พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,881 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินค่าที่ดินเมื่อผิดสัญญา: ข้อตกลงริบเงินไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้(วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลง จะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538 และผู้ขายตกลงจะไปทำการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อ ในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลย เพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย ไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และข้อ 3ดังกล่าว โจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวดงวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาทโดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 บาทและงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้ จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง250,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใดดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางวีดีโอ/เทปที่ไม่มีฉลาก: พิจารณาความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และการขอริบตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 14พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวกจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีคุ้มครองผู้บริโภคและเทปฯ พิจารณาจากความผิดตามกฎหมายและเหตุผลการริบ
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งในขณะเดียวกัน เฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้ มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลาง ในส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับ การริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2536) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 บัญญัติ ให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดง ให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ริบ ของ กลาง โดย อ้าง ว่า วีดีโอเทป ของกลาง มิได้ มี การ แสดง เจตนา หมาย เลข รหัส จึง เป็น ทรัพย์ ที่ มี ไว้ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ขอให้ ริบ ของกลาง อัน เนื่อง มา จาก ความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย ซึ่งเทปเพลง และวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะ เมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้น วางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ อ้างว่าศาลชั้นต้น รวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อผู้ส่งสินค้า กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งและการเวนคืนใบตราส่ง
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัทอ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่ง เป็นผู้รับขนไม่ โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ซึ่งขณะนั้น พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติ ถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม มาตรา 615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัทอ.แล้วโดยบริษัทอ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัทอ.ผู้ซื้อโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนส่งสินค้าและการปฏิบัติตามสัญญา การเวนคืนใบตราส่งเป็นสาระสำคัญ
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6330/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลย และคืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ มิได้ขอให้ศาลสั่งริบศาลย่อมริบอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบอาวุธปืนซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในที่ดิน การเช่าเพื่อปลูกสร้างบ้านไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ.จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ. อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้าน ของจำเลยแต่เป็นบ้านของจ. ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องรื้อถอนบ้าน – เจ้าของที่แท้จริง – อำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่า เอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1 ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ. จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ.อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้านของจำเลยแต่เป็นบ้านของ จ.ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ด้วยการทำสัญญากู้ใหม่ ไม่ต้องมีใบเสร็จหรือเวนคืนเอกสารเดิม
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันระงับหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้อง โดยโจทก์จำเลยตกลงให้ใช้สัญญากู้เงินฉบับใหม่แทน และต่อมาได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับใหม่นี้แล้ว การตกลงระงับหนี้ โดยทำสัญญาเป็นหนี้เงินกู้ใหม่เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ หรือเวนคืนเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ ทั้งไม่ใช่กรณีต้องห้ามการนำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเนื่อง: อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีลักทรัพย์-รับของโจร แม้เกิดต่างท้องที่
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง สมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวน ในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง