตำรวจท้องที่ อันเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน โดยสำคัญผิดคิดว่ามีอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนากระทำความผิดฐานบุกรุกโดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามมาตรา 362 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดียาเสพติด: จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเหตุอันควรสงสัยในการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 วรรคสาม จำเลยที่ 3ผู้ขอคืนของกลางมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่า จำเลยที่ 3ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด ศาลจึงจะไม่ริบของกลาง แต่จำเลยที่ 3นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของของกลาง และไม่ได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดเท่านั้นโดยไม่สามารถพิสูจน์ข้ออ้างตามกฎหมายดังกล่าวได้ จึงไม่เพียงพอตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวและข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานโจทก์ได้ความว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโทรศัพท์มือถือและรถยนต์กระบะเป็นเครื่องมือและยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและมีการประกาศหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันตามกฎหมายแล้ว จึงต้องริบของกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมตามกฎหมายต่างพระราชบัญญัติ จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน
จำเลยกระทำผิดฐานขายยาบรรจุเสร็จหลายขนาน โดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน ฐานประกอบกิจการและดำเนินกิจการสถานพยาบาล และฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การกระทำความผิดแต่ละข้อหาของจำเลย เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติกันโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมตามกฎหมายต่างพระราชบัญญัติ: ยา, สถานพยาบาล, และวิชาชีพเวชกรรม
ความผิดฐานขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกันตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 75 ทวิ,122 และฐานประกอบกิจการและดำเนินกิจการสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 16,24กับฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525มาตรา 26,43 นั้น การกระทำความผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติกันโดยมีเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน จำเลยคัดค้าน ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดสอบเขตและห้ามเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จากนั้นได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา เท่ากับจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จากเจ้าของเดิม แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า หากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรกซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของจำเลยเพราะซื้อมา รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครองครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงชอบแล้ว
of 189