พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังคดีซ้ำซ้อน แม้มีคำพิพากษานับโทษต่อจากคดีอื่น ศาลต้องหักวันต้องขังทั้งหมดตั้งแต่ต้น
จำเลยต้องขังคดีนี้นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2539แม้คำพิพากษาคดีนี้จะให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาก่อน แต่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยต้องขับคดีนี้ซ้ำซ้อนกับ คดีอาญาก่อน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในคดีก่อน ต้องถือว่าจำเลยต้องขับคดีนี้ตลอดมาตั้งแต่ต้น จึงต้องหักวันต้องขับระหว่างอุทธรณ์ฎีกาที่ซ้ำซ้อน ให้จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังซ้ำซ้อนกรณีคดีอาญาเดิมถูกยกฟ้อง ศาลต้องนับวันต้องขังตั้งแต่ต้น
จำเลยต้องขังคดีนี้นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2539 แม้คำพิพากษาคดีนี้จะให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาก่อน แต่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยต้องขังคดีนี้ซ้ำซ้อนกับ คดีอาญาก่อน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในคดีก่อน ต้องถือว่าจำเลยต้องขังคดีนี้ตลอดมาตั้งแต่ต้นจึงต้องหักวันต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาที่ซ้ำซ้อนให้จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาพินัยกรรม: โจทก์ไม่คัดค้านก่อนสืบพยาน ทำให้จำเลยไม่ต้องนำต้นฉบับมา
เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาพินัยกรรมที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายพร้อมกับสำเนาคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์ก็มิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าว และบอกกล่าวไปยังจำเลยเสียก่อนวันสืบพยาน ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านถึงการมีอยู่และความแท้จริง หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม และจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอ้างเอกสารนั้นก็ไม่ต้องเอาต้นฉบับมาสืบ ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาพินัยกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ปัญหาความเคลือบคลุมและการจำกัดสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบตาม ม.158(5) - จำเป็นต้องวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายก่อนพิจารณาข้อเท็จจริง - การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุด
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำไม่ถือเป็นการขยายอายุอุทธรณ์
++ เรื่อง ลักทรัพย์ (ชั้นผิดสัญญาประกัน)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 36 ++
++ มีหมายเหตุ : ทวี ประจวบลาภ
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 36 ++
++ มีหมายเหตุ : ทวี ประจวบลาภ
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำ และกรอบเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคแรกบัญญัติเพียงว่า เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ แต่ ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อศาลสั่งปรับผู้ประกันแล้ว และผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น ยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันนั้นจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา ลดค่าปรับซ้ำอีกไม่ได้ การที่ ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้พิจารณาลดค่าปรับ ให้แก่ผู้ประกันใหม่อีกนั้นก็ไม่มีเหตุส่อให้เห็นว่าเป็นการ ยื่นเกินความจำเป็น จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือขยายอายุอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อผู้ประกันได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2540 วันที่ 3 ตุลาคม 2540 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องทั้ง 3 ครั้งผู้ประกันย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ประกันครั้งสุดท้ายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคแรก เมื่อนับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 ที่ผู้ประกันทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ จึงยังไม่เกิน 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องรับพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ประกันทั้งสี่ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษจำคุกและโทษปรับ: พิจารณาจากพฤติการณ์ความผิด, ประวัติผู้กระทำผิด, และผลกระทบของโทษ
จำเลยที่ 1 เพียงแต่มีเครื่องวิทยุโทรคมนาคมโดยไม่ได้ รับอนุญาตให้มีและใช้จากทางราชการเท่านั้น ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเครื่องวิทยุโทรคมนาคมของกลางเป็นเครื่องที่สามารถ ดักฟังข่าวสารราชการที่เป็นความลับของชาติได้ ประกอบกับ จำเลยที่ 1 ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันสมควร รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกไว้ แต่ลงโทษปรับ เพิ่มขึ้นอีกสถานหนึ่งด้วย มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังไม่ต้องรับโทษจำคุก โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเบากว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาหลักฐานพยานและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับแสงสว่างในที่เกิดเหตุเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ตามปกติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไปในเวลากลางคืนเมื่อเดินไป ตามถนนย่อมจะไม่มองดูว่าที่ถนนมีไฟฟ้าติดตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง จำนวนกี่ดวง เป็นหลอดไฟฟ้าลักษณะใดบ้าง เมื่อบันทึกการตรวจ สถานที่เกิดเหตุซึ่งร้อยตำรวจตรี ส. จดบันทึกไว้ทันทีในคืนเกิดเหตุระบุถึงลักษณะและสภาพของไฟฟ้าส่องสว่างว่ามีไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณที่เกิดเหตุและมาเบิกความประกอบบันทึกดังกล่าวยืนยันว่ามีแสงสว่างสามารถมองเห็นกันได้ในบริเวณดังกล่าวในระยะห่าง 10 เมตร ย่อมฟังได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงส่องสว่างสามารถมองเห็นกันได้ในระยะ 10 เมตร และเมื่อพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่าจำเลยเป็น คนยิงผู้เสียหายโดยมีสิ่งช่วยจำเป็นพิเศษคือจำเลยสวมหมวกแก๊ปผ้าสีพรางทั้งในขณะนั่งอยู่ในโรงภาพยนตร์และขณะใช้อาวุธปืน ยิงผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ผู้เสียหาย แม้บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุจะลงวันที่ซึ่งเป็นวันที่ ก่อนเกิดเหตุ 7 วันก็ตาม แต่ข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุวันเวลา ที่เกิดเหตุและร่องรอยหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุได้ถูกต้องตรงตามประเด็นแห่งคดี เหตุที่บันทึกดังกล่าวลงวันที่ก่อนเกิดเหตุ นั้นอาจเป็นเพราะเจ้าหน้าที่พิมพ์วันที่ผิดพลาด ไม่เป็นเหตุ ให้ข้อความในเอกสารเป็นพิรุธหรือไม่น่าเชื่อถือ บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสอง จำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยขอ ให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการ ลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก